วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

Food Safety Management System (FSMS): Blog 5

Blog 5
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
    New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GHP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&SMS /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018



ถนนเยาวราชเต็มไปด้วย 132 ร้านทองและร้านอาหารมากมาย: China Town, Thailand 

วันนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงคำว่า FSMA หรือ The Food Safety Modernization Act ซึ่งบรรยาย/สัมมนาโดย Dr. James Marsden จาก Kansas State University ที่โรงแรมเมอร์เคียว รัชดาภิเษก กรุงเทพฯจัดโดย NSTDA


เนื้อหา FSMA หรือ กฎหมายของความปลอดภัยด้านอาหาร แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2012 กล่าวถึงประเด็นต่างๆ เช่น 
หัวข้อ ความรับผิดชอบทางกฎหมายในความปลอดภัยด้านอาหาร ระบุไว้ว่า
1 เมื่อเกิดการเจือปน เกี่ยวกับสารอันตราย หรือขาดวิธีการควบคุมที่เหมาะสม จะต้องเขียนแผน และมีการตรวจสอบ
2 การลงข้อมูลไม่ครบถ้วน
3 พบเหตุการณ์ระบาดตั้งแต่สองคนขึ้นไป จะมีการบังคับให้ตรวจสอบ

ประเด็นและเนื้อหาอื่นๆจะเขียนต่อในภายหลัง การสัมมนาครั้งนี้ ทำให้ผู้เขียนคิดถึง PL Law (Product Liability Law) ที่ไทยเรามีผลบังคับใช้แล้ว ยังเน้นไปที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า หากผู้ผลิตออกแบบไม่ดี ไม่ระบุข้อความเตือนอย่างชัดเจน ไม่มีคู่มือการใช้งานที่ถูกวิธี หรือคู่มือการใช้งานระบุไว้ไม่ครบ การผลิตและการตรวจสอบบกพร่องทำให้สินค้าไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหลุดรอดออกมา จะต้องรับผิดชอบ เพียงแต่ลูกค้าร้องเรียนไปที่ผู้รับเรื่อง หรือ สคบ.(สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค) จากนั้นผู้ผลิตหรือผู้ขาย ต้องไปแก้ต่าง(เมื่อก่อนที่ไม่มี พรบ. นี้ ลูกค้าต้องไปฟ้องศาลเอง เสียเงิน เสียเวลาและต้องจ้างทนายความเอง) หากโรงงานหรือผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายพิสูจน์ไม่ได้ ต้องรับผิดชอบและชดใช้ ชดเชยในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค คิดว่า PL Law ในอุตสาหกรรมอาหารบ้านเรา มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต รับประทานอาหาร รับประทานขนมปัง จากความบกพร่องของผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย นอนโรงพยาบาลเอกชนหลายคืนและหยุดงานไปหลายวัน หมดไปหลายหมื่นเป็นค่ารักษา น่าจะได้รับความผิดชอบและค่าชดเชย ปัจจุบันลูกค้ารู้จักเลือกสินค้า หากผลิตไม่ดี ยี่ห้อหรือแบรนด์เนมนั้นจะถูกลูกค้าทำลายหรือทำให้ล่มสลายได้ ในยุคที่การสื่อสารกว้างไกลและพัฒนารูปแบบค่อนข้างมาก

ผู้เขียนมั่นใจว่าโรงงานผลิตอาหารจากไทยเรามีศักยภาพสูง ปัจจุบันทุกโรงงานต้องทำมาตรฐาน GHP
ตามที่กฎหมายบังคับ มีโรงงานจำนวนมากที่ทำระบบคุณภาพ หรือ HACCP คิดว่าจะมีหรือไม่มี PL Law ผู้ผลิตย่อมมีความตั้งใจทำสินค้าประเภทอาหารที่ปลอดภัย ที่ห่วงคือโรงงานประเภท SME ควรนำ หลักการของ HACCP มาใช้ กำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (CCPs) โดยเริ่มจากการวิเคราะห์อันตราย (Hazard Analysis) ควบคุมจุด CCPs อย่างเข้มงวด ทั้งโรงงานต้องมีการตรวจสอบ เฝ้าระวังว่าทำตามโปรแกรมพื้นฐาน (Prerequisite Program) ปฎิบัติตาม SOP และ SSOP อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สินค้ามีความปลอดภัยมากที่สุด ลดการปนเปื้อน ก็ไม่ต้องไปกังวลว่าจะมีหรือไม่มี PL Law แต่ผลกระทบยังมีกับหลายกลุ่มที่ส่งสินค้าไปที่สหรัฐอเมริกา เพราะว่ามี FSMA จึงต้องศึกษาและเอาใจใสมากขึ้น เพื่อไม่ให้ถูกปฎิเสธสินค้า ส่งคืนหรือต้องเรียกคืน และรับผิดชอบค่าเสียหายที่อาจมีจำนวนเงินมากมาย

ผู้เขียนจะนำข้อบกพร่องหรือออก NC หรือสิ่งที่โรงงานปฎิบัติไม่สอดคล้องมาลงให้ศึกษา โดยนำของ GHP และ PRPs มาเขียน จากนั้นจะต่อในส่วน FSMS ว่าผู้ตรวจประเมิน หรือ Auditor มองมุมใด เราต้องไปปฎิบัติอย่างไรให้สอดคล้องกับข้อกำหนด

#  พบรังนกในชายคาโรงงาน และในซอกมุมอาคารภายในคลังสินค้าที่จัดเก็บผลิตภัณฑ์อาหาร
#  พบสัตว์พาหะเข้ามาในพื้นที่ผลิต ไม่มีวิธีการควบคุมที่ชัดเจนว่าต้องดำเนินการอย่างไร
#  ประตูอาคารผลิตเปิดออก และไม่ปิด ทำให้สัตว์พาหะเข้ามาในอาคารโรงงาน
#  ผลการตวจสุขภาพพนักงาน และแพทย์วินิจฉัยมีปัญหาสุขภาพปอด ยังปล่อยให้พนักงานทำงานตามปกติ โดยไม่มีการป้องกัน หรือนำไปรักษาเพื่อให้เกิดการปนเปื้อนจากการป่วยของตัวพนักงาน
#  ร่องน้ำ และฝาท่อระบายน้ำทรุดตัวและแตกออกเป็นร่อง เป็นที่อยู่ของสัตว์พาหะ
#  ท่อระบายน้ำทิ้งที่ต่อออกนอกอาคารไม่มีตะแกรงกั้นสัตว์พาหะจากภายนอกเข้า
#  ท่อระบายน้ำทิ้งที่ต่อออกนอกอาคาร บางจุดมีตะแกรงกั้นสัตว์พาหะจากภายนอก แต่ขนาดรูตะแกรงใหญ่เกินไป ไม่อาจป้องกันได้จริง
#  พบสัตว์เลี้ยง เช่นกรงนกหัวจุก และนกเขา ข้างอาคารโรงอาหาร
#  ไม่มีการทบทวน HACCP Plan เมื่อมีการเปลี่ยนขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิต
#  พบแก้วแตกพนักงานไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร
#  ฟิล์มรองพื้นที่รองรับผลิตภัณฑ์อาหารมีคราบสกปกจากรอยหรือคราบสกปก
# กระดาษที่ใฃ้รองพื้นที่รองรับผลิตภัณฑ์อาหารมีคราบสกปกจากรอยนิ้วมือและรอยเท้า
#  มีดและอุปกรณ์ปลายแหลมและมีคมที่ใช้ในงานไม่มีการควบคุม หากเกิดปลายหักและปลายบิ่นมีโอกาสปะปนเข้าไปในผลิตภัณฑ์อาหาร (ไม่มี Matal Detector ผู้เขียนมองว่ามีความเสี่ยงสูง)
#  สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่รอขนส่ง ไม่มีการปิดพลาสติคใสตามที่กำหนดไว้
#  สินค้าที่ลดราคา เพื่อนำไปจำหน่ายราคาถูกลง ไม่มีการดูแล ไม่มีการปิดพลาสติคใสตามวิธีการที่ต้องปฎิบัติกับผลิตภัณฑ์อาหารที่รอขนส่ง
#  ไม่มีการควบคุมการใช้มีดคัทเตอร์ พนักงานหลายคนมีใช้งานส่วนตัวโดยไม่มีการควบคุม
#  ภายในพื้นที่ทำงาน ห้องทำงานของหัวหน้าในอาคารผลิตมีขนม และอาหารห่อจากภายนอก รวมทั้งลูกอมและหมากฝรั่ง
#  พนักงานนำขนมปังและกาแฟไปรับประทานที่ห้องผู้จัดการ ภายในอาคารโรงงาน มีโอกาสให้สัตว์พาหะเข้ามากินเศษอาหารและขนม (ผู้จัดการไปพบลูกค้า)
#  พนักงานใช้ไม้ตีแมลงวัน 
#  มีของใช้กระจุกกระจิกบนโต้ะทำงานติดกับโต๊ะผลิตอากหาร และพบทั้งลูกแมก และปากกามีปลอก โอกาสที่จะปะปนเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ได้มาก
#  วางวัตถุดิบที่รอผสมเข้าไปในกระบวนการผลิตบนพื้น
# มีการวางเครื่องเทศ เครื่องปรุงและส่วนผสมอาหารบนพื้น
#  พนักงานทำงานโดยไม่ปิดปากตามกฎระเบียบ
# พนักงานใส่ถุงมือข้างเดียว ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบต้องใส่ทั้งสองข้าง ห้ามสัมผัสกับอาหารโดยตรง
พนักงานใส่ถุงมือยางทั้งสองข้าง แต่ตัดปลายนิ้วมือออก
#  พื้นฝ้าพบหยากไย่
#  พื้นเพดานพบราดำเป็นแถบกว้าง สภาพห้องมีความชื้นสูงก่อให้เกิดรา
#  พนักงานก้าวเท้าข้ามกะบะน้ำคลอรีน โดยไม่ย่ำเท้าเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าอาหารผลิต
#  ความเข้มข้นของน้ำคลอรีนต่ำกว่า 50 ppm (ควรมากกว่า 200 ppm หรือมากกว่าหนึ่งร้ิอยขึ้น) ไม่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ
# ไม่มีการสุ่มวัดค่าความเข้มข้นของน้ำคลอรีนในกะบะย่ำเท้า
#  ไม่มีการสุ่มวัดค่าคุณภาพน้ำประปาว่ายังมีคุณภาพดีพอหรือไม่ในหลายๆจุดทำงาน
#  ตุ้ล๊อคเกอร์ไม่เพียงพอ มีการวางสิ่งของนอกตู้มากมาย เสื้อผ้าแขวนรกรุงรัง
# ภายในตู้ล๊อคเกอร์พบทั้งขนม มาม่า ร้องเท้า ของใช้ส่วนตัว จาน ชามและช้อน เข็มขัด
#  สภาพโรงอาหารไม่สะอาด ไม่มีการทำความสะอาดในความถี่และวิธีการที่เหมาะสม
#  พบสารเคมีหมดอายุในห้องทดสอบ
# พบสารเคมีไม่มีการชี้บ่งว่าคือสารอะไร
# สารผสมทีใส่ขวดหมดอายุ แต่นำมาวางรวมกับขวดที่ยังใช้ได้ (ไม่หมดอายุ)
#  สารที่หมดอายุ วางไว้ต่างหากแต่ไม่มีการระบุและชี้บ่งใดๆ
#  สติีกเกอร์ที่ติดกับผลิตภัณฑ์มีการพิมพืออกมามากกว่าจำนวนสินค้า และใช้ไม่หมด นำมากองรวมกับล๊อทผลิตถัดไป 
#  บางส่วนของสติี๊กเกรอร์ที่ระบุวันหมดอายุของสินค้า วางไว้หลายแห่ง วางบนพื้นหรือทางเท้าก็มี ขาดการควบคุม

วันก่อนทีมงานท่านหนึ่งคือ คุณ สุขุม รับประทานหอย ที่บรรจุเป็นแพคเกจ จากห้างใหญ่ห้างหนึ่ง มองดูน่าจะเชื่อถือระบบได้ ปรากฎว่า หลังรับประทานไปแล้ว ท้องเสียอย่างมาก เข้าโรงพยาบาล คุณหมอ ตรวจพบเชื้อบิด ก็ขอให้ทุกท่านระมัดระวัง หากพนักงานห้างไม่มีจิตสำนึก มีการกระทำที่ไม่ปลอดภัยด้าน Food Safety ประชาชนย่อมเสี่ยงมากๆ ในบรรดาอาหารทะเล ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ไม่รับประทานหอย เพราะโอกาสพบเชื้อโรคสูงมาก เพื่อนผู้เขียนท่านหนึ่งทำงานที่ สมอ. ไม่ยอมรับประทานอาหารญี่ปุ่น ยิ่งประเภทปลาดิบ อร่อยไม่ว่า ถ้าเจอเชื้อโรคทางอาหาร คิดว่าไม่คุ้มค่ากับความอร่อย ถึงเวลาแล้วที่ต้องเน้น GHP ด้าน Food Safety อย่างจริงจังกับห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร และภุตราคาร

เขียนต่อคราวหน้า....................................................................................................................

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com  


วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

GHP กับชีวิตจริงในโรงงานอาหาร Blog4 : GHP Check List

Blog 4
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act
หลักสูตรแนะนำใหม่
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Personal DATA Protection Act. PDPA
ส่วนองค์กรขนาดเล็ก ข้อมูลน้อย มีกฎหมายลูกยกเว้น
สามารถนำมาจัดทำระบบรองรับเพื่อให้ข้อมูลมั่นคงปลอดภัย
สนใจหลักสูตร การประยุกต์ใช้งาน PDPA อย่างมีประสิทธิผล
ผู้เข้าอบรม เช่น ฝ่าย HR ขายและการตลาด จัดซื้อ บัญชี วิศวกรรม ซ่อมบำรุง และ จปว.

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
หลักสูตร FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
    สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
หลักสูตรการประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
    New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ 
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
หรือรักษาระบบ ISO ชั่วคราว


สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GHP/HACCP/FSMS/FSSC22000  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018







ปัจจุบันผู้เขียนเป็นวิทยากรสอน ISO ให้กับโรงงาน CBs และหน่วยงานต่างๆ
วิทยากรที่ร่วมบรรยายกับผู้เขียนคือ Mr.Sukum  Ngamprompong สำเร็จปริญญาตรีด้าน Biotechnology จากสถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังและปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมาช่วยเขียนบทความเกี่ยวกับ Food Safety และด้าน Pathogen รวมทั้งเชื้อโรคที่พบในอุตสาหกรรมอาหาร

GHP กับชีวิตจริงในโรงงานอาหาร Blog4 : GHP Check List
สงสัยสอบถามฟรี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า"
Samui Island Night, Southern of Thailand
ภาพกลางคืน ของเกาะสมุย จะครึกคักเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว ดูคล้ายพัทยามากขึ้นทุกวัน ลองคลิ๊คเข้าไปที่โห่หิ้วดอทคอม มีภาพสวยๆ ขอบคุณมากครับ

GHP Check List :

เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจติดตามคุณภาพภายในโรงงาน (ผู้ตรวจประเมินหรือ Auditor ก็มีจัดทำ Check List เช่นกัน) โดยศึกษาจากข้อกำหนดของมาตรฐาว่ามีใจความอย่างไร จากนั้นนำมาระบุเป็นหัวข้อเพื่อใช้ตรวจสอบว่า องค์กรหรือโรงงานทำครบถ้วนหรือไม่ สามารถเพิ่มเติมสิ่งที่ต้องตรวจสอบระบบโดยได้ข้อมูลมาจากระเบียบปฎิบัติ(Procedure) ชุดที่เราจะไปตรวจสอบ ก็คือของฝ่ายที่จะถูกตรวจสอบ
ฉะนั้นเมื่อถูกมอบหมายจาก QMRให้ตรวจสอบฝ่ายใด จะได้รับระเบียบปฎิบัติหลักๆ

    เพื่อเตรียมตัวก่อน ดูได้จากดัชนีหลัก หรือบัญชีรายการหลัก ที่นิยมเรียกภาษาอังกฤษว่า Master List ก็จะทราบว่า แต่ละฝ่ายมีกี่ระเบียบปฎิบัติ ได้รับมาครบหรือไม่
    ส่วนเรื่องที่ว่า ตรวจให้ครบข้อกำหนดนั้น จะมีเอกสารใบหนึ่งที่ทำเป็นเมทตริก (Matrix) ระบุว่าฝ่ายใดบ้าง ใครบ้างเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน เอกสารนี้มักแนบหรือเขียนไว้ในคู่มือคุณภาพ (Quality Manual : QM) หรือถ้าทำแค่มาตรฐาน GMP มักเรียกว่า คู่มือจีเอ็มพี (GMP Manual)


 จุดประสงค์ของการทำ Check List คือ
1 เพื่อใช้เป็นแนวทางของการตรวจสอบ และสุ่มหาสิ่งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
2 เพื่อช่วยจำและรวบรวมหลักฐานข้อบกพร่องที่พบในระหว่างการตรวจสอบ

ขอให้ทุกทีมเตรียมการ ดังนี้

1 หัวหน้าทีมตรวจ เรียกประชุมทีม เพื่อวางแผนการตรวจสอบ เช่นจะไปตรวจสอบพร้อมกันทั้งทีม หรือแบ่งแยกกันไปตรวจสอบ ขึ้นกับเวลา แต่เรื่องเวลานั้น QMR มักเปิดกว้างและเผื่อเวลาให้ตรวจสอบเต็มที่เพื่อให้ได้ประสิทธิผลมากที่สุด ไม่เช่นนั้น จะพบบ่อยครั้ง ทำการตรวจสอบภายใน ไม่ค่อยพบปัญหา แต่พอผู้ตรวจสอบ (Auditor) จากข้างนอกหรือ CB มาตรวจสอบ กลับพบมากมาย บางท่านอาจพูดว่า ผู้ตรวจสอบจากภายนอกมีความแม่นในข้อกำหนด ตรวจมามาก ย่อมหาพบมากกว่า ก็จริงเหมือนกัน หากกลับกัน โรงงานต้องฝึกอบรมให้คนในเก่งและทำรายการได้ครบถ้วนแบบคนนอก ตรวจกันจริงจัง บวกกับเป็นคนใน รู้อะไรอีกมากที่คนนอกบางทีก็ไม่เห็น เพราะระบบบริหารคุณภาพด้านอาหาร
เป็นระบบที่ใช้สุ่มตรวจ สิ่งที่ไม่ได้ตรวจ อาจยังมีข้อบกพร่องแฝงอยู่ คือ ยังไม่ถูกรายงานออกมา
สมัยที่ผู้เขียน เป็นผู้ตรวจสอบ โรงงานมักพูดว่า ทำ ISO แล้วปัญหามาก มีข้อบกพร่องตลอด ก็ด้วยเหตุผลว่า ปัญหานั้นมีจริง แต่เพิ่งมารวบรวมและรายงานขึ้นมา
ผู้เขียนจึงบอกว่า ทำISO ให้ทำต่อเนื่องทุกวัน เหมือนเรารับประทานข้าว แต่ชีวิตจริง ก็มักมาเร่งทำก่อนวันถูกตรวจสอบ เหมือนสมัยเรียนหนังสือที่โหมดูกันทั้งคืน เพื่อเข้าสอบในวันรุ่งขึ้น

2 ทีมงานระดมความคิด ช่วยกันเขียนว่าจะตรวจอะไร ใน Check List อาจเผื่อเนื้อที่ว่างไว้ เพราะหลายครั้ง คำถามอาจได้ ณ จุดตรวจสอบ เช่น เพิ่งนึกได้ หรือสถานะการณ์พาไป สามารถเขียนเพิ่มเติมเข้าไปได้ ขอให้บันทึกเป็นข้อมูลว่าตรวจสอบหรือถามอะไรไปบ้าง คราวหน้าจะได้นำมาใช้เป็นประโยชน์หรือเพื่ออ้างอิง


3 ฝึกฝนกันในทีมว่าจะถามอย่างไร บางครั้งใช้คำถามเปิด เช่น การควบคุสสัตว์พาหะนำโรคมีวิธีการอย่างไร? หรือถามว่าที่นี่พบสัตว์พาหะมีอะไรบ้าง? หรือ ทำไมยังให้พนักงานที่มีอาการป่วยทำงานในสายการชำแหละเนื้อไก่? ทำไมถึงไม่สวมถุงมือและผ้าปิดปากและปิดจมูก?
บางครั้งก็ใช้คำถามแบบปิด เช่น ทำงานในห้องปรุงเครื่องเทศ ต้องสวมหมวกด้วยใช่หรือไม่? ก่อนเข้าพื้นที่สายการผลิตไส้กรอกต้องย่ำเท้าบู๊ทผ่านบ่อน้ำที่พื้นทางเข้าทุกครั้ง ใช่หรือไม่?

4 กำชับทีมงานให้ถามให้ชัดเจน พูดสุภาพ มีสัมมาคาระวะ อย่าแย่งกันถาม ให้แบ่งหน้าที่ ใครถามนำ อีกคนช่วยจดข้อมูลจะได้รวดเร็วและไม่ตกหล่น หน่วยงานที่ให้การรับรองหรือ CB ก็มีแบ่งหน้าที่ ให้ผู้ตรวจสอบหนึ่งคนเป็น Lead Auditor และที่เหลือ หรืออีกท่านก็เป็นลูกทีมหรือ Auditor คราวหน้าก็สลับหน้าที่

5 ทำ Check List หรือรายการตรวจสอบให้เสร็จก่อนวันไปตรวจจริง หรือบางโรงงานก็มีทำ Check List กลาง คือทุกครั้งที่ไปตรวจสอบก็ใช้ชุดนี้ ซึ่งก็ช่วยทีมตรวจได้มากคือลดเวลา แต่ทีมงานควรนำมาศึกษาและทำเพิ่มเติม และคิดคำถามเพิ่ม ในที่สุดจะได้ Check List ที่สมบูรณ์ขึ้น ดีขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น

ผู้เขียนจะทยอยเขียนเติมเข้าไปใน Blog นี้ เพื่อให้ได้มากที่สุด (อาจใช้เวลา)

ผู้เขียน ขอจัดทำ Check List ไว้ใช้ตรวจประเมินระบบ เริ่มจากตรวจสอบตามมาตรฐาน GHP ตรวจสอบอาคารสถานที่ และโปรแกรมพื้นฐานประเภท Standard Operating Procedure(SOP) มีดังนี้


#  มีนโยบายคุณภาพ(Quality Polity) หรือยัง มีการสื่อสารไปยังพนักงานทั้วทั้งองค์กรหรือไม่ อย่างไร
#  มีการแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร (QMR)และทีมงานโดยผู้บริหารระดับสูง(Top Management) หรือไม่
#  มีการจัดทำแผนผังองคืกรหรือไม่ และ Up-Date หรือไม่
# ขอดูคู่มือของมาตรฐานจีเ็อ็มพี (GMP Manual) หากโรงงานทำระบบคุณภาพ จะทำเป็นคู่มือคุณภาพ ที่เรียกว่า Quality Manual: QM แจกจ่ายให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ดำเนินการตามคู่มือหรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรคใดบ้าง
# มีจัดทำรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ (Describe Product) เช่น 
-มีระบุชื่ิอผลิตภัณฑ์(Product Name) หรือไม่ 
- มีกำหนดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ (Important Product Characteristics) เช่น ค่าpH การรักษา(Preservative)หรืออื่นๆ มีอะไรบ้าง กำหนดแล้วหรือไม่
- มีกำหนดลักษณะการใช้ผลิตภัณฑ์(How is it to be use) เช่น ใช้กิน ใช้ดูด หรือใช้ป้าย หรือไม่ อย่างไร
- มีการบรรจุ ภาชนะบรรจุ (Packaging) เช่น ใส่ซอง ใส่ขวด เป็นขวดแก้ว หรือขวดพลาสติกอย่างไร ผลลัพท์เป็นอย่างไร
- มีการระบุอายุการเก็บรักษา(Shelf Life) หรือไม่ 
- มีการกำหนดลักษณะการจำหน่าย (Where will it be sold) อย่างไร
- มีการจัดทำรายละเอียดที่กำกับบนฉลาก (Labelling Instruction) หรือไม่
- มีการดูแลรักษาระหว่างการขนส่ง (Special Distribution Control) เพราะสินค้าบางชนิดจะเสื่อมสภาพ บางชนิดเก็บในห้องเย็นของรถบรรทุก หรือไม่ อย่างไร
- มีกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้(Intend Use) เช่น กลุ่มผู้บริโภค หรือไม่ 
# มีการระบุวัตถุประสงค์ในการใช้ผลิตภัณฑ์ (Identify Intend Use) ให้ระบุกลุ่มเป้าหมายและผลกระทบของผู้บริโภค มีแล้วหรือไม่ อย่างไร
# มีการจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต โดยการทำ Flow Chart จากวัตถุดิบ การแปรรูป ลำดับการทำงานจริงและข้อมูลต่างๆมีอะไรบ้าง มีจัดทำแล้วหรือไม่
# ให้ตรวจสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิตว่าจัดทำครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่ ให้ไปตรวจสอบหน้างาน (On-Site Verification of Flow Chart) เพื่อความถูกต้องอีกครั้ง 
# ให้ตรวจสอบการควบคุมเรื่องอาคารสถานที่โรงงาน เช่น ตัวอาคาร พื้น ผนัง เพดาน ประตู หน้าต่าง ม่านพลาสติก ท่อระบายน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อ/ห้องเก็บของ ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ มีแตกหัก ชำรุดเสียหายหรือไม่ มีหยากไย่และฝุ่นเกาะหรือไม่ ประเมินความสามารถของอาคารสถานที่ว่าสามารถป้องกันสัตว์พาหะ เช่น นก หนู แมลงสาบ แมลงวัน สัตว์อื่นๆเข้ามาได้หรือไม่ 

ผู้เขียนขอเน้นว่า หากกระบวนการผลิตอาหารเป็นแบบระบบเปิด(Open System) เช่นการทำขนมทั่วไป ที่มีโต๊ะเตรียมอาหาร โอกาสสัตว์พาหะนำโรคมาสัมผัสกับอาหารได้มาก แม้แต่ฝุ่น หยากไย่ปลิวตกลงมา ก่อให้เชื้อรา เชื้อโรคได้ ยิ่งกระบวนการถัดไปหากไม่มีการฆ่าเชื้อรองรับ โอกาสที่ผู้บริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยมีสูงมาก จุดนี้สำคัญเพราะตามโรงงานขนาดเล็กที่ผลิตอาหารขาย หากการควบคุมสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคลไม่ดี การควบคุมสัตว์พาหะนำโรคไม่ดี บางครั้งเรากินขนมปังแซนวิชหรือขนมปังต่างๆโดยไม่รู้ว่าผลิตมาจากแหล่งที่ไม่ดีพอ พบว่าบางครั้งพนักงานจาม ไอ มีน้ำมูก เป็นหวัด ยังใช้มือหยิบเกล็ดขนมปังหรือแซนวิชใสเข้าไปในเนื้อขนมปังแผ่นใหญ่ ซึ่งขบวนการฆ่าเชื้อต่อจากลำดับนี้ไม่มี เราก็กินอาหารที่อาจจะมีการปนเปื้อนเข้าไป หรือบางครั้งสภาพโรงงานไม่ดี ภาชนะบรรจุไม่ดี ช่วงพัก หรือช่วงเวลาที่พนักงานเดินไปเข้าห้องน้ำ จะมี หนู แมลงสาบ แมลงวัน หรือนกบินลงมาโฉบ ก็มีได้เช่นกัน ในมาตรฐาน GMP จึงต้องเข้มงวดมากๆ พนักงานต้องใส่ที่ปิดปาก หากหัวหน้าสังเกตุพบว่าพนักงานป่วยให้แจ้งหยุดทำงานจนกว่าจะรักษาตัวจนหายเป็นปกติ เวลาพนักงานป่วยควรแจ้งหัวหน้า แต่บางครั้งพนักงานรายวันเกรงว่าแจ้งแล้ว จะอดทำงานวันนั้นและขาดรายได้ บางคนตาแดง ยังมาทำงาน กรณีนี้หัวหน้างานต้องเอาจริงเอาจังกับ ระเบียบปฏิบัติเรื่องการควบคุมสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคล (Personal Hygiene Procedure)

ต้องเน้นว่า การตรวจตามมาตรฐาน GHP ผู้ตรวจสอบต้องตรวจจากพื้นที่สะอาดก่อน เริ่มจากคลังสินค้าสำเร็จรูป ไล่ย้อนกลับมาที่พื้นที่จัดเก็บวัตถุดิบ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ซึ่งจะต่างจากการตรวจของมาตรฐานรับรองอื่นๆ มักเริ่มจากที่อื่น สุดท้ายมาที่คลังสินค้าสำเร็จรูป
# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการตรวจรับเข้าวัตถุดิบ (Raw Material Receiving Procedure) 
# ขอดูระเบียบปฏิบัติการควบคุมและเคลื่อนย้ายสารเคมี (Chemical Handing and Control Procedure)
# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการออกระหัสหรือโค๊ด (Code) ของผลิตภัณฑ์ (Code of Product Procedure) 
Operation Control Procedure หรือ Control of Operation ให้ตรวจสอบการปฏิบัติงานจริงทุกพื้นที่ในโรงงาน
# ตรวจสอบที่ฝ่ายผลิต ว่าการดำเนินการนั้นถูกต้องตามมาตรฐาน GHP หรือไม่ เช่น
*  มีบ่อล้างเท้า หรือไม่ ดูปริมาณของสารฆ่าเชื้อ เข้มข้นตามที่กำหนดหรือไม่ และสังเกตุดูว่าเวลาพนักงานเข้า-ออก ได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือไม่
*  มีอ่างล้างมือ และสังเกตูเวลาพนักงานออกมา ได้ล้างมือหรือไม่ มีสบู่ให้กับพนักงานหรือไม่
* มีการทำ Swab Test / Rinse Test หรือไม่ ความถี่ในการทำ ขอดูผล กรณีพบเชื้อ ทำอย่างไร
* ตรวจดูด้านสาธารณูปโภค รวมทั้งพื้นโรงงานมีความลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลทิ้ง ไม่ท่วมขัง 
* ตรวจดูด้านสุขาภิบาล เป็นไปตามกฎหมาย 
* ตรวจดูว่าโรงงานทำตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุขทุกฉบับที่มีผลบังคับหรือไม่ และตรวจสอบว่าเป็นไปตาม อย. ด้วยหรือไม่
* ตรวจดูจำนวนพนักงาน เพื่อตรวจสอบว่าจำนวนห้องสุขา ที่ปัสสาวะเพียงพอต่อพนักงานหรือไม่ ทั้งของพนักงานชายและพนักงานหญิง
*  เครื่องเป่ามือให้แห้งพนักงานใช้หรือไม่ มีจำนวนเพียงพอหรือไม่ในการใช้งาน เครื่องเสียหรือไม่
*  ตรวจสอบการดูแลเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ
* ตรวจสอบเครื่องแต่งกายพนักงาน (Uniform) ว่าสะอาดหรือไม่
*  ผ้ากันเปื้อน/ถุงมือ/หมวกคุมผมที่มีปีกป้องกันเศษผมร่วงหล่นปะปนในการผลิตอาหาร หรือระหว่างการเตรียมเบื้องต้นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องปรุง อื่นๆทำตามที่กำหนดหรือไม่
*  ทำความสะอาดภาชนะเครื่องใช้ทุกชนิด รวมทั้งขนาดเล็กที่มีการสัมผัสกับอาหาร หรือไม่ ผลลัพท์เป็นอย่างไร
*  มีการดูแลผลิตภัณฑ์ใน High Care Area เช่นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป รอส่งผ่านไปอีกพื้นที่ ในพื้นที่นั้นอุณหภูมิต้อง 15 องศาเซ็นเซียส ไม่ใช้ขนไปรอพักในพื้นที่อุณหภูมิห้อง หรืออุณหภูมิอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว แต่ไม่ใช่เปิดประตูทิ้งไว้ เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออก จนสภาวะเปลี่ยนไป หรือไม่
* มีการดูแลระหว่างผลิต ทั้งการจัดเก็บวัตถุดิบ เครื่องปรุงและอาหาร ไม่ให้เสื่อมสภาพ หรือไม่
*  ตรวจสถานที่การผลิตและกั้นแบ่งบริเวณให้แยกขาดจากกัน เช่น พื้นที่รับเนื้อสด ผักสด ต้องแยกและห่างจากพื้นที่จัดเก็บสินค้าอาหารสำเร็จรูป เพื่อป้องกันการปนเปื้อน มีจัดทำหรือไม่
*  ให้ทำความสะอาดพื้นที่ผลิตทั้งหมด ผลลัพท์เป็นอย่างไร
*  มีขั้นตอนการผลิตชัดเจน มี Flow Chart มีคู่มือการปฏิบัติงาน(Work Instruction:WI)ที่สำคัญ ณ หน้างานหรือไม่ พนักงานมีความเข้าใจ สามารถปฏิบัติงานได้จริงหรือไม่
*  ตรวจสอบ ระมัดระวังเรื่องความล่าช้า (Delay Process)
* มีการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปไม่ให้เสื่อมสลาย และบูด หรือไม่
* มีการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไม่ให้เสื่อมสลาย และบูด หรือไม่
* ให้ดูเรื่องการบรรจุ (Packaging)  สภาพเป็นอย่างไร สามารถรักษาและป้องกันคุณภาพของอาหารได้หรือไม่
* ตรวจสอบเครื่องมือวัดที่ใช้งานอยู่ในสภาพพร้อม มีการสอบเทียบตามระยะเวลาจริง หรือไม่ กรณี Out of Calibration มีวิธีการรองรับ หรือดำเนินการอย่างไร
* ต้องมีจัดแบ่งพื้นที่ชัดเจน และมีภาชนะสำหรับของเสียและสารที่บริโภคไม่ได้
* ต้องมีการกำหนดพื้นที่ Hold/Rejected ของสินค้าสำเร็จรูปที่มีปัญหาทั้งด้านคุณภาพ การชี้บ่งและการบรรจุ
* ตรวจสอบ ดูแลสภาพห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ว่าอุณหภูมิเป็นไปตามที่กำหนด หรือไม่
* ดูแลการควบคุมคุณภาพอากาศ การถ่ายเทอากาศและการระบายอากาศ หรือไม่
* ตรวจสอบสภาวะแวดล้อม รวมทั้งเรื่องน้ำที่ใช้ดื่ม ใช้ล้างเครื่องมืออุปกรณ์  น้ำทิ้ง และการใช้พลังงานต่างๆว่ามีผลต่อคุณภาพอาหาร อย่างไรบ้าง

# ขอดูและตรวจสอบระเบียบปฏิบัติเรื่องการควบคุมสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคล (Personal Hygiene Procedure และเป็น SOP หรือที่เรียกว่าโปรแกรมพื้นฐาน: oPRP)

* มีการจัดทำโปรแกรมพื้นฐานการควบคุมสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคลแล้วหรือไม่
* มีการปฏิบัติตามโปรแกรมพื้นฐานการควบคุมสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคลแล้วหรือไม่
* มีการตรวจสุขภาพของพนักงานเป็นประจำหรือไม่
* ห้ามไม่ให้พนักงานที่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อ โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นหวัด จาม ไอ รวมทั้งโรคติดต่อทางอาหาร ท้องร่วง ท้องเสียปฏิบัติงาน
* ให้เดินตรวจและสังเกตุพบพนักงานมีอาการป่วยหรือไม่ เช่น ตาแดง ไอ มีน้ำหมูก แล้วหัวหน้างานทำอย่างไร มีให้พนักงานหยุดพักงาน หรือให้กลับบ้านหรือไม่
* มีการสวมชุดทำงาน(Uniform) ที่สะอาดหรือไม่
* พนักงานตัดเล็บหรือไม่ ต้องไม่ไว้เล็บ
* ต้องไม่พบพนักงานใส่สร้อย แหวน กำไรและเครื่องประดับใดๆในขณะปฏิบัติงาน
* มีการสวมถุงมือขณะทำงานหรือไม่ สภาพของถุงมือเป็นอย่างไร
* มีการใส่เอี่ยมหรือผ้ากันเปื้อน และสภาพสะอาดหรือไม่
* มีการสวมหมวกหรือที่คลุมผมที่รวบรัดผมมิดชิดดีพอหรือไม่
* มีการสวมร้องเท้าหุ้มส้น หรือบริเวณพิ้นที่เปียกแฉะ สวมร้องเท้าบู๊ทหรือไม่ (ไม่ใช่ใส่ร้องเท้าแตะเข้ามาหลังจากไปย่ำพื้นที่ที่สกปรกจากนอกอาคารโรงงาน หัวหน้าต้องเข้มงวดในกฎระเบียบ)
* ไม่มีการเคี๊ยวหมากฝรั่ง  อมลูกกวาดในพื้นที่ทำงาน
* ห้ามไม่ให้ใช้น้ำหอม เพราะกลิ่นจะติดเข้าไปในอาหาร
* มีการตรวจสุขภาพแรกเข้าหรือไม่
* ขอดูกฎการแต่งกาย
* ขอดูข้อพึงปฏิบัติและข้อห้ามปฎิบัติกรณีเจ็บป่วย
* การมาเยี่ยมชมโรงงานของแขกหรือผู้เยี่ยมชม มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคลอย่างไร
* ให้ตรวจสอบการทำงานของพนักงานว่าสอดคล้องกับระเบียบการควบคุมสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคลอย่างไร 
ส่วนนี้สัมพันธ์ร่วมกับการควบคุมการปฏิบัติการ (Control of Operation หรือ Operational Control) เช่น พนักงานมีการแต่งกายตามแบบ (Uniform) หรือไม่อย่างไร

หมายเหตุ จะไปเขียนเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง


# ขอดูและตรวจสอบระเบียบปฏิบัติเรื่อง การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค (Pest Control Procedure และเป็น SOP) สิ่งที่ควรดูและตรวจสอบ เช่น


หลังพ่นยาฆ่าแมลง พบแมลงสาบตายเกลื่อนพื้น  ส่วนใหญ่จะพ่นยาในวันหยุดทำงาน

. ขอบข่ายของสัตว์พาหะนำโรคครอบคลุมสัตว์ประเภทใดบ้าง เช่น นก หนู แมลงสาบ แมลงวัน รวมทั้งสัตว์ประเภทจิ้กจก ตุ๊กแก แมงมุม ก็อย่าให้มาสัมผัสกับอาหารที่ผลิต
. ผู้เขียน เคยถามพนักงานว่าสัตว์แต่ละประเภท มีวิธีการกำจัดอย่างไร รอบๆอาคารสถานที่ ที่เป็นบ่อเกิด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เหล่านี้ มีการไปควบคุมและกำจัดอย่างไรบ้าง โดยพนักงานบอกว่า พบกิ่งก้านของต้นไม้ให้ตัดออกไม่ให้มีมากไป ไม่ให้มีกิ่งไม้เป็นแบบสามง่าม เพื่อไม่ให้นก มาทำรัง พบรังนกให้รีบรื้อออกไป มีการกำจัดนก เช่นใช้ตาข่ายจับแล้วไปปล่อยที่ไหน (พนักงานบางคนตอบว่าไปปล่อยที่หม้อต้มยำ ผัดเผ็ด) ก็มี บางคนใช้หนังสติ๊กยิง บางคนบอกว่ามีใช้ธนูยิง บางคนบอกว่าการไล่นกไป โดยใช้วิธีจุดประทัด บางคนจะตีกลองให้ดัง อาจจะส่งเสียงไปไกลถึงศาลไคฟง ให้ได้ยินถึงท่านเปาบุ้นจิ้น ผู้เขียน บอกว่าถ้าเขียนลงไปในระเบียบปฏิบัตินี้ ซึ่งเป็นปรแกรมพิ้นฐาน(Prerequisite Program: PRP)ของ GHP ต้องทำให้ได้ตามที่เขียน และควรเขียนในสิ่งที่ทำได้จริง เวลาผู้ตรวจสอบจากภายนอกมาตรวจที่โรงงาน จะติดตามดูสิ่งที่เราเขียน ว่าได้ปฏิบัติอย่างไร

ที่ผู้เขียน แทรกข้อความนี้มา เพราะว่าในโรงงานปัญหาสัตว์พาหะก็เป็นเรื่องกวนใจ ทำยาก แต่โรงงานรุ่นใหม่ จะทันสมัย อาคารสถานที่ควบคุมมิดชิด โอกาสสัตว์พาหะรอบๆโรงงานจะเข้ามาในพื้นที่การผลิตค่อนข้างยาก แต่นอกอาคารมักพบปัญหา ปลวก มด ด้วง แมลงคลาน แมลงปีกแข็งต่างๆ พวกแมลงบางประเภท หรือยุคนี้แมลงทุกประเภท พวกเอาไปทอดกรอบ ใส่กระเทียมพริกไทย เรียกว่ากินทุกอย่างที่ขวางหน้า ผู้เขียนจำได้ว่า สักสามสิบปีที่แล้ว เคยไปออกทริปที่จังหวัดชัยภูมิ เพชรบูรณ์กับศาสตราจารย์ไพบูลย์ นัยเนตร จากคณะวิทยาศาตร์ จุฬาฯ อาจารย์ไปทำวิจัยทั่วประเทศ อาจารย์บอกว่า ในแมลงน่าจะมีเอ็นไซน์บางชนิด สังเกตุชาวอีสานที่ชอบรับประทานแมลงทอด มักจะหูตึง ยิ่งปูที่นำมาทำส้มตำ ร้อยละ 99% จะมีพยาธิ หากโชคร้ายไปเจอพยาธิตัวจี๊ด ทีเข้าร่างกายคน แล้วไปฝังตัวที่สมอง ยาก็รักษาไม่ได้ แค่บรรเทา ต้องทนทุกข์ทรมาณไปทั้งชิวิต ผู้เขียนมีพีที่นับถือท่านหนึ่ง จบจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานกรมที่ดิน เป็นโรคนี้ ทุกเดือนต้องไปโรงพยาบาลรามาธิบดี อาการของพยาธิในสมองมันกำเริบ เดี๋ยวเป็น เดี๋ยวสงบภายหลังจากอาจารย์บอกผู้เขียนแล้ว ตลอดสามสิบปีที่ผ่านมา ผู้เขียนไม่เคยกินส้มตำปูเลย กินแต่ส้มตำไทย ใส่กุ้งแห้ง
 ต่อมาผู้เขียนได้มีโอกาสไปกับอาจารย์หลายครั้ง อาจารย์บอกว่า ผลการสำรวจตลาดสดต่างๆ พบว่าทั้งพริกป่น ถั่วป่น กุ้งแห้ง ร้อยละ 90% พบเชื้อรา ที่ร้ายแรงมากคือ พบสารอฟาท๊อคซิน โอกาสทำให้เป็นมะเร็งตับ อื่นๆสูงมาก อุณหภูมิที่จะทำลายสารนี้ได้ ต้องมากกว่า 300 องศาเซ็นเซียส ตั้งแต่นั้นมา ผู้เขียนจะรับประทานพริกป่น ถั่วป่น กุ้งแห้ง ต้องพิจารณาดูสภาพให้ดี ให้ชัวร์ หากไม่แน่ใจ ตัดใจไม่กินเลยทั้งพริกป่น ถั่วป่น กุ้งแห้ง จะดีกว่า ขอกลับมาต่อรายละเอียดของ Check List ของการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค (Pest Control)
ขอต่อคำถามที่จะทำเป็น Check List
. มีการใช้สารเคมีด้วยหรือไม่ และจะป้องกันไม่ให้ปะปนเข้าไปในอาหารอย่างไร
. มีแผนการควบคุมและกำจัด รวมทั้งความถี่ในการควบคุมและกำจัดสัตว์พาหะนำโรคอย่างไร
. ทำการกำจัดโดยพนักงานภายในโรงงาน หรือว่าจ้างบริษัทรับกำจัด (Pest Control Company)
. กรณีทำการกำจัดโดยพนักงานภายในโรงงาน มีคู่มือการทำงาน และพนักงานสามารถดำเนินการได้ถูกวิธีหรือไม่
. กรณีว่าจ้างบริษัทรับกำจัด (Pest Control Company) ให้ตรวจสอบว่าครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกประเภทสัตว์พาหะที่พบในโรงงานหรือไม่ รวมทั้งวิธีการ ความถี่ที่ทำ และผลลัพท์ที่ได้
กรณีว่าจ้างบริษัทรับกำจัด (Pest Control Company) มาทำให้ มีพนักงานมาติดตามและตรวจสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่จากบริษัทภายนอกหรือไม่ หากพบว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ดำเนินการอย่างไร
. ไปตรวจสอบหน้างาน หาร่องรอยของสัตว์พาหะมีไหม ทั้งมูลสัตว์ เศษปีก เศษขาแมลง ขนนก อื่นๆ เพื่อประเมินผลการควบคุมว่ามีประสิทธิผลเพียงใด หากไม่ได้ผลมีแผนการปฏิบัติอย่างไร

. ให้ตรวจสอบตามช่อง ตามร่องของประตูหน้าต่างมีมุ้งลวด มีตะแกรงปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์พาหะเข้ามาหรือไม่
. สารเคมีที่ใช้กำจัดสัตว์พาหะได้รับอนุญาตให้ใช้ได้หรือไม่
. มีการทำแผนผังจุดที่ใช้สารเคมีครบถ้วนหรือไม่
. กรณีที่ใช้ยาเบื่อ สภาพกล่องบรรจุอยู่ในสภาพดีพอหรือไม่ ต้องไม่แตก ไม่ชำรุด
. มีการทำแผนผังจุดวางยาเบื่อสัตว์หรือไม่
. การดูแลรักษาเครื่องดักแมลง และกับดักสัตว์ต่างดีหรือไม่ มีแผนการบำรุงรักษาอย่างไรบ้าง
. มีการจัดทำแผนผังของเครื่องดักแมลง และกับดักสัตว์ต่างหรือไม่
. โรงงานผลิตอาหารต้องไม่มีการเลี้ยงสัตว์ภายในบริเวณโรงงาน ทั้งสุนัขและแมวก็ไม่มีข้อยกเว้น
แต่บางแห่งบ้านพักเจ้าของโรงงานอยู่ในบริเวณโรงงานด้วย ก็ต้องจำกัดบริเวณไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้ามาปะปนในพื้นที่การผลิต พื้นที่การเก็บสินค้าสำเร็จรูปโดยเด็ดขาด เพราะผู้ตรวจสอบพบเห็น ถือว่าขัดต่อมาตรฐาน GHP เนื่องจากขนจากสัตว์ แม้แต่ตัวไร ตัวเห็บ ย่อมมีโอกาสปนเปื้อนในอาหารได้
ครั้งหนึ่ง พนักงานเสนอว่าจะนำแมวมากำจัดหนู ทำแบบ Biological Control
ปกติใช้วิธีการทางธรรมชาตินับว่าดี คือ มีแมว ย่อมไม่มีหนู แต่ถ้าไม่มีทั้งหนูและแมว จึงจะมี GHP

# ขอดูและตรวจสอบระเบียบปฏิบัติเรื่องการควบคุมขยะและของเสีย (Waste Control Procedure และเป็น SOP)

ผู้เขียน ขออธิบายเกี่ยวกับ Check List ของการควบคุมขยะและของเสีย ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐาน ( Operating Pre-Requisite Program: oPRP หรือ Standard Operating Procedure: SOP)
สิ่งที่ผู้ตรวจสอบภายในควรขอดูและตรวจสอบคือ
* จัดทำระเบียบปฏิบัติเรื่องการควบคุมขยะและของเสีย (Waste Control Procedure) หรือไม่ กำหนดให้ใคร ทำอะไร ทำเมื่อไร ทำที่ไหน อย่างไรโดยระบุแบบชัดเจนและปฏิบัติงานได้จริง หรือไม่
* ขยะแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
หมายเหตุ ระเบียบปฏิบัติเรื่องการควบคุมขยะและของเสีย สามารถเขียนให้เมอร์ส(Merge) ใช้ในมาตรฐานของ ISO14001 และ OHSMS45001 ได้ เพื่อให้การทำหลายๆระบบการจัดการ แต่ใช้ระเบียบปฏิบัติชุดเดียวกัน
* แต่ละประเภท ควบคุมและกำจัดอย่างไร
* ตรวจสอบวิธีการทิ้งขยะถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่
* ขยะทิ้งเมื่อไร ความถี่เหมาะสมหรือไม่ ไม่ปล่อยให้ล้นพู, หรือหกเรี่ย เกลื่อนพื้น
* บริเวณขยะควบคุม มีภาชนะปิดมิดชิดหรือไม่ มีสัตว์พาหะมีคุ้ยเขี่ย หรือแมลงมาตอมหรือไม่
* บริเวณจัดเก็บขยะในสายการผลิต ดูแลอย่างไร การเคลื่อนย้ายขยะออกนอกสายการผลิตดูแลดีหรือไม่
* บริเวณขยะรอบๆอาคารสะสม หมักหมม ส่งกลิ่นหรือไม่
* ขยะแบ่งทิ้งตามประเภท ลงถังขยะอย่างไร ระบุว่าถังสีใด ทิ้งขยะใดบ้าง และทิ้งถูกประเภทหรือไม่
* ขยะพิษ ดำเนินการแบบถูกวิธีหรือไม่ ส่งไปกำจัดอย่างไร ทำถูกต้องตามกฎหมายและเทศบัญญัติ และหลักการสาธารณสุขหรือไม่
* การเคลื่อนย้ายขยะแต่ละชนิด ประเภท ทำตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีใบกำกับหรือไม่
* มีการป้องกันขยะไม่ให้ปนเปื้อนในสายการผลิตอาหารอย่างไร สามารถป้องกันได้ประสิทธิผลหรือไม่
มีการป้องกันขยะจากแหล่งพัก พื้นที่รอทิ้ง โดยไม่ให้ปนเปื้อนออกไปจากบริเวณที่ระบุว่าพื้นที่รอทิ้ง อย่างไร สามารถป้องกันได้ประสิทธิผลหรือไม่
* ใครมาตรวจสอบหรือไม่ ว่าการทิ้งขยะถูกต้องและถูกวิธีการ ตามระยะเวลาที่กำหนด
* ขยะประเภทเศษอาหาร หรือที่เน่าบูดได้ ดำเนินการอย่างไร
*  ให้ตรวจสอบที่แหล่งทิ้งขยะจริง และตามบริเวณโรงอาหาร สภาพเป็นอย่างไร ถูกสุขลักษณะหรือไม่
* ให้ตรวจสอบผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจ และมีความตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้และหน้าที่หรือไม่

ผู้เขียน ขอเล่าให้ฟังว่า การทำโรงงานผลิตอาหาร จะเหนื่อยมาก ไม่ได้สบายอย่างที่คิด น้องๆที่จบ Food Science สำเร็จใหม่ คงจะได้เรียนรู้จากชีวิตจริง หลังจากที่ได้เริ่มทำงานครั้งแรกในชีวิต ยิ่งเป็นโรงงานที่ผลิตอาหารที่เป็นวัตถุดิบตามฤดูกาล เช่น มะเขื่อเทศ พอเดือนเมษายน ผลผลิตก็จะวายลง หรือพวกลิ้นจี้ ลำไย เงาะ สับประรด อื่นๆ มาทำผลไม้กระป๋อง ช่วงฤดูกาลจะมีงานมาก โรงงานต้องเร่งผลิตทั้งวันและคืน จะรอช้าไม่ได้ อาจเกิดความเสียหาย จะลาพักร้อน หรือลากิจ อาจต้องเลื่อนออกไปก่อน

ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย เพิ่งมีราชโองการจากกษัตริย์อับดุลลาห์ ให้โรงงานผลิตยา และสถานที่ขายชุดชั้นในสุภาพสุตรี รับพนักงานที่เป็นผู้หญิงเท่านั้นเข้าทำงานได้ เพราะผู้หญิงที่ซาอุดิอาระเบีย ได้เรียกร้องสิ่งเหล่านี้มานาน ฉะนั้น งานบางอย่างก็เหมาะกับสุภาพสตรีทำโดยเฉพาะ ยิ่งงานที่ใช้ฝีมือปราณีต งานละเอียดอ่อน งานประเภททำเครื่องประดับ เสื้อผ้า มักมีแรงงานที่เป็นสุภาพสตรีมาก

ในบ้านเรา ผู้เขียนมองว่าบริษัทข้ามชาติ ควรทำมาตรฐานแรงงานไทย (Thai Labor Standard) เพราะว่าเวลาผู้บริหารต่างชาติ มาทำงานเมืองไทย ไม่ชอบใจพนักงาน หรือพนักงานทำผิดครั้งแรก ก็ต้องว่าตามกฎหมายแรงงานไทย แต่ผู้บริหารต่างชาติ มักไม่เข้าใจกฎหมายไทย จะให้ไล่พนักงานกลับบ้านอย่างเดียว โดยไม่จ่ายค่าชดเชยด้วย หรือบางครั้งใช้งานผิดหน้าที่ จะใช้คนนั้นคนนี้ให้ไปไล่พนักงานออก หรือสอบสวนเอาผิด โดยไม่ทราบว่าเป็นฟังค์ชั่น หน้าที่ของฝ่าย HR ผู้เขียนอยู่ฝ่าย QA บ่อยครั้งจะถูกสั่งให้ไปไล่พนักงานออก หรือสอบสวนเอาผิดพนักงาน เลยงงในบทบาทหน้าที่พอสมควร แต่สิ่งไหนผิดกฎหมาย ผู้เขียนไม่ได้ทำตามคำสั่ง เพราะถือว่าเป็นคำสั่งอันไม่ชอบด้วยกฎหมายไทย ไม่สามารถปฏิบัติได้ พยายามชี้แจงหรือถกเถียงกันจนเหนื่อยก็แล้วกัน ว่างๆ จะหาเวลามาเขียนบทความ มรท 8001 หรือ มาตรฐานแรงงานไทย (Thai Labor Standard: TLS 8001) ผู้เขียนจึงมองว่า ผู้เกี่ยวข้องและกระทรวงแรงงาน น่าจะพิจารณาใช้แนวทางแบบโรงงานที่ผลิตอาหาร ก่อนจะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงาน ต้องมีมาตรฐาน GHP ก่อน ฉะนั้นโรงงานหรือบริษัทข้ามชาติ ที่มักไม่เข้าใจกฎหมายแรงงานไทย ถ้าเป็นโรงงานข้ามชาติต้องได้รับรองมาตรฐานแรงงานไทยก่อน โดยออกเป็นกฎหมายบังคับใช้แบบมาตรฐาน GMP นับว่าจะเป็นผลดีต่อทุกฝ่าย เพื่อให้มาตรฐานนี้ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน สื่อสารในสองทิศทาง รวมทั้งมีการเน้นฝึกอบรมข้อกฎหมายแรงงานไทยให้กับผู้บริหารข้ามชาติเข้าใจชัดเจน และมีส่วนร่วมสร้างสรรปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกัน
หมายเหตุ ผู้เขียน ได้เริ่มเขียนบทความเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Accountability) หรือ SA 8000 ได้จาก ฺBlog ที่ 19 ของ Web Blog    link ดูจาก  http://safetysolving.blogspot.com/ 

# ขอดูและตรวจสอบระเบียบปฏิบัติเรื่องการควบคุมแก้วและกระจก (Glass Control Procedure และ เป็น SOP)
. มีการจัดทำแผนผัง(Lay out) ของตำแหน่งแก้วครบทุกจุดใช้งานหรือไม่ ภาชนะและอุปกรณ์แก้วหายหรือแตกกลายเป็นเศษ จะได้ติดตาม ควบคุมไม่ให้ปะปนไปในอาหารที่กำลังผลิต 
กรณีมีเศษแก้วและเศษกระจกปะปนเข้าไปทำอย่างไร 
กรณีมีเศษแก้วและเศษกระจกปะปนเข้าไปในอาหารและถูกลูกค้าร้องเรียน ดำเนินการอย่างไร
. แก้วที่แตก มีขั้นตอนเก็บกวาดออกจากพื้นที่อย่างไร ใครตรวจสอบว่าไม่มีเศษแก้วหลงเหลือหรือไม่

# ขอดูและตรวจสอบระเบียบปฏิบัติเรื่องการทำความสะอาด (Cleaning Procedure และเป็น SOP)
 . มีการจัดทำแผนผังของการทำความสะอาด (Cleaning Lay Out) แล้วหรือไม่
 มีการจัดทำแผนการทำความสะอาด (Cleaning Plans) หรือไม่ และปฏิบัติตามแผนหรือไม่ ทั้งความถี่ในการทำความสะอาด ใครเป็นผู้ปฏิบัติ และได้รับการอบรมเรื่องการทำความสะอาดมาด้วยหรือไม่ 
. มีอุปกรณ์การทำความสะอาดครบหรือไม่ สภาพของอุปกรณ์ จำนวนน้ำยาและประเภทของน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดเป็นอย่างไร มีการสุ่มทดสอบและตรวจหาเชื้อโรคหรือไม่
มีการลงบันทึกผลการทำความสะอาด (Cleaning) หรือไม่ ใครมาตรวจสอบว่าถูกต้อง ทำจริงหรือไม่

# ขอดูและตรวจสอบระเบียบปฏิบัติเรื่องการควบคุมน้ำ (Water Control Procedure) หากโรงงานมีใช้ทั้งไอน้ำ ใช้น้ำแข็งก็ต้องควบคุมด้วยเพราะสิ่งเหล่านี้ ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและเกิดเชื้อโรค มีผลต่อคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร และเป็น SOP หรือโปรแกรมพื้นฐาน (PRPs)
หากไม่สามารถกำหนดจุด CCP (Critical Control Point แบบการจัดทำระบบคุณภาพ หรือ HACCP)
โดยผู้เขียนอธิบายเพิ่มและแนะนำว่าให้โรงงานผลิตอาหารขนาดเล็กที่ไม่ทำ HACCP นำวิธีการของ ISO22000 มาใช้คือ เมื่อไม่สามารถกำหนดจุด CCP ให้นำโปรแกรมพื้นฐาน (PRPs) ไปควบคุมคนทำงาน หมายถึงให้พนักงานปฎิบัติตาม PRPs ซึ่งเรียกว่า oPRPs หรือ Operational Pre-Requisite Program เมื่อคนทำจริง ย่อมทำให้เกิดความปลอดภัยด้านอาหาร ลดการปนเปื้อน


. ขอดูการกำหนด Spec ของน้ำที่ใช้ ทั้งใช้ในกระบวนการผลิต ใช้เป็นน้ำดื่ม และน้ำใช้ทั่วไป
. ตรวจดูแหล่งที่มาของน้ำ หากมีการใช้น้ำแข็ง และไอน้ำ ให้ตรวจสอบด้วย
. ตรวจดูอุปกรณ์การผลิตอยู่ในสภาพดีหรือไม่ เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดเชื้อโรคจากน้ำหรือไม่
. ตรวจดูการจัดเก็บ ภาชนะที่ใช้จัดเก็บ หรือภาชนะบรรจุ สภาพต่างๆ
. ขอดูเกณฑ์การตรวจน้ำ
. มีการทำ Lay Out จุดที่เก็บตัวอย่างน้ำหรือไม่ และผลการตรวจและทดสอบ

# ขอดูการเรียกคืนสินค้า มีหรือไม่ และเป็นปัญหาใด ดำเนินการอย่างไร
# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร (Maintenance Procedure) มีใช้สารบางอย่างที่เป็น Food Grade หรือมีความเป็นพิษน้อย ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด หรือไม่ เช่น จารบีชนิดฟูดเกรด เป็นต้น  ดูหลักการได้จาก QMS Check List จากลิงค์ http://quality1996-quality1996.blogspot.com/   เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ISO9001 ข้างในของBlog ที่ 4  มี QMS Check List หลักการทั้งหมดเช่นเดียวกัน
# ขอดูและตรวจสอบระเบียบปฏิบัติเรื่องการชี้บ่งและสอบกลับได้ (Identification and Traceability Procedure) ดูหลักการได้จาก QMS Check List
# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการขนส่ง(Transportation Procedure) หรือ การ Delivery มีทั้งระบุชนิดของพาหนะ ประเภทรถยนต์ ผู้ขนถ่ายสินค้า มีการทำความสะอาดรถยนต์ และอุปกรณ์ขนส่งต่างๆ ดูหลักการได้จาก QMS Check List
# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการฝึกอบรม (Training Procedure) ดูหลักการได้จาก QMS Check List
หมายเหตุ GHP Check List ยังเขียนไม่เสร็จ จะเพิ่มรายละเอียดเข้าไปในภายหน้าอีกครั้ง

HACCP/ ISO22000 (Food Safety Management System :FSMS): 
จากนั้นการตรวจสอบระบบว่าการทำ HACCP/ISO22000 ให้ตรวจสอบต่อดังนี้
# ขอดู การวิเคราะห์อันตราย (Hazard Analysis)
# ขอดูการทำแผนการวิเคราะห์จุดอันตรายและควบคุมจุดวิกฤต(HACCP Plans)
# ตรวจสอบค่า CL (Critical Limit)
# ตรวจสอบการปฏิบัติของ HACCP Plans
# ตรวจสอบความถูกต้องของ  HACCP Plans
# ทำการทวนสอบ (Verification) แผน HACCP หรือไม่
# ตรวจสอบ HACCP Plans ว่าทำครบถ้วน และครอบคลุมทุกจุดวิกฤตหรือไม่
# มีการยืนยันถึงสภาพการใช้ได้ (Validation) ของ HACCP PLan หรือไม่
# ค่าวิกฤตออกนอกค่าควบคุมหรือไม่ หากพบว่ามี ดำเนินการอย่างไร
# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการตรวจและการทดสอบ (Inspection and Test Procedure) รวมทั้งมีการตรวจจับโลหะด้วยเครื่อง Metal Detector อื่นๆ ดูหลักการได้จาก QMS Check List  สามารถกด Link ได้ http://quality1996-quality1996.blogspot.com/ 
 # ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการควบคุมเอกสาร (Document Control Procedure) ดูหลักการได้จาก QMS Check List
 # ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการควบคุมบันทึก (Record Control Procedure) ดูหลักการได้จาก QMS Check List
 # ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร (Maintenance Procedure) ใน GHP/HACCP มักใช้สารบางอย่างที่เป็น Food Grade หรือมีความเป็นพิษน้อย ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด ดูหลักการได้จาก QMS Check List
·ระเบียบปฏิบัติเรื่องการสอบเทียบเครื่องมือวัด อุปกรณ์และ Device (Calibration Procedure) ดูหลักการได้จาก QMS Check List
# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Non-Conformity Procedure or Hold and Release Procedure) ดูหลักการได้จาก QMS Check List
# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการเรียกคืนสินค้า (Product Recall Procedure) ดูหลักการได้จาก QMS Check List
·# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องลูกค้าร้องเรียนและเคลม (Customer Complaint and Claim Procedure) ดูหลักการได้จาก QMS Check List
# ขอดูเรื่องการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน (Corrective and Preventive Action Procedure) ดูหลักการได้จาก QMS Check List
# ตรวจสอบดูการทวนสอบและเฝ้าระวัง (Monitoring) ปัญหาและแผนงานต่างๆ ได้มีการดำเนินการอย่างไร
# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการตรวจประเมินภายใน (Internal Audit Procedure)
 
ดูหลักการได้จาก QMS Check List
# ขอดูระเบียบปฏิบัติเรื่องการประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพ (Management Review Meeting Procedure) ดูหลักการได้จาก QMS Check List

ช่วงนี้ผู้เขียนติดงาน และวันหยุดหรือช่วงว่าง ได้ไปฝึกซ่อมรถยนต์ เพราะสนใจและต้องการซ่อมรถยนต์ได้  ทุกครั้งเวลาเดินทาง รถยนต์เสีย หรือรถยนต์ผู้อื่นเสีย สตาร์ทไม่ติด จะได้ช่วยเหลือได้ ทำให้หยุดการเขียนบทความไป แต่จะหาเวลามาเขียนบทความต่อครับ

วันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนไปฟังการสัมมนาเรื่อง "Food Safety Management System: A Case Study from Japan"  จัดที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมี H.E. Mr. Seiji Kojima (Ambasssador of Japan ประจำประเทศไทย) มาเปิดงาน เนื้อหาสาระก็เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมอาหาร มีทั้งผู้ประกอบการไทยและจากญี่ปุ่นมาร่วมงาน ผู้เขียนได้ไปร่วมฟังการสัมมนา 

พูดถึงโรงงานผลิตอาหารของญี่ปุ่นเน้นทำ 7S หรือ 7ส  แล้ว (Food Hygiene 7S)
นอกจากนี้ ISO22000 +  ISO/TS22002-1:2009 (ซึ่งบอกรายละเอียดของ PRP หรือโปรแกรมพื้นฐาน) จะกลายเป็นมาตรฐานที่ให้การรับรองที่เรียกว่า FSSC 22000:2013 (New Food Safety System Certification) ซึ่งปี 2012 บริษัท โคคา โคล่า ประกาศว่าจะให้ Suppliers ที่ซื้อขายกัน ต้องมี FSSC 22000:2013




ผู้เขียนจะนำข้อบกพร่องหรือออก NC หรือสิ่งที่โรงงานปฎิบัติไม่สอดคล้องมาลงให้ศึกษา โดยนำของ GMP และ PRPs มาเขียน จากนั้นจะต่อในส่วน FSMS ว่าผู้ตรวจประเมิน หรือ Auditor มองมุมใด เราต้องไปปฎิบัติอย่างไรให้สอดคล้องกับข้อกำหนด

#  พบรังนกในชายคาโรงงาน และในซอกมุมอาคารภายในคลังสินค้าที่จัดเก็บผลิตภัณฑ์อาหาร
#  พบสัตว์พาหะเข้ามาในพื้นที่ผลิต ไม่มีวิธีการควบคุมที่ชัดเจนว่าต้องดำเนินการอย่างไร
#  ประตูอาคารผลิตเปิดออก และไม่ปิด ทำให้สัตว์พาหะเข้ามาในอาคารโรงงาน
#  ผลการตวจสุขภาพพนักงาน และแพทย์วินิจฉัยมีปัญหาสุขภาพปอด ยังปล่อยให้พนักงานทำงานตามปกติ โดยไม่มีการป้องกัน หรือนำไปรักษาเพื่อให้เกิดการปนเปื้อนจากการป่วยของตัวพนักงาน
#  ร่องน้ำ และฝาท่อระบายน้ำทรุดตัวและแตกออกเป็นร่อง เป็นที่อยู่ของสัตว์พาหะ
#  ท่อระบายน้ำทิ้งที่ต่อออกนอกอาคารไม่มีตะแกรงกั้นสัตว์พาหะจากภายนอกเข้า
#  ท่อระบายน้ำทิ้งที่ต่อออกนอกอาคาร บางจุดมีตะแกรงกั้นสัตว์พาหะจากภายนอก แต่ขนาดรูตะแกรงใหญ่เกินไป ไม่อาจป้องกันได้จริง
#  พบสัตว์เลี้ยง เช่นกรงนกหัวจุก และนกเขา ข้างอาคารโรงอาหาร
#  ไม่มีการทบทวน HACCP Plan เมื่อมีการเปลี่ยนขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิต
#  พบแก้วแตกพนักงานไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร
#  ฟิล์มรองพื้นที่รองรับผลิตภัณฑ์อาหารมีคราบสกปกจากรอยหรือคราบสกปก
# กระดาษที่ใฃ้รองพื้นที่รองรับผลิตภัณฑ์อาหารมีคราบสกปกจากรอยนิ้วมือและรอยเท้า
#  มีดและอุปกรณ์ปลายแหลมและมีคมที่ใช้ในงานไม่มีการควบคุม หากเกิดปลายหักและปลายบิ่นมีโอกาสปะปนเข้าไปในผลิตภัณฑ์อาหาร (ไม่มี Matal Detector ผู้เขียนมองว่ามีความเสี่ยงสูง)
#  สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารที่รอขนส่ง ไม่มีการปิดพลาสติคใสตามที่กำหนดไว้
#  สินค้าที่ลดราคา เพื่อนำไปจำหน่ายราคาถูกลง ไม่มีการดูแล ไม่มีการปิดพลาสติคใสตามวิธีการที่ต้องปฎิบัติกับผลิตภัณฑ์อาหารที่รอขนส่ง
#  ไม่มีการควบคุมการใช้มีดคัทเตอร์ พนักงานหลายคนมีใช้งานส่วนตัวโดยไม่มีการควบคุม
#  ภายในพื้นที่ทำงาน ห้องทำงานของหัวหน้าในอาคารผลิตมีขนม และอาหารห่อจากภายนอก รวมทั้งลูกอมและหมากฝรั่ง
#  พนักงานนำขนมปังและกาแฟไปรับประทานที่ห้องผู้จัดการ ภายในอาคารโรงงาน มีโอกาสให้สัตว์พาหะเข้ามากินเศษอาหารและขนม (ผู้จัดการไปพบลูกค้า)
#  พนักงานใช้ไม้ตีแมลงวัน 
#  มีของใช้กระจุกกระจิกบนโต้ะทำงานติดกับโต๊ะผลิตอากหาร และพบทั้งลูกแมก และปากกามีปลอก โอกาสที่จะปะปนเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ได้มาก
#  วางวัตถุดิบที่รอผสมเข้าไปในกระบวนการผลิตบนพื้น
# มีการวางเครื่องเทศ เครื่องปรุงและส่วนผสมอาหารบนพื้น
#  พนักงานทำงานโดยไม่ปิดปากตามกฎระเบียบ
# พนักงานใส่ถุงมือข้างเดียว ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบต้องใส่ทั้งสองข้าง ห้ามสัมผัสกับอาหารโดยตรง
พนักงานใส่ถุงมือยางทั้งสองข้าง แต่ตัดปลายนิ้วมือออก
#  พื้นฝ้าพบหยากไย่
#  พื้นเพดานพบราดำเป็นแถบกว้าง สภาพห้องมีความชื้นสูงก่อให้เกิดรา
#  พนักงานก้าวเท้าข้ามกะบะน้ำคลอรีน โดยไม่ย่ำเท้าเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าอาหารผลิต
#  ความเข้มข้นของน้ำคลอรีนต่ำกว่า 50 ppm (ควรมากกว่า 200 ppm หรือมากกว่าหนึ่งร้ิอยขึ้น) ไม่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ
# ไม่มีการสุ่มวัดค่าความเข้มข้นของน้ำคลอรีนในกะบะย่ำเท้า
#  ไม่มีการสุ่มวัดค่าคุณภาพน้ำประปาว่ายังมีคุณภาพดีพอหรือไม่ในหลายๆจุดทำงาน
#  ตุ้ล๊อคเกอร์ไม่เพียงพอ มีการวางสิ่งของนอกตู้มากมาย เสื้อผ้าแขวนรกรุงรัง
# ภายในตู้ล๊อคเกอร์พบทั้งขนม มาม่า ร้องเท้า ของใช้ส่วนตัว จาน ชามและช้อน เข็มขัด
#  สภาพโรงอาหารไม่สะอาด ไม่มีการทำความสะอาดในความถี่และวิธีการที่เหมาะสม
#  พบสารเคมีหมดอายุในห้องทดสอบ
# พบสารเคมีไม่มีการชี้บ่งว่าคือสารอะไร
# สารผสมทีใส่ขวดหมดอายุ แต่นำมาวางรวมกับขวดที่ยังใช้ได้ (ไม่หมดอายุ)
#  สารที่หมดอายุ วางไว้ต่างหากแต่ไม่มีการระบุและชี้บ่งใดๆ
#  สติีกเกอร์ที่ติดกับผลิตภัณฑ์มีการพิมพืออกมามากกว่าจำนวนสินค้า และใช้ไม่หมด นำมากองรวมกับล๊อทผลิตถัดไป 
#  บางส่วนของสติี๊กเกรอร์ที่ระบุวันหมดอายุของสินค้า วางไว้หลายแห่ง วางบนพื้นหรือทางเท้าก็มี ขาดการควบคุม

วันนี้นอกจากเรื่อง GHP/HACCP ขอพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและอุบัติเหตุสักนิด ผู้เขียนจึงเตือนมายังผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบ อย่างน้อยก็เป็นความรับผิดชอบต่อสังคม และท่านเองไม่ต้องลำบาก ยุ่งยากเวลาเกิดเรื่องเหล่านี้

* ผู้เขียนขอแนะนำทุกๆบริษัท โดยเฉพาะของคนไทย ควรมีผู้บริหารไปอบรม จป.ผู้บริหาร และส่งพนักงานไปอบรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน มิฉะนั้นเวลาเกิดอุบัติเหตุ และเรื่องเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน เจ้าหน้าที่จะมาตรวจสอบที่สถานประกอบการ ที่ไม่มี จปว. จะเรียกขอ หรือขอดูการอบรมของผู้บริหารและของหัวหน้างานเกี่ยวกับความปลอดภัย หากไม่มีหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จะถูกทางราชการปรับเป็นเงินมากโข เรียกว่าหลายแสนบาทก็มีแล้ว จัดอบรมดีกว่า เวลาเกิดเรื่องจะได้ไม่ยุ่งยาก ยิ่งอะไรที่เกี่ยวกับราชการ หรือกฎหมาย เรียกว่าเหนื่อยมากๆ

* ยิ่งโรงงานหรือบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คน (ไม่ใช่ทำบุญร้อยวันนะ แต่เกิดอุบัติขึ้นมา ก็ใช่เลย)
ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ หรือ จปว. รวมทั้งบริษัท ที่มีผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน หรือมีหลายโรงงานในรั๊วเดียวกัน นับจำนวนพนักงานรวมกันครบ 100 คน ก็เข้าข่าย ลักษณะแบบนี้ยังมีอีกหลายแห่ง หากเกิดอุบัติเหตุ จะถุกตรวจสอบเข้ม และปรับหนักพอสมควร ทำให้ถุกต้อง ปลอดภัยและสบายใจ

* ปัจจุบันโรงงานญี่ปุ่นมาตั้งที่ไทย มักมีพนักงานไม่ถึง 50 คน ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านเทคนิค ไม่ต้องมี จปว. มักเป็นโรงงานขนาดเล็ก ผลิตชิ้นส่วน หรือ สินค้า ส่งกลับไปให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น
แต่นิยมใช้เครื่องที่อัตโนมัติมากขึ้น พนักงานหนึ่งคน คุม 6-8 เครื่องจักรที่ใช้ผลิต ไม่เหมือนแต่ก่อน หนึ่งเครื่องใช้คนคุม 3-4 คน ข้อดีโรงงานญี่ปุ่น คือ เน้น 5 ส และตระหนักถึงเรื่องอุบัติเหตุ เราควรนำสิ่งดีๆมาประยุกต์ใช้กับพนักงานคนไทย

GHP มีทั้งของ Codex Standard ในไทยมีเรียกขานและจัดทำของกระทรวงสาธารณสุข มี GHP อย.
นอกจากนี่ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เรียกว่า GMP คือ ASEAN  Cosmetic GMP บวก ISO9001 เข้าไป
และมีอีก GMP ที่มักเรียก GMP EU เป็นมาตรฐาน ISO อีกมาตรฐานที่ยอมรับกันใน EU

ยังเขียนไม่เสร็จ โดยผู้เขียนจะนำไปเขียนต่อที่บล๊อค FSMS หรือ ISO22000: 2005 รวมทั้ง FSSC22000:2010

เขียนต่อคราวหน้า

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com