วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

FMEA กับการนำมาประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร: Blog 22


Blog ที่ 22: FMEA กับการนำมาประยุกต์ใช้งาน


ในอุตสาหกรรมอาหาร



ISO9001:2015, ISO13485:2016

ISO14001:2015, ISO45001:2018

ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง

IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor

Control of Documented Information ทุก ISO


ผู้เข้าอบรมเข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน

บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด

KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.

เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย 

อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000

ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 

0832431855, 081 6493828

E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, 

isoiatf@hotmail.com   

Line ID: iatf16949

In-House Training and Consulting

ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน

"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 

081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ


คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
FMEA = Failure Mode 


Effect Analysis  




การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ  


นอกจากใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ 


ปัจจุบันนิยมมากขึ้นโดยนำมาประยุกต์ใช้งาน


ในอุตสาหกรรมอาหาร 


ปัจจุบัน New FMEA โดย AIAG ร่วมมือ


กับ VDA 



ในประเทศไทยคงจะเริ่มอบรมหรือเรียนรู้ 


New FMEA มีอะไรบ้าง



เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

o เหตุผลการปรับเปลี่ยน



กำหนดโครงสร้างเดียวกัน


โดย AIAG  และ VDA

o New FMEA มี 7 ขั้นตอน ดังนี้


การวางแผน 




Planning and Preparation

วิเคราะห์เกี่ยวกับ


โครงสร้าง Structure 




Analysis

วิเคราะห์เกี่ยวกับฟังค์ชั่น  Function 


Analysis


วิเคราะห์เกี่ยวกับความล้มเหลว  


Failure Analysis


วิเคราะห์เกี่ยวกับความเสี่ยง  Risk 


Analysis


ดำเนินการหรือการจัดการให้


เหมาะสม 

Optimization




7 Result Documentation

โดยจัดทำ Action Priority


 แทน   RPN


ทุกขั้นตอน เตรียมปรับรูปแบบฟอร์ม เพื่อประยุกต์ใช้ New FMEA
คาดว่าปี 2019 โรงงานที่จะประยุกต์ใช้ FMEA คงเตรียมการอบรม  New Core Tool นี้

VDA เยอรมัน ร่วมกับ AIAG 
บางคนเรียก New AIAG VDA FMEA หรือ

New FMEA By AIAG & VDA
ยกเลิกการระบุ RPN ที่เคยทำแบบเดิม
มองว่าใช้งานแล้วไม่เหมาะสม ไม่ตอบโจทย์
ชีวิตโรงงานเราก็รู้กัน ตัวเลข RPN นั้นเบี่ยงๆกันได้
เริ่มใช้ AP (Action Priority) แทน มองว่าดีกว่า
ก็ต้องลองนำไปประยุกต์ใช้ และปฏิบัติจริง
AP ที่ว่า ปรับเป็น High, Medium, Low และ
เงื่อนไขคะแนนจาก 10-1 กับพิจารณาร่วมกับค่า O, D
แบบฟอร์มมีการปรับเปลี่ยนใหม่ 

โรงงานจะเริ่ม New FMEA By AIAG & VDA เมื่อไร
* ไปเริ่มที่ New Project 
* หรือบางครั้งลูกค้าขอให้ทำ FMEA 
* ผู้เขียนมองว่า เผื่อไว้ให้เขียนระบุเงื่อนไขการเปลี่ยนถ่าย

โรงงานไปทบทวนและ Up date ที่ FMEA Manual
บางโรงงานนำเข้ามาจัดทำเป็น QP หรือ Procedure
ถือเป็นเอกสารระดับ 2 ในระบบโครงสร้างด้านเอกสาร

ยกตัวอย่าง 7 ขั้นตอนการทำ New AIAG VDA FMEA
ขั้นตอนที่ 1: Planning and Preparation
เขียนผัง หรือ Boundary Diagram: 
1  Input สิ่งที่ป้อนเข้าไปในระบบเป็นความจำเป็นหรือต้องการ (Needs) 
2 ความคาดหวังคือ อยากได้ผลลัพท์ Output ออกมาอย่างถูกต้อง
3 ส่วนกระทบ Impact เช่น สิ่งแวดล้อม อะไรบ้างที่ทำให้มีผลกระทบ
4 Control Factors มีอะไรบ้าง ทีมงานให้ระดมความคิด (Brainstorm)

ขั้นตอนที่ 2: Structure Analysis
อาหารเป็นสินค้า (Product)
การทำ New FMEA: 
ผู้ส่งมอบ (Supplier) จัดส่งสินค้า Deliver Product 
พิจารณาในขั้นตอนนี้
* System 
* Subsystem 
* Component หรือส่วนประกอบ 
Goal: ตั้งเป้าหรือกำหนดจุดหมายชัดเจน ทำการทบทวนถึงโครงสร้าง (Overview  System Structure of Product)

ขั้นตอนที่ 3: Function Analysis
ดังนั้นในขั้นตอนนี้ ถ้าทำ New FMEA ให้พิจารณา
* ทำการทบทวน Product Function
* Customer Specification Requirements ตรงกับที่ต้องการ
* มองถึง Effect Relation
* คิดลึกๆทีมงาน ก็ Failure ความล้มเหลวจะโผล่หรือไม่ อย่างไร
ฟังค์ชั่นต้องได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
(Efficiency & Efectiveness)

ขั้นตอนที่ 4 Failure Analysis ของการทำ New FMEA:
นำสิ่งที่ระบุ (Identified) จากการวิเคราะห์ฟังค์ชั่นของขั้นตอนที่ 3 นำมาวิเคราะห์ถึงความล้มเหลวทั้ง 
* Failure Effects
* Failure Mode เน้นลึกๆ Potential Failure Mode
* Failure Causes ทำมาให้ครบ จัดทำ List of Failure Causes
ความล้มเหลวที่หามา เริ่มต้องมองถึงค่า S ส่งผลกระทบ ก่อให้เกิดความรุนแรงเพียงใด
กำหนดเกณฑ์ค่า S: จากคะแนน 10 - 1
จะอธิบายต่อเนื่องหรือแทรกข้อมูลให้เข้าใจมากขึ้นต่อไป

ขั้นตอนที่ 5: Risk Analysis
โรงงานเคยทำทั้ง
Current Prevention
พิจารณาค่า O
Current Detection
พิจารณาค่า D


ตอนนี้มีการตั้งเกณฑ์ หรือ Criteria: S, O, D
เปลี่ยนจาก RPN ปรับเป็นค่า AP
กำหนดระดับ หรือ Level  ในแบบฟอร์มจะมีคอลัมพ์ AP 
เพื่อใช้พิจารณา High, Medium, Low 
ยกตัวอย่าง 

AP Very High
ค่า S ช่วง 9-10  ค่า O ช่วง 6-10 ค่า D ช่วง 2-10
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่า Very High
เพราะว่า มองจากความไม่ปลอดภัยในผลิตภัณฑ์
ส่งผลกระทบกับข้อกำหนดของลูกค้า กฎหมาย
การให้น้ำหนักความสำคัญต้องเป็น Very High

AP High
ถ้าเป็น High ไม่ใช่ very High มองอย่างไร
ค่า S ยังช่วง 9-10  ค่า O ต่ำลงอยู่ช่วง 4-5 
ค่า D ช่วงราวๆ 7-10
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่าเป็น  High
เพราะว่า มองจากความไม่ปลอดภัยในผลิตภัณฑ์
ส่งผลกระทบกับข้อกำหนดของลูกค้า กฎหมายแล้ว
แต่โอกาสเกิด O เป็นปานกลาง Moderate Occ.
ค่า D บอกว่าตรวจจับพบก่อนเกิดปัญหากับลูกค้า
High Detection Rating
การให้น้ำหนักความสำคัญต้องเป็น High

AP เป็นระดับปานกลาง Medium มองอย่างไร
ค่า S อยู่ช่วง 5-8  ค่า O อยู่ช่วง 4-5 
ค่า D ช่วงราวๆ 2-4 แสดงว่าการตรวจจับพบลดลง
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่าเป็น  Medium
เพราะว่า มองจากความสูญเสีย Loss การลดหรือความเสื่อม
Degrade ในฟังค์ชั่นเกี่ยวกับพาหนะ (Vihicle Function)
หรือการส่งผลกระทบเกี่ยวกับการผลิต ทำให้ชลอและล่าช้า
(Manuufacturing Disruption)
แต่มองโอกาสเกิด O เป็นปานกลาง Moderate Occ.
ค่า D บอกว่าตรวจจับพบก่อนเกิดปัญหากับลูกค้า
แบบ Low Detection Rating
สรุปการให้น้ำหนักให้มองหลายๆมุมมอง
ดังนั้นความสำคัญให้เป็น AP ปานกลาง Medium

AP Low
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่าเป็น  Low
เพราะว่า มองจากปัญหาความเสี่ยง ลักษณะข้อบกพร่องที่พบต่างๆ
หรือการส่งผลกระทบเกี่ยวกับการผลิต ทำให้ชลอและล่าช้า
(Manuufacturing Disruption) ควบคู่กับโอกาสเกิด O 
เป็นปานกลาง Moderate Occurrence
ค่า D บอกว่าตรวจจับพบก่อนเกิดปัญหากับลูกค้า
แบบ Low Detection Rating
สรุปการให้น้ำหนักให้มองหลายๆมุมมองส่วนใหญ่พบค่าต่างๆว่าต่ำลง
ดังนั้นความสำคัญให้เป็น AP ที่ต่ำหรือ Low
แต่คะแนนมีพิจารณาหลายแบบ 
รายละเอียดให้ศึกษาจาก New FMEA Manual

พิจารณาค่า S ให้เท่ากับ ?
ค่า O มีโอกาสเกิดจริง ?
* ให้คิดถึงว่า ทำไม (Why) จึงพบความล้มเหลว (Failure)
แล้วผลลัพท์ส่งผลหรือสำคัญเพียงใด (Consequenc Effect)

ขั้นตอนที่ 6: Optimization
ค่าที่พิจารณาจากตารางมี H, M, L
ถ้าให้ค่า AP เท่ากับ H = High
จากนั้นไปดำเนินการ ต้องสามารถสร้างความมั่นใจ 
ลดความเสี่ยงและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิผล 
(Reduce Risk and Prevent Effectiveness) ต้องสามารถลด
ความล้มเหลวอย่างเหมาะสมกับสินค้าประเภทอาหาร 

Step 7 Result Documentationจากนั้นให้ระบุ
* Preventive Action ให้ระบุแนวทางให้แข็งแรง ชัดเจน
* Detective Action สามารถตรวจจับได้
* Responsibilty Person ให้ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ ใครบ้าง
* Target Date กำหนดวันชัดเจน เป็น Timing Task จะได้ไม่เลื่อนแล้วก็เลื่อนออกไปเรื่อยๆ ช่วยกันทำงานเป็นทีม (Team Work) 
ลองศึกษาจากคู่มือ หรือทำการทบทวนคู่มือเดิมแล้วปรับปรุง
ทั้งระบุทั้ง Action Taken, Completely Date, อื่นๆ 
จะพบว่าโรงงานผลิตอาหาร มีการนำ Core Tool คือ FMEA มาใช้งานมากขึ้น ลองค้นหาหรือสั่งซื้อ New FMEA First Edition by AIAG & VDA เอกสารมีลิขสิทธิ์ ในไทยมีตัวแทนจำหน่าย ราคาถูกกว่าสั่งซื้อจากต่างประเทศ ข่าวว่ามีแปลด้วย ลองติดต่อไป

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
หลักสูตร FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
    สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
หหลักสูตรการประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
       New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ 
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
หรือรักษาระบบ ISO ชั่วคราว

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

เขียนต่อคราวหน้า .................................................................................................

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com  

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การจัดทำ Primary GMP: Blog 21

บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 0886560247, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859

Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

 In-House Training and Consulting
 ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
 FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
  หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
      สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
 การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
      New FMEA By AIAG & VDA
 AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS/FSSC22000  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

   การเตรียมการของผู้ประกอบการที่จะจัดทำ Primary GMP
   (GMP ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายไทย)
   สามารถทำเองได้ โดยมี 6 เรื่องที่ต้องดำเนินการ
   1.  สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
   2.  เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
   3.  การควบคุมกระบวนการผลิต
   4.  การสุขาภิบาล
   5.  การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
   6.  บุคลากรและผู้ปฏิบัติงาน 

          สร้างสินค้าให้มีมาตรฐานรองรับ ทำให้ดูน่าเชื่อถือเริ่มจาก
               สิ่งที่ต้องแสดงบนฉลาก ดังนี้
         ชื่ออาหาร วัน เดือน ปี ที่ผลิต       
         ส่วนประกอบของอาหาร รุ่นการผลิต
         ปริมาณสุทธิและน้ำหนัก  แหล่งกำเนิด/ผลิต
         วิธีการใช้สินค้า คำแนะนำการเก็บรักษา  
         ชื่อที่อยู่ผู้ผลิต ผู้บรรจุ ผู้จัดจำหน่าย 
         รายละเอียดของฉลาก ก็ให้ตรวจสอบและสอบถามไปที่
         กระทรวงสาธารณสุข หรือที่ สำนักงานคณะกรรมการ
         อาหารและยา เรียกสั้นๆว่า  อย.

      ชุดทำงานหรือยูนิฟอร์มของพนักงาน ควรจะ
   1  ทำด้วยวัสดุที่อากาศถ่ายเทได้ดี
   2  เสื้อผ้าสีอ่อน ไม่ควรมีกระเป๋าเสื้อ
   3  ซักล้างและทำความสะอาดง่าย
   4  ชุดสวมใส่รัดกุมและไม่ควรสวมชุดฟอร์มมาจากบ้าน หากทำได้  
   ถือว่าดี เพราะการเดินทางย่อมมีโอกาสทำให้ชุดเสื้อผ้าเกิดการปน 
   เปื้อนจากที่สาธารณะได้

ข้อมูลจาก อย. บัญชีหมายเลข 1 เป็นบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2555 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย จะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องคำนึงทั้ง 6 ข้อกำหนด มีรายละเอียดอะไรบ้าง สามารถขอรับหนังสือนี้ได้จาก อย. (จะทยอยนำมาลงให้ศึกษา เพื่อผุ้ประกอบการ ไม่เฉพาะ OTOP แต่ผู้ที่เข้าข่าย ผู้ที่ผลิตสินค้าแปรรูปพร้อมจำหน่ายอื่นๆต้องนำไปปฏิบัติ ตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 342 พ.ศ.2552 เรื่องวิธีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 343 พ.ศ.2555 เรื่องฉลาก (ฉบับที่ 3) 
3 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฉบับที่ 342 พ.ศ.2555 เรื่องวิธีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
4 ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเลขสาระบบอาหาร ฉบับที่ 4
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเลขสาระบบอาหาร ฉบับที่ 5

หมายเหตุ ไปดูประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง Primary GMP
ทางสำนักอาหาร มีแจ้งหัวข้อที่ต้องปฏิบัติ เกณฑ์การตรวจที่ให้คะแนนเป็น 2, 1, 0 โดยแต่ละเรื่องต้องมีอะไร ทำอย่างไรให้สอดคล้องกับประกาศฯ

ต้องไปเตรียมความพร้อมตามหัวข้อต่างๆ  ทำเองได้ไม่ยาก
หัวข้อที่ 1: สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
1.1  สถานที่ตั้ง ตัวอาคารและที่ใกล้เคียง:
ทั้งตัวอาคารและบริเวณใกล้เคียง ต้องไม่อยู่ในที่ ก่อให้เกิดการปนเปื้อน เช่นใกล้คอกปศุสัตว์ของข้างบ้าน ของบ้านท่านเองที่ทำเป็นสถานที่ผลิตต้องไม่มีโรงเลี้ยงสัตว์ เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการปนเปื้อนลงไปในอาหารแปรรูปได้
สิ่งที่จะถูกตรวจ และท่านต้องดำเนินการ ขจัดออกไป เช่น
1  ไม่มีการสะสมสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
    การจัดการกับของเหล่านี้ คือ ขายเป็นของเก่าไป หรือให้ซาเล้งเอา
    ไปรับรองวันเดียวเคลีย์หมด เก็บสิ่งของไม่ใช้ไว้ ก็เป็นขยะใน 
     อนาคต เป็นที่หลบซ่อนของหนู หรือน้องหนู (เรื่องหลังต้องเคลีย์
    กันเอง) และแมลงสาบ แมลงวัน หัวข้อนี้จัดการง่าย
2  ไม่มีการสะสมสิ่งปฏิกูล
    ปรับปรุงให้ดูดี อย่าให้ส่งกลิ่นเหม็น ก็ทำคู่กับการสุขาภิบาล มีทำ
    ท่อระบายน้ำทิ้ง น้ำเสียลงบ่อพัก ห้องน้ำมีห้องสุขาสะอาด ถึงเวลา
    ก็ให้ อบต. หรือเทศบาลนำรถมาดูดสิ่งปฏิกูลทิ้ง
3  ไม่มีฝุ่นควันมากผิดปกติ
    ไปดูว่าแหล่งควันมาจากสิ่งใด ก็ไปลด แก้ไข หรือปรับเปลี่ยนเป็น
    ประเภทอื่นที่ลดต้นต่อของควัน

4  ไม่มีวัตถุอันตราย 
     สารเคมีอันตรายต้องแยกออกไป สารเคมีทุกบรรจุภัณฑ์ต้องไม่แตก รั่ว มีระบุ หรือป้ายชี้บ่งชัดเจน

5  ไม่มีคอกปศุสัตว์หรือสถานเลี้ยงสัตว์
    หมายความว่า มีคอกสัตว์ มีสัตว์เลี้ยง ไม่ได้ ต้องแยกออกไปชัดเจน ควรห่างไกลแค่ไหน ก็ต้องมั่นใจไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนมาจากสัตว์ มูลสัตว์ พูดง่ายๆ ไม่มีคอกสัตว์ ไม่มีสัตว์เลี้ยง จึงจะได้ประกาศนียบัตร จีเอ็ม พี ขั้นต้น
6  ไม่มีน้ำขังและสกปรก
7  มีท่อหรือทางระบายน้ำนอกอาคารเพื่อระบายน้ำทิ้ง

1.2  อาคารผลิตหรือบริเวณผลิต:
1.2.1  สะอาด ถูกสุขลักษณะ เป็นระเบียบและไม่มีสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
1.2.2  มีการแยกบริเวณผลิตอาหารออกเป็นสัดส่วนจากที่พักอาศัยและผลิตภัณฑ์อื่นๆ อธิบายเพิ่มเติม คือกั้นห้องให้ชัดเจน ห้องเก็บวัตถุดิบ ห้องเก็บสินค้าอาหาร ห้องพักอาศัยก็ควรแยกออกไป ไม่อยู่ในอาคารผลิตได้ยิ่งดี
1.2.3  มีแสงสว่างเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน จะสว่างแค่ไหน คงไม่มีเครื่องวัดแสงไปใช้วัดจริง (ที่จริงมีเครื่องมือวัดค่าได้ แต่กลุ่ม OTOP หรือกลุ่มผลิตอื่นๆรายเล็ก อาจไม่สะดวก) ให้พิจารณาว่า สว่างดีพอ ไม่ปวดสายตา มองเห็นอักษรบนบรรจุภัณฑ์ หรือมองเห็นสีเนื้ออาหารได้ชัด ก็ถือว่ารับได้
1.2.4  มีการระบายอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน
1.2.5  มีท่อหรือทางระบายน้ำทิ้ง
1.2.6  สามารถป้องกันสัตว์และแมลงเข้าสู่อาคารหรือบริเวณผลิต หรือสัมผัสอาหาร พูดง่ายๆคือห้ามมีแมลงลงไปในอาหาร ตามต่างจังหวัดนอกจากแมลงสาบ แมลงวัน หนูแล้ว จะพบว่าบางช่วงของฤดูจะมีแมลงชนิดอื่นๆและนกเข้ามาบุกรุกมากมาย ช่วงค่ำๆบอกได้ว่าเปิดไฟฟ้าไม่ได้ กองทัพแมลงบุกทันที ทางแก้ไขก็กั้นและติดมุ้งลวด หรือทำงานเฉพาะกะกลางวัน

2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
2.1  ง่ายแก่การทำความสะอาด
2.2  ทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ทนต่อการกัดกร่อน สภาพสะอาด
2.3  พื้นผิวหรือโต๊ะปฏิบัติงานที่สัมผัสกับอาหาร ทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ทนต่อการกัดกร่อน และสูงจากพื้นหรือมีมาตรการอื่นตามความเหมาะสม
2.4  ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ทำความสะอาดง่าย
หมายเหตุ ท่านสามารถศึกษาจากคู่มือ สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่เรารู้จักมักคุ้น เรียกสั้นๆว่า อย.
3 การควบคุมกระบวนการผลิต
3.1  วัตถุดิบ ส่วนผสมต่างๆและภาชนะบรรจุ
3.1.1  มีการคัดเลือก
3.1.2  มีการล้างทำความสะอาดง่ายเหมาะสมในบางประเภทที่จำเป็น
3.1.3  มีการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม
เจ้าหน้าที่จาก อย. หรือต่างจังหวัดก็เป็นเจ้าหน้าที่จากสาธารณสุข ที่มาตรวจประเมินหรือตรวจสอบ ผู้เขียนว่าน่าจะเรียกตรวจประเมินแบบ ISO เพราะต้องพิจารณาว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ ตามแนวทางของ อย. ในข้อนี้ คือ
วัตถุดิบ ส่วนผสมต่างๆในอาหาร ต้องมีการดูแลรักษาที่ดี ไม่มีการปนเปื้อนทั้งด้านกายภาพ ไม่ปนเปื้อนสารเคมี ไม่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ต่างๆ 
โดยผู้ผลิตอาหารหรือของฝากที่ใช้รับประทานจากกลุ่ม OTOP ควรแยกเป็นสัดส่วนชัดเจน ไม่ปะปนกัน มีป้ายหรือสติีกเกอร์ชี้บ่งและบอกว่าคือวัตถุดิบ หรือส่วนผสมประเภทใด รับเข้ามาวันที่เท่าไร ผู้ผลิตต้องเก็บรักษาให้เสื่อมสลายน้อยที่สุด แต่ต้องไม่หมดอายุการจัดเก็บด้วย (Shelf life) รวมทั้งสภาพบรรจุภัณฑ์ดี ปิดสนิท ไม่แตก ไม่ปริ ไม่รั่วซึม ที่สำคัญ ควรให้มีการนำไปใช้แบบหมุนเวียน ที่สั่งเข้ามาก่อน ก็นำไปผลิตก่อน ตามโรงงานมักเรียกว่า FIFO (First In First Out)



3.1.4  มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามที่กฎหมายกำหนด

3.2  ในระหว่างการผลิตอาหาร มีการดำเนินการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ ในลักษณะที่ไม่เกิดการปนเปื้อน

3.3  มีการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสม


3.4  น้ำสัมผัสกับอาหารในกระบวนการผลิต
3.4.1  มีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
3.4.2  มีการขนย้าย การเก็บรักษา การนำไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ

3.5  น้ำแข็งที่สัมผัสกับอาหารในกระบวนการผลิต
3.5.1  มีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
3.5.2  มีการขนย้าย การเก็บรักษา การนำไปใช้ในสภาพทีถูกสุขลักษณะ

3.6  ผลิตภัณฑ์
3.6.1  มีการคัดแยกหรือทำลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม แบ่งพื้นที่ให้ชัดเจน ติดป้าย ชี้บ่งได้ยิ่งชัดเจน
3.6.2  มีการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม และขนส่งในลักษณะทีป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมสลายของอาหารหรือสินค้า และต้องระวังเรื่องการปนเปื้อนจากสารเคมีในอาหาร เนื่องจากหลักการของ Primary GMP ยังคงเน้น การลดและขจัดจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคทางอาหารไม่ปลอดภัย ป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร รวมทั้งการปนเปื้อนข้าม หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Cross Contamination คงไม่ได้เน้นด้านภาษาอังกฤษ แต่รู้ไว้ก็ดี เพราะจะเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยนแล้ว ส่วนภาษาพม่า ลาว เขมร เวียดนาม พวกท่านก็มีแรงงานเหล่านี้อยู่แล้ว ระยะยาวก็จะเข้าใจ อย่างคุณแม่ผู้เขียนสามารถพูดภาษาลาวได้ เพราะว่าเมื่อห้าสิบปีที่แล้วเคยไปทำมาหากินกับคุณพ่อ ที่แขวงสะหวันนาเขต ก็ฝั่งตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหาร ทำไปทำมาฝึกพูดวันละเล็กละน้อย สามารถพูดได้ระดับล่ามเลยเชี่ยว

4  การสุขาภิบาล
ดูแลให้ถูกหลักสุขาภิบาล มีท่อระบายน้ำเสียออกจากตัวบ้านไปสู่ท่อระบายด้านนอก เพราะมักใช้บ้านพักอาศัยเป็นสถานที่ประกอบการด้านอาหาร ควบคุมเรื่องสัตว์พาหะด้วยจะดีมากแม้ไม่มีการระบุให้ต้องทำอย่างโรงงานผลิตอาหารที่ต้องทำมาตรฐาน GMP
สิ่งที่ต้องรีบดำเนินการคือ

4.1 น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำที่สะอาดทั้งในการผลิต การล้างภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งใช้ทั่วไป
4.2 มีวิธีการกำจัดขยะ มีถังขยะพร้อมฝาปิดมิดชิดที่เพียงพอ ไม่ให้นก หนู และสัตว์ต่างๆมาคุ้ยเขี่ย และตั้งในที่เหมาะสม ขนถ่ายออกไปในเวลาและความถี่ที่เหมาะสม ไม่ให้เกิดการหมักหมม ใน Primary GMP ไม่ได้ระบุเกี่ยวกับการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค หรือสัตว์รบกวน
แต่ห้องที่ผลิต ก็ให้มีการติดตั้งมุ้งลวด เพื่อการป้องกันแมลงเข้าไปปะปนในอาหาร
4.3 ให้มีการจัดการกับน้ำทิ้งและสิ่งสกปรก น้ำทิ้งสามารถระบายออกได้ ไม่อุดตัน และท่วมขังเอ่อล้น ไม่มีการระบาย
4.4 ห้องสุขาและอ่างล้างมือ
4.4.1 ห้องสุขาหรือห้องน้ำจัดทำแยกห่างออกเป็นสัดส่วนชัดเจน แยกจากการผลิต ไม่เปิดตรงเข้าสู่พื้นที่การผลิต
4.4.2 ห้องสุขาต้องสะอาดพร้อมใช้งาน
4.4.3 ห้องสุขามีจำนวนเพียงพอกับจำนวนพนักงาน หรือลูกจ้าง
4.4.4 มีอ่างล้างมือพร้อมสบู่ น้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างเพียงพอและมีอุปกรณ์ทำให้มือแห้ง หากไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าว ให้มีกระดาษทิชชูใช้แทน และถังทิ้งกระดาษให้เรียบร้อย
4.4.5 อุปกรณ์ต่างๆสะอาดและอ่างล้างมือมีสภาพพร้อมใช้งาน
4.4.6 จำนวนอ่างล้างมือมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนพนักงาน
4.5 เรื่องอ่างล้างมือ
ชาวบ้านอย่างเราๆ หรือผู้ผลิตที่ทำของขนม อาหารเป็นฝากของขายแบบหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มักดัดแปลงบ้านที่อยู่อาศัย ให้กลายเป็นสถานที่ผลิตอาหารด้วย พื้นที่ต่างๆรอบบ้าน รวมทั้งพื้นที่ที่ใช้ผลิตโดยตรง ควรปฎิบัติ ดังนี้
4.5.1 เตรียมน้ำยาล้างมือ หากเป็นสบู่ควรใช้สบู่เหลวไว้ที่อ่างล้างมือ
4.5.2 อ่างล้างมือต้องดูแลดี สะอาด หากจะทำแบบโรงงานผลิตอาหารที่ทำทาตรฐาน GMP ได้ยิ่งดี คือ ไม่ใช้มือเปิดก๊อกน้ำ ออกแบบโดยใช้เท้าเหยียบให้น้ำไหล สามารถล้างมือได้สะอาดหมดจดโดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสกับก๊อกน้ำ แต่ใน Primary GMP หรือ จีเอ็ม พี ขั้นพื้นฐานไม่ได้กำหนดตายตัว เผื่ออนาคตผู้ตรวจประเมิน อาจเพิ่มมุมมองให้มีการยกระดับกลุ่มท่านเทียบเท่าโรงงานทั่วไป
4.5.3 จำนวนอ่างล้างมือ ควรมีจำนวนเพียงพอต่อการใช้งานให้ดีจำนวนคนงานเป็นตัวกำหนด
4.5.4 อ่างล้างมือที่ใช้ทำความสะอาด ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม สะดวกต่อการใช้งาน



5 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
5.1 มีการทำความสะอาดอาคาร สถานที่ผลิตอาหารอย่างต่อเนื่อง
5.2 มีการทำความสะอาดเครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
5.3 มีการจัดเก็บสารเคมีทุกประเภทอย่างดี มีป้ายระบุและชี้บ่งชัดเจน ปลอดภัยด้านการผลิตอาหาร 



6 บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
ยังไม่ระบุเรื่องการอบรม การสวมถุงมือ หากทำได้แบบมาตรฐาน GMP ย่อมดีแน่นอน ยกระดับคุณภาพพนักงาน ทำให้เข้าใจวิธีการทำงาน ให้ติดป้ายเตือนในบริเวณผลิตอาหาร เช่น ไม่แสดงพฤติกรรมน่ารังเกียจ ห้ามใช้มือคุ้ย แคะ แกะเกา นำมาซึ่งการปนเปื้อนด้านอาหารไม่ปลอดภัย เพราะพนักงานเหล่านี้มีโอกาสสัมผัสกับอาหารทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
6.1 พนักงานที่ผลิตอาหาร ต้องไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคติดต่อที่สามารถปนเปื้อนเข้าสู่อาหาร ควรสังเกตุสุขภาพพนักงาน หากพบว่าป่วย ท้องเสีย ไอ เจ็บคอ ควรให้หยุดงาน หรือพักงานไว้จนกว่าจะหายป่วย
6.2 พนักงานที่ผลิตหรือสัมผัสอาหารโดยตรง ต้องปฏิบัติ เช่น
6.2.1 แต่งกายสะอาด ใส่เอี๊ยม หรือผ้ากันเปื้อน ใช้ผ้าปิดปากและจมูกด้วยยิ่งดี 
6.2.2 ใส่ร้องเท้าที่สะอาด จัดเป็นระเบียบในพื้นที่ผลิต ควรมีการเปลี่ยนร้องเท้าที่ใช้ภายใน แยกออกชัดเจนกับร้องเท้าคู่ที่ใส่ออกไปข้างนอกบ้าน
6.2.3 ไม่สวมใส่เครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไรมือ นาฬิกาข้อมือ รวมทั้งไม่ห้อยพวงกุญแจที่คอและเอว เพราะมีโอกาสตกหล่น และปะปนไปกับอาหาร
6.2.4 ไม่ใช้เครื่องน้ำหอม เพราะกลิ่นจะซึมซับเข้าไปในอาหาร พนักงานต้องไม่ทาเล็บ ทาปาก รวมทั้งมือและเล็บมือต้องสะอาด ตัดให้สั้นได้ยิ่งดีที่สุด
6.2.5 ให้พนักงานสวมหมวก และรวบผมให้เส้นผมอยู่ภายในตาข่ายของหมวก หากลูกค้า ซื้ออาหารคุณไป ขณะรับประทานพบเส้นผม ลูกค้าจะรู้สึกอย่างไร และเส้นผม สามารถเป็นส่วนที่ก่อให้มีเชื้อโรค เชื้อราในอาหารได้



ในหกเรื่องที่อธิบายมา ผู้ประกอบการต้องมีการทำงานให้มีประสิทธิผล ต้องจัดทำคู่มือการทำงานหรือจะเรียกโปรแกรมพื้นฐานก็ได้ยกตัวอย่าง ดังนี้


โปรแกรมพื้นฐานเกี่ยวกับการควบคุมสารเคมี เนื้อหาหลักๆ เช่น
         1วัตถุประสงค์ (Purpose)
         เพื่อกำหนดวิธีการใช้งานและควบคุมสารเคมีอย่างถูกวิธีการและปลอดภัย 
2 ขอบข่าย (Scope)
      ครอบคลุมการใช้สารเคมีทุกประเภท ที่ผู้ใช้จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้
3 นิยาม (Definition)
MSDS    หมายถึง  Material Safety Data Sheet
  4 เอกสารอ้างอิง (Refer document)                                        
5. ระเบียบปฏิบัติ
5.1 การสั่งซื้อสารเคมีเข้ามา
       5.1.1 แผนก......(ที่ขอซื้อ/ขอใช้). ที่ต้องการใช้สารเคมี ทำเรื่องขอซื้้อ สาร 
               เคมี
5.1.2 แผนกจัดซื้อ รวบรวมรายการสารเคมีทั้งใหม่และเก่าที่ได้รับการอนุมัติและติดต่อกับผู้ขาย (Suppliers) ที่อยู่ใน ASL
5.1.3  จากนั้นแจ้งให้ Supplier จัดหาเอกสาร MSDS ตามรายการสารเคมีที่สั่งซื้อ
5.1.4 แผนกจัดซื้อ จัดส่งเอกสารรายการสารเคมีพร้อมเอกสาร MSDS ให้แผนก…(ที่ขอซื้อ/ขอใช้).... เพื่อจัดทำ คู่มือการใช้สารเคมีให้ถูกวิธี
5.2 การจัดเก็บ การดูแลและรักษาสารเคมี
5.2.1 แผนกจัดซื้อ / หน่วยงานรับสินค้า และแผนกที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสภาพภาชนะบรรจุให้อยู่ในสภาพที่พร้อม และปิดมิดชิดก่อนรับเข้าคลังสินค้า
5.2.2 บริเวณหรือ พื้นที่จัดเก็บสารเคมีต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกและมีอุณหภูมิที่เหมาะสม และตรวจสภาพภาชนะบรรจุสารเคมีอย่างสม่ำเสมอ โดยต้องปฏิบัติดังนี้
ภาชะที่ใส่สารเคมีจะต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แตก หกและรั่วซึม
มีการชี้บ่งแสดงกำกับชื่อสารเคมีที่ภาชนะอย่างชัดเจน
3มีการปิดฝาสนิทุกครั้งหลังการใช้งาน
มีเอกสาร MSDS อยู่บริเวณหน้างาน และสะดวกต่อการใช้งานหรือเกิดเหตุสัมผัสผิวหนัง สายตา
5.2.3 พื้นที่และสถานที่จัดเก็บสารเคมี มีการจัดเก็บสารเคมีอย่างปลอดภัยหรือตรงกับการแนะนำที่กำหนดไว้
        มีป้ายแสดงว่าสารเคมีอันตราย ไวไฟ หรือ เป็นพิษ เป็นต้น
5.2.4 หัวหน้างานหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการประเมินผลการจัดเก็บสารเคมี เดือนละ 1 ครั้ง ในแบบฟอร์มบันทึกการตรวจสภาพการจัดเก็บและรักษาสารเคมี
5.3 การเคลื่อนย้ายสารเคมี
5.3.1 วิธีการเคลื่อนย้ายสารเคมี ให้กำหนดผู้รับผิดชอบของแต่ละแผนกที่มีการใช้สารเคมี และให้ปฏิบัติตามคู่มือการใช้สารเคมี
         หรือ MSDS
5.3.2 การเคลื่อนย้ายสารเคมีต้องทำการเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวังด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม และใช้ภาชนะที่แข็งแรง เหมาะสม ปลอดภัย  และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันการเสียหายของภาชนะและสารเคมีหกรั่วไหล หรือฟุ้งกระจาย หรือแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น
5.4 การควบคุมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมี
5.4.1 วิธีการเบิกและจ่ายสารเคมี ให้กำหนดโดยผู้รับผิดชอบของแต่ละแผนก 
5.4.2  ทุกครั้งที่ทำงานกับสารเคมีจะต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามที่กำหนด เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารเคมี
5.4.3 บริเวณที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีจะต้องมีการจัดทำระบบระบายอากาศ  เช่น ระบบดูดควันและไอระเหย  และตรวจสอบตามความถี่ที่กำหนด
5.4.4  พนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเบิกและจ่าย สารเคมี จัดทำรายการบันทึกการเบิกและการจ่าย เกี่ยวกับการใช้สารเคมี
5.4.5  ผู้ที่ถูกมอบหมายหรือโยกย้ายมาปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมี ต้องได้รับการฝึกอบรมจนมั่นใจว่าปฏิบัติงานด้านสารเคมีอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
การจัดทำก็ทำในรูปแบบเอกสารใช้กระดาษ A4 ทำรูปแบบให้ดูมาตรฐาน
ทำอย่างไรจะทยิยอธิบายต่อไป



เขียนต่อคราวหน้า............


C      Codex มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์หลักเกณฑ์ทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร
2. ขอบข่าย การใช้ และนิยามศัพท์
3.  การผลิตขั้นต้น
4.  สถานที่ประกอบการ  - การออกแบบ  และสิ่งอำนวยความสะดวก
5.  การควบคุมการปฏิบัติงาน
6.  สถานที่ประกอบการ :   การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล
7.  สถานที่ประกอบการ :   สุขลักษณะส่วนบุคคล
8.  การขนส่ง
9.  ข้อมูลผลิตภัณฑ์ และ การสร้างความเข้าใจต่อผู้บริโภค
10.การฝึกอบรม