บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28 ถนนพรหมาสตร์ ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 0886560247, 083 2431855
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Line ID: iatf16949
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247
ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act
วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว
โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1 วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี
โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ
PSM: Process Safety Management
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน
International Food Standard (IFS)
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA
สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link http://safetysolving.blogspot.com/
คุณภาพเป็นเลิศ ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี
081 3029339, 083 2431855
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS link: http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000 link: http://safetysolving.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี
อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018
ต้นดาหลาที่บ้านต่างจังหวัดของผู้เขียนออกดอกจำนวนมากเพราะนำเอามูลค้างคาวมาทำปุ้ย
|
Blog 7:
International Food Standard (IFS)
International Food Standard (IFS)
วันนี้ผู้เขียนเดินทางกลับจากจังหวัดอุดรธานี ซึ่งดูเจริญมากขึ้น เมื่อสักสิบสามปีที่แล้ว ผู้เขียนเดินทางมาที่อุดรเกือบทุกเดือน ล่าสุดเดินทางไปเมื่อสามปีที่แล้วก็ดูว่าอุดรคึกคัก มีชาวต่างชาติหรือฝรั่งตามห้างและโรงแรมเต็มไปหมด บางส่วนน่าจะเป็นพวกเขยอุดร คือมีภรรยาชาวไทย และประเภทนักท่องเที่ยวจะเดินทางต่อไปเมืองเวียงจันทร์หรือหลวงพระบาง ประเทศลาว ร้านค้าร้านอาหารที่ีมีแบนด์เนมเกิดขึ้นทั่วเมือง ผู้เขียนนึกถึงเรื่องอาหารและพบเห็นชาวต่างชาติจากยุโรป จึงตั้งใจเขียนบทความนี้เกี่ยวกับ IFS
บทความนี้ รวมทั้งบทความของ McQMR และ Soonthorn Ngamprompong เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต
Copy Right, All Right Reserved.
Copy Right, All Right Reserved.
ปกติโรงครัว ร้านอาหารและภัตราคารบางแห่งก็นำ GMP มาใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในอาหาร สมาคมผู้ค้าปลีกจากสหราชอาณาจักรก็มีออก BRC เกี่ยวกับ Food และ Packaging สมาคมผู้ค้าปลีกจากเยอรมัน และหลายๆประเทศในยุโรป(EU)ได้ออก IFS ขึ้นมา ผู้เขียนจะสรุป IFS แบบสั้นๆดังนี้
1 หัวข้อการตรวจประเมินหรือ Auditting หลักการคล้ายๆกับมาตรฐานและระบบการจัดการอื่นๆ กล่าวถึงการตรวจประเมิน ระบุขอบข่ายที่ขอรับการรับรอง แต่ IFS มีการกำหนดเกณฑ์การตรวจประเมินที่ชัดเจน ระบุผลการตรวจประเมินออกมาเป็นคะแนนและมีกรณีใดที่ระบุว่าน๊อคเอ๊าท์: Knock Out ศัพท์เดียวกับนักมวยถูกน๊อคเอ๊าท์ อย่างนี้สนุกแน่ เรื่องนี้ต้องถึงครูอังคณา ตามวลีดังของนักเรียนชั้น ม 1 แห่งหนึ่ง ผู้เขียนขอพูดเติมว่า "ใครไม่รับผิดชอบงานให้ดีเรื่องนี้ต้องถึง MD แน่" กรณีที่ผ่านเกณฑ์ จะได้รับการรับรอง (Certificate) หากไม่ผ่านต้องตรวจติดตามผลการแก้ไข (Follow Up)
2 เกี่ยวกับข้อกำหนด(Requirement) อธิบายสั้นๆคือ
2.1 Senior Management Responsibility กำหนดความรับผิดชอบของพนักงานทุกตำแหน่ง ออกนโยบาย (Policy) และวัตถุประสงค์ (Quality Objective) ดำเนินการประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพ
หรือ Management Review ซึ่งหลักการก็เฉกเช่นที่เคยทำระบบคุณภาพ HACCP หลักการเช่นเดียวกับที่ทำ ISO9001 หรือแบบ ISO22000(Food Safety Management System:FSMS) ที่เริ่มจะทำระบบบริหารเกี่ยวกับ FSMS กันมากขึ้น ผู้เขียนมักจะแนะนำน้องๆที่เริ่มทำระบบบริหารคุณภาพต่างๆว่าให้ยึดและศึกษาระบบใดๆที่เริ่มทำอย่างจริงจัง ให้เข้าใจถ่องแท้ เมื่อต้องทำระบบบริหารอื่นๆ หลักการและวิธีการมักจะคล้ายคลึงกัน นำมาเทียบเคียง ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ยังสามารถนำระบบต่างๆรวมเข้าด้วยกันได้ที่มักเรียกว่า Merge หรือมีหลักสูตรให้อบรมที่เรียกว่า Integrated Management Systems จะรวมแบบสองระบบ สามระบบหรือสี่ระบบขึ้นไปเข้าด้วยกัน ย่อมสามารถทำได้ แต่ก็มีข้อดี ข้อจำกัดด้วยเช่นกัน
2.2 ระบบบริหารคุณภาพหรือ Quality Management System (QMS) ต้องจัดทำระบบคุณภาพขึ้นมา หรือทำ HACCP หรือ Hazard Analysis and Critical Control Points ซึ่งเป็นระบบบริหารคุณภาพที่จัดทำในโรงงานผลิตอาหาร ผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อสิบสามปีที่แล้ว ไปทำ GMP และเซ็ทระบบ ISO และ HACCP ที่ดินแดนอีสาน ได้ไปที่อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ยืนที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงของไทยเรา มองไปฝั่งตรงข้ามจะเห็นเวียงจันทร์ แถวนั้นมีการปลูกมะเขื่อเทศกันมาก และมีโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากมะเขื่อเทศ ส่งไปขายที่ประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นชอบดื่มน้ำมะเขื่อเทศ หรือแม้แต่ซ๊อสมะเขือเทศก็นิยมใช้ในพิซซ่า(Pizza) :ซึ่งชาวอิตาลีนิยมนำมาทาหน้าอาหาร ตามร้าน McDonald ใช้ทาในแฮมเบอร์เกอร์เช่นกัน
ยุคนั้นลูกค้าไม่ค่อยรู้จัก HACCP และลูกค้ามักประสงค์ให้โรงงานทำระบบคุณภาพที่เรียกว่า ISO 9001 ผู้เขียนมองว่าโรงงานผลิตอาหารทำ HACCP นั้นนะตรงเป้ามากกว่าทำ ISO9001 เพราะการผลิตอาหารควรควบคุมจุด CCPs เพื่อความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหารมากกว่าทำ ISO9001 ซึ่งเป็นระบบคุณภาพเช่นกัน แต่ ISO9001 ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป ยุคนั้น ISO9001 มาแรง คนรู้จักเยอะ ช่วงนั้นโรงงานจึงทำทั้ง ISO9001 ส่วน HACCP มาทำไล่หลังเพราะลูกค้าเริ่มเข้าใจว่ามี HACCP ก็ยอมรับแทน ISO ช่วงนั้นเริ่มมีประกาศจะให้โรงงานผลิตอาหารต้องทำ GMP ปัจจุบันกลายเป็นมาตรฐานบังคับที่โรงงานผลิตอาหารต้องทำก่อนขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตอาหาร ยาและเครื่องสำอางค์
ปัจจุบันมีออก ISO22000 นับว่าครอบคลุมทั้ง GMP และ GMP ก็เป็นหนึ่งของ HACCP หากศึกษาจากข้อกำหนดของ ISO22000 ก็เสมือนการประยุกต์รวมทั้ง HACCP และ ISO9001และมีบางส่วนเพิ่มเติมขึ้นมากลายมาเป็น ISO22000 หรือ FSMS
การจัดทำมาตรฐาน IFS ต้องมี QM หรือ คู่มือคุณภาพ (Quality Manual) แต่งตั้งทีมงาน HACCP
จัดทำระเบียบหรือขั้นตอนการทำงานที่เรียกว่า SOP (Standard Operating Procedure) โดยการนำ HACCP ไปประยุกต์ใช้งานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผล กำหนดจุด CCP (จุดวิกฤต) กำหนดค่า CL
หรือ Critical Limited จัดทำระบบการควบคุมเอกสารและบันทึก (Control of Document and Record)
รายละเอียดเรื่องการควบคุมเอกสารและบันทึก สามารถอ่านจาก ISO9001 ที่ผู้เขียน ได้เขียนไว้หลายเรื่อง link ที่ http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
รวมทั้ง Check List การตรวจประเมินต่างๆ
2.3 Resource Management ซึ่งผู้เขียนจะกล่าวแบบสรุปรวมๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม สาธารณูปโภค รวมทั้งอาคารสถานที่ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหาร โรงงานที่ทำมาตรฐาน GMP หรือทำสูงกว่า หมายถึงทำระบบคุณภาพ หรือ HACCP ต้องดำเนินการเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว การตรวจสอบควรทำด้วยความถี่ที่เหมาะสม ว่าทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตอาหารมีความสะอาด ปลอดภัย ไม่พบสิ่งปนเปื้อนทั้งด้านเคมี เชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ
เร็วๆนี้มีข่าวจากประเทศออสเตรเลียว่าศาลสั่งให้ KFC ต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าที่มารับประทานไก่ทอด ที่สาขาแห่งหนึ่งคิดเป็นเงินไทยก็ราวๆ 250 ล้านบาท เพราะเหตุจากการปนเปื้อนเชื้อ ซาโมเนลล่า(Salmonella)ในผลิตภัณฑ์อาหาร ทำให้ลูกค้าที่รับประทานเนื้อไก่เข้าไปเกือบจะเสียชีวิต (คดียังมีการอุธรณ์ต่อ)
บางมาตรฐานเช่น BRC มีระบุชัดเจนให้ดำเนินการอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อเดือน ผู้เขียนมองว่าการตรวจสอบอาหารสถานที่ ทางเข้าและทางออกทุกจุดทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกควรทำอย่างต่อเนื่อง น่าจะมากกว่าหนึ่งครั้ง ถือว่าดี นับเป็นการเผื่อเหลือเผื่อขาด หากผิดพลาด ย่อมส่งผลให้เกิดการปนเปื้อน ลูกค้าไม่ปลอดภัย โรงงานเสียหายและส่งผลกระทบด้านเชื่อเสียงและความมั่นใจของลูกค้า
นอกจากนี้ ข้อกำหนดในหัวข้อย่อยนี้ยังให้ควบคุมเกี่ยวกับ Outsource ที่มารับช่วงงานจากโรงงาน เช่นผู้รับเหมาขนส่งสินค้า ผู้รับเหมาซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างในการผลิตอาหาร หากทำมาตรฐาน ISO9001 เวอร์ชั่น 2008 ก็มีการกล่าวถึง Outsource Control ซึ่งหมายรวมถึงผู้มารับช่วงงานจากโรงงาน เช่น รับช่วงไปผลิตสินค้า อาจนำ Semi-Product ไปทำต่อเป็น Product หรือบางขั้นตอนของงาน ต้องส่งออกไปให้ Outsource ช่วยทำและนำกลับมาผลิตต่ิอในโรงงาน แม้แต่งานรับสรรหาพนักงาน หรือที่เรียกว่า Recruitment ฝ่ายบุคคลให้บริษัทจัดหางานเป็นผู้สรรหาพนักงานมาให้ ก็ถือว่าเป็น Outsource ตามข้อกำหนดคือต้องควบคุม มักกำหนดกฎเกณฑ์การคัดเลือก จากนั้นก็ติดตามผลและประเมินผล จะใช้วิธีการใดควบคุมขึ้นกับโรงงานพิจารณา ส่วนใหญ่ดำเนินการแบบเดียวหรือวิธีการคล้ายๆกับที่ใช้กับ Suppliers Control สามารถนำมาใช้ปฎิบัติได้ โดยต้องดูที่ประสิทธิผล
กรณีผู้มาเยี่ยมชมโรงงานหรือ Factory Visiting ย่อมมีโอกาสทำให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร ให้กำหนดวิธีการ เงื่อนไข ระเบียบปฎิบัติ รวมทั้งการแต่งกาย เพื่อควบคุมดูแลให้เกิดความปลอดภัยในสุขอนามัย ป้องกันการปนเปื้อนที่อาจจะมากับผู้เยี่ยมชม สิ่งที่ดีคือ คนในมีกฎระเบียบอย่างไร น่าจะนำมาใช้กับผู้เยียมชม การเข้มงวดน่าจะสร้างความมั่นใจมากขึ้น คิดว่าผู้เยี่ยมชมไม่ว่าจะเป็นลูกค้า รวมทั้งผู้ตรวจสอบหรือ Auditor ผู้เขียนมองว่าน่าจะชอบใจเพราะอุตสาหกรรมหรือแม้แต่โรงครัว จะต่างจากธุกิจอื่นๆ
2.4 สิ่งที่ต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดนี้ ยังมีเรื่องเกี่ยวกับ Product Process ต้อควบคุมตั้งแต่แรกรับเข้า ผู้เขียนแนะนำว่าให้มอง Suppliers แรกเข้ามาใหม่ เหมือนรับนักเรียนอนุบาลหนึ่ง เพราะไม่ทราบขั้นตอนและกฎเกณฑ์ที่โรงงานกำหนด ต้องอบรมและใช้เวลาจนกว่าจะเข้าใจในกฎ ระเบียบและทำถูกต้องทุกอย่างตามกติกา โดยวัตถุดิบนับเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้ หากรับเข้ามาจากแหล่งปนเปื้อน ไม่มีวิธีการควบคุมขณะขนส่ง ย่ิอมเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้ก่อเกิดเชื้อโรค หรือปนเปื้อนวัสดุแปลกปลอมได้ จึงต้องมีขั้นตอนการตรวจรับเข้า ตรวจสอบว่าตรงกับข้อกำหนด สภาพบรรจุภัณฑ์ดี ไม่แตก รั่ว หรือภาชนะที่บรรจุ รถบรรทุกที่บรรทุกวัตถุดิบมาส่งมีสภาพสะอาด ตัวกะบะรถไม่สกปรก ตามข้อกำหนดนี้ต้องควบคุมและปฎิบัติตามระเบียบปฎิบัติการขนส่ง (Transpotation) การสอบเทียบเครื่องมือวัดที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร (Calibration) การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Maintenance) การชี้บ่งและสอบกลับได้ (Identification and Traceability)
สิ่งสำคัญต้องระบุส่วนผสม หรือสัดส่วนต่างๆของผลิตภัณฑ์อาหารให้ชัดเจน เพราะเรื่องสารภูมิแพ้ เคยเกิดปัญหากับลูกค้า ทุกคนมีโอกาสที่จะแพ้สารใดๆ หากรู้ว่าแพ้สารนั้น เวลาซื้อผลิตภัณฑ์อาหารไปรับประทานต้องดูส่วนผสม เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้สารนั้น ผู้เขียนมีคนรู้จักที่แพ้ผงฟู หรือ Sodium Bicarbonate ที่แม่ค้านิยมใส่เข้าไปในขนมที่ทำจากแป้งเพื่อให้เกิดการฟู เมื่อรับประทานเข้าไป สักครู่จะเกิดอาการแพ้อย่างมาก บางคนแพ้รุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ร้านอาหารและภัตราคาร ควรระบุในเมนูว่ามีสารประกอบใดบ้าง หากไม่ระบุ ลูกค้ารับประทานเข้าไปจะเป็นอันตรายอาจถูกฟ้องร้องว่าไม่แจ้งข้อมูลให้ทราบก่อน ในต่างประเทศหากเกิดเรื่องลักษณะนี้จะถูกฟ้องร้องอาจต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินก้อนโต ไทยเราก็มีเหตุการณ์นี้บ้าง ภัตราคารที่เจอลูกค้าแพ้สารที่รับประทานเข้าไป ยอมรับผิดชอบก็มี
แต่ส่วนใหญ่ลูกค้าที่แพ้สารมักไม่รู้และไม่ร้องเรียน เมื่อทำ IFS แล้ว เกี่ยวกับสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ ผู้ผลิตต้ิองระบุส่วนผสมให้ชัดเจน และมีข้อห้ามผู้แพ้สารนั้น ห้ามบริโภค สารก่อให้เกิดภูมิแพ้มีหลายชนิด เช่น แพ้ถั่วลิสง แพ้ถั่วเปลือกแข็งซึ่งมักเป็นถั่วชื่อต่างประเทสเช่น ถั่วบราซิล ถั่วพิคาซิโอ ถั่วแมคคาดาเมียร์ และอัลมอลด์ บางท่านแพ้ผงชูรส (Mono Sodium Glutamat) บางท่านแพ้ไข่ นม ข้าวสาลี(Wheat) ปลา (Fish) กลุ่มสัตว์น้ำที่เรียกว่า Crustaceans คือสัตว์ที่ไม่มีกระดูกภายในแต่มีเปลือกภายนอกแข็ง เช่น กุ้ง (Shrimp) ปู (Crab) สัตว์ส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้มักหมายถึงกุ้ง กั้ง ปู สารที่ทำให้เกิดการแพ้ยังมีอีกมากมายหลายชนิด บางคนแพ้ถั่วเหลือง (Soybeans) รายละเอียดศึกษาจากเรื่องสารก่อภูมิแพ้ มีนักวิชาการหลายท่านเขียนบทความเกี่ยวกับสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ (Allergens)ในอาหาร
อีกกรณีถ้ามีการใช้สารตัดต่อพันธูกรรม หรือ GMO ควรระบุไปด้วย ในมุมมองผู้เขียนมองว่าสัตว์กินพืช(Herbivore)ไม่ใช่สัตว์ดุร้าย เช่น กวาง เก้ง กระต่าย แต่สัตว์กินเนื้อ (Carnivore) มักจะดุร้าย เช่น เสือ
ส่วนคนกินทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) แต่ทำไมบางคนดุยิ่งกว่าสัตว์ หากพบเห็นควรอยู่ห่างไกลไว้ก่อน แล้วคนหรือสัตว์กินกินสารอาหารที่ตัดต่อพันธูกรรม หรือ GMO จะมีผลอย่างไร ต้องติดตามผลการวิจัย ในทางผู้ผลิตอาหารก็ต้องชี้บ่งชัดเจน เป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Intended Use
การทำมาตรฐาน IFS และการสร้างความมั่นใจ ในการปฎิบัติงาน เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยในโรงงานผลิตอาหาร โดยใช้โปรแกรมพื้นฐาน (Pre-Requiresite Programme) เช่น การควบคุมสุขอนามัยส่วนบุคคล (Personal Hygiene) การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค (Pests Control) การควบคุมน้ำ (Water Control) รวมทั้งน้ำแข็งและไอน้ำ (ถ้ามี) การควบคุมแก้วและกระจก (Glass Control) การควบคุมขยะและของเสีย (Waste Control) และโปรแกรมพื้นฐานเกี่ยวกับการทำความสะอาด (Cleaning Program)
ส่วนนี้ เป็นการปฎิบัติงานของมาตรฐาน GMP ทุกอย่าง
2.5 การวัด การวิเคราะห์และการปรับปรุง (Measurement, Analysis and Improvement)
คือต้องทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการปนเปื้อน มีการเรียกคืน (Recall) ผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา โดยองค์กรต้องทำการตรวจติดตามภายใน (Internal Audit) มีปฎิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และปฎิบัติการป้องกัน (Preventive Action) ซึ่งองค์กรที่ทำ HACCP, ISO9001 หรือ ISO22000 จะมีระเบียบปฎิบัติเหล่านี้แล้ว สามารถนำมาใช้งานได้
3 หน่วยงานที่ให้การรับรองและผู้ตรวจสอบ
Accreditation Bodies:AB เช่น NAC (ของไทย) CNAS(ของจีน) , HKAS (ฮ่องกง) KAB (เกาหลี) DSM (มาเลเซีย) SAC (Singapore) TAF (Taiwan) VICAS (Vietnam) JAS-ANZ (Australia-New Zealand) JAB (Japan) UKAS (Great Britain หรือ อังกฤษ) ANAB (American National Accreditation Board) เป็นต้น
Certification Bodies:CB โดยบางครั้งนิยมเรียกหน่วยงานที่ให้การรับรองสั้นๆว่า CB เช่น MASCI, URS, Intertek Moody, SGS, BVC (BVQI) , TUV Nord เป็นต้น
ส่วนผู้ตรวจสอบหรือ Auditor ต้องมีคุณสมบัติ และผ่านการอบรมเพื่อสามารถตรวจประเมิน
สำหรับ Accreditation Bodies:AB จะให้การรับรอง CB และ CB ไปให้การรับรองโรงงานตามมาตรฐานที่ขอรับการรับรองและในขอบข่ายที่ขอรับรับรองโดยมีผู้ตรวจประเมินที่เรียกว่า Auditor
CB ที่จะได้รับการรับรอง(Certified) เมื่อปฎิบัติและผ่านข้อกำหนด ISO 17021 หรือ/และ Guide 65 แล้ว สามารถให้การรับรององค์กรต่างๆภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์
4 การรายงาน (Reporting) ของ IFS มีหลักเกณฑ์ต้องรายงานระบุผลการตรวจประเมินออกมาเป็นคะแนนที่ชัดเจน คำนวณออกมาเป็นคะแนนว่าได้เท่าไร เกรดใด(A, B, C, หรือ D และถูกหักกี่คะแนน ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียด ผู้เขียนจะเล่าถึงเรื่องโลกร้อน ตอนนี้อุณหภูมิบางจังหวัดสูงเกือบ 42 องศาเซ็ลเซียส แค่อุณหภูมิสูงเกิน 32 องศาเซ็ลเซียสก็ร้อนอบอ้าว ร่างกานจะเสียน้ำและอิดโรย การผลิตอาหารก็มีส่วนทำให้โลกร้อนขึ้นทุกวัน เฉกเช่นอุตสาหกรรมอื่นๆ เมื่อคนรับประทานเนื้อมากขึ้น ย่อมมีส่วนทำให้โลกร้อน เพราะปริมาณต้องการเนื้อสัตว์ย่อมมากขึ้น ทำให้มีการเร่งผลิตเนื้อจากฟาร์มสัตว์ ย่ิอมต้องมีการใช้ยาฆ่าแมลงจำนวนมากขึ้น มีการใช้ยาปฎิชีวนะมากขึ้นในฟาร์มสัตว์ รวมทั้งการเร่งให้สัตว์เติบโตเร็วและส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide)มากขึ้นด้วย ย่ิอมมีส่วนทำให้โลกร้อนได้เช่นกัน เรื่องภาวะโลกร้อน สามารถอ่านบทความจาก ISO50001:2011
เกี่ยวกับการจัดการด้านพลังงาน (Energy Management System) link ที่ http://safetysolving.blogspot.com/
รายงาน(Reporting) ระบุผลการตรวจประเมินออกมาเป็นคะแนน กำหนดเกรดเป็น A, B, C, หรือ D พอจะอธิบายว่า
A หมายถึงได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วน
B หมายถึงได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดเป็นส่วนใหญ่
C หมายถึงได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดเป็นส่วนน้อยหรือบางส่วน
D หมายถึงไม่ได้มีการปฎิบัติตามข้อกำหนด
การตรวจประเมินเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฎิบัติที่สอดคล้องกับข้อกำหนด หรือ Compliance หากพบว่าไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดหลัก หรือเรียกว่าบกพร่อง (Major Non-Compliance) ถือว่ายังไม่ผ่านเกณฑ์และไม่สามารถให้การรับรอง ต้องรอตรวจติดตามผลการแก้ไข(Follow Up) ในอีกหกเดือนข้างหน้า โดยต้องส่งรายงานแนวทางการแก้ไขหรือ Corrective Action ให้กับ CB ในระยะเวลาที่กำหนดหรือตกลงกันภายในสองสัปดาห์
การตรวจตามข้อกำหนดหากพบว่ามี KO (Knock Out) จะได้เกรด D ทันทีและถูกหักคะแนนอีก 50 %
รายละเอียดให้ศึกษาเพิ่มเติมจากข้อกำหนด หรือสอบถามจากผู้ตรวจสอบ(Auditor) ให้เข้าใจในหลักเกณฑ์การตรวจประเมิน
เขียนต่อคราวหน้า
หมายเหตุ
BRC มาจากคำว่า The British Retail Consortium : Global Standard for FOOD
ผู้เขียนได้เขียนไว้ในบล๊อคถัดไป: Blog ที่ 8 ต่อไปจะย้ายไปเขียนต่อที่บล๊อค 17, 18 BRC For Food (Issue 6) และ BRC For Packaging (Iop Issue4) จะหาเวลามาลงบทความให้ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น