วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

BRC Global Standard: FOOD : Blog 8

Blog 8
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 0886560247, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
หลักสูตร FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
    สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
    หลักสูตรการประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
     New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ 
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
หรือรักษาระบบ ISO ชั่วคราว


สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
    823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GHP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018

BRC เป็นมาตรฐานที่เกิดจาก สมาคมผู้ค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร ที่รวมกลุ่มกันจากบรรดาองค์กรธุรกิจจากกลุ่มต่างๆ เช่น Tesco,  Asda Store, Sainsbury’s, Iceland Foods และกลุ่มอื่นๆ


ส่งออกด้านอาหาร เหมือนนกบินหลา จะเหินหรือจะร่วงมีโอกาสทั้งนั้น







Blog ที่ 8 :
อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปที่ส่งออกมากที่สุดสามลำดับแรกของไทย มีปลาทูน่า ไก่ และกุ้ง
โดยวันที่ 1 กรกฎาคม 2012  EU ยกเลิกการนำเข้าเนื้อไก่จากไทย ผู้ประกอบการเริ่มผลิตล๊อตตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคมนี้ จึงจะสามารถส่งออกได้ เร็วๆนี้ ประเทศญี่ปุ่นก็ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่สดจากไทย หลังจากนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีของผู้ส่งออกอาหารประเภทนี้

การผลิตอาหารต้องเน้นความสะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัย ไม่มีการปนเปื้อนและต้องปลอดจากเชื้อโรค บางประเทศมีข้อกำหนดต้องลดการปนเปื้อนให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเป็นไปตามกฎหมายอาหารของแต่ละประเทศ ซึ่งมีเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในอาหารต่อผู้บริโภค (Consumers)

อีกเหตุผลหนึ่งที่หลายๆโรงงานเริ่มการจัดทำมาตรฐาน BRC คือการลดการซ้ำซ้อนจากการตรวจประเมิน ที่ต้องส่งสินค้าให้กับองค์กรค้าปลีกในสหราชอาณาจักร หมายความว่า มี BRC ลูกค้าจะยอมรับมากขึ้น และใช้เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการคัดเลือกนั่นเอง

หรือที่ส่งออกให้องค์กรค้าปลีกของเยอรมัน ฝรั่งเศสและอิตาลี ต้องได้รับรอง IFS ก็เหตุผลคล้ายคลึงกัน ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ต้องมี SQF โดยมาตรฐานเหล่านี้ออกโดยสมาคมผู้ค้าปลีกจากประเทศกลุ่มนั้นๆ ซึ่งผู้ส่งออกจากไทยเรา ต้องปรับตัวและจัดทำให้ได้ตามที่ลูกค้ากำหนด 

วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน BRC คือมีการระบุข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และคุณภาพที่ต้องมีการปฎิบัติและจัดทำให้สอดคล้องกับข้อกำหนด ได้รับการตรวจประเมินโดยบุคคลที่สามหมายถึง CB นั่นเอง เพื่อตรวจประเมินสถานประกอบการว่าปฎิบัติได้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน BRC

มาตรฐาน BRC กำหนดแนวทางว่าต้องปฎิบัติให้สอดคล้องกับกฏหมาย ที่ซึ่งรวมถึงระบบคุณภาพ HACCP  มีมาตรฐานในการควบคุมสภาพแวดล้อมของโรงงาน สถานประกอบการ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และพนักงานหรือบุคลากรขององค์กร  

สัปดาห์แล้วผู้เขียนไปสัมมนาและได้ฟังอาจารย์ สุทธิดา สินสุวรรณ พูดถึง BRC มีความเข้มงวดมาก ตรวจติดตามผลทุกหกเดือน เอกสารต้องจัดเก็บต่ออีกหนึ่งปีครึ่งหลังครบอายุการจัดเก็บ ไว้มีเวลาจะสอบถามและขอความรู้จากอาจารย์มาลงบทความให้ ลืมบอกไปอาจารย์เป็นวิทยากรและ Lead Auditor ที่ Moody International (Thailand) Ltd. มีสรุปกฎหมายจาก อย. ไว้จะขออนุญาตอาจารย์นำมาลงให้ศึกษา น่าจะห้าร้อยกว่าหน้ามั๊งๆๆๆ (ยังไม่ได้ดูรายละเอียดให้ครบถ้วน) ส่วนการติดต่อเพื่อ Up Date กฎหมาย มีคุณปาลิดา ทีผู้เขียนมักเรียกว่า แม่หญิงปาลิดา แห่งบริษัท ซีฟู๊ดแห่งหนึ่ง (แม่หญิง แห่งขุนศึกช่อง 3) ผู้เขียนต้องขอขอบน้ำใจแม่หญิงปาลิดา ที่ให้ข้อมูลมามาก เสียดายอ้ายสุนทรคนนี้ ไม่ใช่พี่เสมา แต่ความมีน้ำใจของแม่หญิงต้องขอขอบน้ำใจและจดจำไว้ ช่วงสัมมนา ISO22000 หากมีอะไรล่วงเกินในคำพูด ต้องขอขมาแม่หญิงอีกครั้ง ตอนนี้จะรีบไปตีเมืองแปร แต่ก่อนอื่น จะทยอยนำเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายอาหารมาลงบทความเพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร เริ่มตั้งแต่การสมัครเมล์ Alert ที่เวบต่างๆ จักได้ทราบวิธีการ Up Date ข้อมูลใหม่ๆด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร และผู้ส่งออกต้องรู้และปฎิบัติตามของลูกค้าแต่ละประเทศ เวบที่ต้องรู้ เช่น
http://newsser.fda moph.go.th/fastfrontend/theme 1/index.php?Submit=Clear & Lang=0
http://ec.europa.eu/food/food/rapidalert/index en htm
http://fda.gov/safety/Recalls/Archive Recall/default.htm
กรจัดทำ BRC สำหรับโรงงานอาหารที่มีมาตรฐาน GMP หรือมีระบบคุณภาพ HACCP แล้วจะง่ายขึ้น 
BRC เริ่มจากปี 1998, 2003, 2005(Issue4), 2008 (Issue5), 2011 (Issue6)
BRC ปัจจุบันคือ Issue 6 เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2012 สำหรับใบรับรอง (Certificate)
ตาม Issue 6 สำหรับ Food
* ต้องตรวจประเมินทุก 1 ปี เพราะใบ Certificate มีอายุเพียง 1 ปี
* หากตรวจประเมินแล้วพบสิ่งที่ไม่สอดคล้องที่มีผลกับระบบคุณภาพ แต่ไม่ร้ายแรง (Minor) ให้การรับรองได้
* หากพบ Critical หรือ Major ไม่ผ่าน ต้องมีการตรวจติดตามอีกครั้งภายใน 6 เดือน
* Critical หมายถึง สิ่งที่ไม่สอดคล้องอย่างรุนแรงกับความปลอดภัยอาหาร หรือไม่ถูกกฏหมาย
* Major หมายถึง พบสิ่งไม่สอดคล้องกับ Statement of Intent หรือข้อกำหนด (Clause) ซึ่งเกิดความล้มเหลวที่มีผลกระทบมากนั่นเอง
* Minor หมายถึง ไม่ปฎิบัติให้ครบถ้วนตามข้อกำหนด แต่มีหลักฐานว่าสิ่งที่ปฎิบัติยังคงมีความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ ต้องเน้นเรื่อง Food Safety หรือ ความปลอดภัยอาหาร
* การตรวจประเมินมีให้เกรดแบบ A/A+, B/B+, C/C+  
* เอกสารที่ครบอายุการจัดเก็บต้องจัดเก็บต่ออีกตามเงื่อนไข ยังทำลายไม่ได้ เพราะอาจต้องมีการนำข้อมูล เช่น เมื่อเกิดลูกค้าเคลม เพื่อมาสอบกลับ สามารถค้นหาได้ภายใน 4 ชั่วโมง
* ขอรับรองได้ต้องมีการผลิต หรือบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจริง ฉะนั้นประเภทเทรดดิ้ง หรือซื้อมาและขายไป ยื่นขอรับรอง BRC ไม่ได้
* ใบ Certificate ที่ให้การรับรองมีอายุ 1 ปี และต้องตรวจประเมินใหม่ก่อนวันที่หมดอายุในใบ Certificate ช่วงที่มีการประชุมเปิด ผู้จัดการที่รับผิดชอบกระบวนการผลิต ต้องเข้าประชุมเปิดด้วย ไม่คอขาดบาดตาย ก็อย่าโดดการประชุม มาตรฐานนี้กำหนดไว้ อาจส่งผลได้ เพราะคุณคือ กระบวนการสำคัญ หากไม่อยู่ จะคุยกับใครไม่รู้เรื่อง เอาอย่างรายการทไวท์ไลท์โชว์ของพิธีกรไตรภพ ช่อง 3 ทุกวันจันทร์ ถ้าไม่ดู (อยู่) พรุ่งนี้คุณจะคุยกับใครไม่รู้เรื่อง โดยเฉพาะ MD ของคุณ
* BRC มีตรวจรับรองในด้าน Packaging ของ Issue 4
* การตรวจสอบมีแบบสีเขียว ตรวจทีเดียวทั้งหมดไปทางเอกสาร (จะอธิบายตอนเขียนเรื่อง Check List)
* หรือแบบสีส้ม เป็นการแยกตรวจจากสีเขียว ชีวิตจริงอาจตรวจควบกันไป เพราะสีส้มระบุเป็นตรวจ On Site 
* การตรวจมีแบบไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก็ได้ (ข้อนี้ผู้เขียนว่า ส่วนใหญ่ผู้ตรวจประเมินมักแจ้ง แต่อาจแจ้งกะชันชิดดีกว่า เพราะบางครั้งไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ความไม่สะดวกมีมากมาย แต่เมื่อข้อกำหนดบังคับ ไม่แจ้งล่วงหน้าก็ดี ไปแล้วจะได้เห็นชีวิตจริงของโรงงาน แบบว่าปลูกผักชีไม่ทัน)

หัวข้อนี้ ผู้เขียนมักย้ำว่าโรงงานต้องทำให้เป็นมาตรฐาน มาตรวจเมื่อไรเราก็พร้อม ทำให้ต่อเนื่อง ครั้งหนึ่งน้องๆ เคยพูดว่าคนไทยชอบปลูกผักชี แต่ญี่ปุ่นทำจริงจัง ผู้เขียนยอมรับว่าจริง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะผู้เขียนเคยพบว่ามีเหมือนกันที่แอบปลูกผักชี แถมปลูกแล้ว ลองไปดูในห้างขายผัก จะพบว่าผักชีญี่ปุ่นต้นใหญ่กว่าผักชีไทยมาก เรียกว่าเกินกว่าสิบเท่า น้องคนนั้นเห็นแล้วหัวเราะก๊ากกกกก ว่าพี่ๆพวกญี่ปุ่นในโรงงานก็ปลูกผักชีเป็น แถมปลูกเก่งกว่าพนักงานไทย เนียนมาก ผู้เขียนบอกว่า ใครจะปลูกอะไร อย่าไปสนใจ กลับไปทำ ISO ดีกว่า ส่วนผู้เขียนจะไปซื้อสาคูไส้หมูและปากหม้อ จะได้รับประทานกับผักชีฝอยซะที อร่อยกว่าเยอะ นึกขึ้นมาก็อยากเอาผักชีญี่ปุ่นมากินกับสาคูบ้างว่ารสชาติจะออกมาอย่างไร
BRC ด้าน Food Issue 6 ประกอบด้วย 7 Requirements  ดังนี้
1. Senior Management Commitment
2. The Food Safety Plan :ระบบ HACCP (HACCP system)
3. Food Safety and Quality Management System: 

   ระบบการบริหารคุณภาพ (Quality Management System)
4. Site Standard: 

    เกี่ยวกับมาตรฐานด้านสภาพแวดล้อมของโรงงาน (Factory Environment Standards) 
    หรือ GMP หรือ PRPs (Prerequisite Programmes)
5. การควบคุมผลิตภัณฑ์ (Product Control)
6. การควบคุมกระบวนการ (Process Control)
7. เกี่ยวกับบุคคล หรือพนักงาน (Personnel)


BRC ของ Issue 6 ที่แตกต่างและเพิ่มจาก Issue 5 คือ
ประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า Fundamenal Requirements โดยแยกออกเป็นข้อที่ต้องปฎิบัติ
หรือ Clause ดังนี้
Clause 1.1 
Senior Management Commitment and Continual Improvement 
Clause 2
The Food Safety Plan, HACCP


ผู้เขียน จะย้ายเรื่อง BRC Issue 6 และ BRC Iop Issue 4 สำหรับงานบรรจุภัณฑ์ (บทความใหม่) ไปเขียนที่ Blog ที่ 17, 18 เพราะว่า บล๊อคนี้มักจะแฮ๊งค์บ่อย จะหาเวลามาลงบทความอย่างละเอียดให้ต่อไป ขอขอบคุณที่ติดตามนะครับ

Clause 3.4  Internal Audit

Clause 3.7  Corrective Action

Clause 3.9  Traceability

Clause 4.3  Layout, Product Flow ans Gegregation

Clause 4.11 Housekeeping and Hygiene

Clause 5.2  Management of Allergens

Clause 6.1  Control of Operation

Clause 7.1  Training

ผู้เขียน จะอธิบายเกี่ยวกับ Clause อีกครั้ง

ระบบคุณภาพ ตามที่ Codex กำหนด โดยโรงงานต้องแต่งตั้งทีมงาน HACCP ทำการวิเคราะห์อันตราย จากนั้นกำหนดจุดวิกฤต กำหนดค่า Critical Limit (CL) เหมือนที่เราทำ HACCP มาก่อน โดย 7 หลักการ (Principle) 

มีดังนี้
(ระบบ HACCP (HACCP system) เป็นระบบคุณภาพ)

หลักการที่ 1 ให้ทำการวิเคราะห์อันตราย
หลักการที่ 2 หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมหรือ CCP
หลักการที่ 3 กำหนดค่าวิกฤต หรือ CL
หลักการที่ 4 กำหนดวิธีการตรวจเผ้าระวัง (Monitoring) เพื่อควบคุมจุดวิกฤต
หลักการที่ 5 กำหนดวิธีการแก้ไข เมื่อพบว่าจุดที่ต้องควบคุมไม่อยู่ภายใต้การควบคุม
หลักการที่ 6 กำหนดวิธีการทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิผลของการปฎิบัติงาน
หลักการที่ 7 กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้อง หมายถึงจัดทำระบบการควบคุมเอกสารและบันทึก
แบบที่เราทำ ISO9001 หากโรงงานมีมาตรฐานนี้อยู่แล้ว สามารถนำมาใช้งานได้

ก่อนจะทำ HACCP โรงงานต้องมีการดูแลรักษาอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก มีจัดทำโปรแกรมพื้นฐาน (Prerequisite programme) คือทำ GMP มาก่อน 

สามารถนำ 12 ขั้นตอนของการจัดทำระบบ HACCP มาใช้งาน 

โดยห้าขั้นตอนแรก หรือ 5 ลำดับแรก บวกกับ 7 Principles  ของ HACCP  รวมเป็น 12 ขั้นตอน

ผู้เขียนจะหาเวลามากล่าวถึง BRC issue 7 จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 July 2015 มีความแตกต่างไปจาก issue 6 เช่น ให้เพิ่มตำแหน่ง Pest Control Manager หากผู้เขียนยังอยู่โรงงานผลิตอาหาร คงได้เป็นผู้จัดการตำแหน่งนี้แน่นอน ควบคุมทั้งหมดไม่ว่า นก หนู แมลงสาบ แมลงวัน จิ้กจก ตุ๊กแก นับว่าเท่ห์ไม่เบาถ้าท่านใดหรือใครก็ตามได้รับการแต่งตั้งตามข้อกำหนด BRC V7

มาทำความเข้าใจกับ 12 Fundamental  Requirements ของ BRC V7
Senior Management Commitment and Continual Improvement (1.1)
The Food Safety Plan – HACCP (2)
Internal Audit (3.4)
Management of Suppliers of Raw Material and Packing (3.5.1)
Corrective and Preventive Action (3.7)
Traceability (3.9)
Layout, Product Flow and Segregation (4.3)
Housekeeping and Hygiene (4.11)
Management of Allergens (5.3)
10 Control of Operations (6.1)
11 Labeling and Pack Control (6.2)
12 Training: Raw Material Handing, Preparation, Processing, Packing and Storage Areas (7.1)
ที่เขียนอักษรสีแดง เป็นส่วนที่เพิ่มจาก issue 6

สำหรับข้อกำหนด หรือ Requirement issue 7 ดังนี้
1. Senior Management Commitment
2. The Food Safety Plan : HACCP
3. Food Safety and Quality Management System: 
   อาหารปลอดภัยและระบบการบริหารคุณภาพ
4. Site Standard: เกี่ยวกับมาตรฐานด้านสภาพแวดล้อมของโรงงาน
(Factory Environment Standards) / GMP / PRPs (Prerequisite Programmes)
5.
การควบคุมผลิตภัณฑ์ (Product Control)
6.
การควบคุมกระบวนการ (Process Control)
7.
เกี่ยวกับบุคคล หรือพนักงาน (Personnel)

ผู้เขียน จะหาเวลามาเขียนเกี่ยวกับ BRC ให้มากขึ้น รวมทั้ง BRC Iop