วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

GHP กับชีวิตจริงในโรงงานอาหาร Blog2 : GHP Standard

Blog 2
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act
หลักสูตรแนะนำใหม่
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Personal DATA Protection Act. PDPA
ส่วนองค์กรขนาดเล็ก ข้อมูลน้อย มีกฎหมายลูกยกเว้น
สามารถนำมาจัดทำระบบรองรับเพื่อให้ข้อมูลมั่นคงปลอดภัย
สนใจหลักสูตร การประยุกต์ใช้งาน PDPA อย่างมีประสิทธิผล
ผู้เข้าอบรม เช่น ฝ่าย HR ขายและการตลาด จัดซื้อ บัญชี วิศวกรรม ซ่อมบำรุง และ จปว.

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
หลักสูตร FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
    สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
   หลักสูตรการประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
     New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

KS Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ 
โดยวิทยากรคุณภาพและประสบการณ์ด้าน ISO เป็นเวลาถึง 28 ปี
ผ่านงานทั้ง CB Auditor, QMR/EMR/OHSMR/
Food Safety Team Leader และงานจริงจากโรงงานต่างๆ
"as your require"
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
หรือรักษาระบบ ISO ชั่วคราว


สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
    823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GHP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018



สวัสดีทุกท่าน
ยามว่างผู้เขียน ประสงค์จะใช้เวลาว่าง มาเขียนบทความเล่าสู่กันฟัง ครั้งนี้นับเป็นเวบบล๊อคที่สอง
(Second Web Blog ; http://qualitysolving.blogspot.com/) เป็นเรื่องเกี่ยวกับ GMP,IFS, HACCP, ISO22000

จุดประสงค์ 

1เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับนักศึกษาและทุกท่านที่ต้องการเพิ่มเติมความรู้ด้าน ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, ISO50001, TQM, GMP&HACCP, TLS8001 ซึ่งเดี๋ยวนี้ทุกๆโรงงานนำไปใช้ปรับปรุงองค์กร มีทั้งขอรับการรับรองหรือไม่ขอรับรองก็มี เพราะค่ารับรองค่อนข้างสูงหากว่าเป็นโรงงานขนาดเล็ก หากใช้หน่วยงานรับรองจากต่างประเทศ ถ้าเป็นแต่ก่อนซื้อทาวน์เฮ๊าน์ชานเมืองได้เลย เพราะช่วงก่อนโน้นบ้านหลังละไม่กี่แสนบาท(ปัจจุบันค่ารับรองถูกลง มีหน่วยงานให้การรับรองมากขึ้น)

2 ผู้เขียน ยินดีให้น้องๆนิสิตนักศึกษานำข้อมูลจากบทความไปทำโครงงานและวิทยานิพนธ์ได้ เพื่อประโยชน์การศึกษาวิชาประกันคุณภาพ สงสัยหรือไม่เข้าใจเนื้อหาของบทความ ติดต่อสอบถามที่ E-Mail :  ksnationconsultant@hotmail.com

ประวัติผู้เขียน
สำเร็จปริญญาโทวิศวกรรมเคมี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังสำเร็จปริญญาตรีด้านชีววิทยา จุฬาฯ และเคยศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เคยเขียนตำราเกี่ยวกับ แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในระบบคุณภาพเมื่อ 29 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นยังไม่ค่อยมีตำราภาษาไทย ทำให้น้องๆหาทำรายงานยาก คนที่เข้าใจ ISO ครบทั้งกระบวนการก็มีไม่มากนัก ช่วงนั้นจึงเป็นยุคทองของบริษัทที่ปรึกษา
แต่ ISO ก็แปลก อ่านเหมือนเข้าใจ เอาเข้าจริงตีความในข้อกำหนดคลาดเคลื่อนไปก็มี ขนาดทนายความยังงงงวย
ผู้เขียนก็พอจะรู้บ้างเนื่องจากเรียนรู้ISO จากวิชาการและจากชีวิตจริง เป็นทั้งผู้ตรวจสอบที่เรียกว่า Auditor ที่เป็น Certification Body(CB)รู้สึกว่าจะรักและชอบงานแบบนี้มาก จากนั้นก็เป็นทั้งวิทยากรและที่ปรึกษามาหลายสิบบริษัท กลับเข้าโรงงานเป็นทั้ง QMR/EMR/OHSMR และผู้จัดการ ตั้งใจว่าจะทยอยเขียนต่อไปเรื่อยๆเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับน้องๆ

ส่วนประวัติทีมงาน คือ สุขุม  งามพร้อมพงศ์ เป็นหลานชาย
สำเร็จการศึกษาด้าน Biotechnology มหาบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชำนาญด้าน Food Safety (FSSC/ISO22000, GMP/BRC/HACCP), Laboratory (ISO/IEC17025) และ Medical Device หรือระบบการบริหารคุณภาพด้านเครื่องมือแพทย์ ISO13485

ผลงานในอดีต:

ช่วงเป็นที่ปรึกษาโรงงาน ทำงานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา ทำระบบคุณภาพให้กับ บริษัทต่างๆเช่น สามมิตรมอเตอร์ การบินไทยฝ่ายโภชนาการ สีตราพัด น้ำมันพืชทิพย์ อื่นๆ
บรรยายความรู้พื้นฐานระบบคุณภาพให้กับสถาบันการศึกษา เช่น MBA ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและ MBA ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และห้องสมุดของธนาคารแห่งประเทศไทย
ต่อมาทำที่ปรึกษา GHPและ HACCP ด้านอาหาร เช่น บริษัทเสริมสุข ง่วนเชียง GFPT น้ำมันพืชหยก อื่นๆ
ปัจจุบันปี 2011 ผู้เขียนและทีมงานร่วมงานกับ KS Nation Consultant Co.,Ltd. เป็นผู้บรรยายประจำในระบบการจัดการต่างๆ และเป็น Lecturer/Instructor/ External Trainer ให้กับองค์การและกับ Certification Bodies 

ใน Blog นี้ ตั้งใจจะเขียนเรื่อง GMP กับชีวิตจริงในโรงงานผลิตอาหาร 

GHP เถ้าแก่ต้องทำ ลูกค้ามั่นใจ:
ที่ผู้เขียนพูดอย่างนี้ เพราะว่า มาตรฐานนี้มีข้อกำหนดให้โรงงานผลิตอาหาร หรือสิ่งที่เข้าปาก รับประทานได้ ต้องทำ GHP(Good Hygiene Practice) เกิดการเขียนคู่มือการทำงาน (แต่ก่อนอาจไม่มี หรือมีบ้างแต่ไม่ถูกต้อง) มีการอบรมพนักงาน มีการตรวจสอบตรงกับข้อกำหนด ทำตามที่เขียนหรือเขียนตรงกับที่ทำงานหรือไม่ ยิ่งโรงงานระดับ SME หรือ Small and Medium Entrepreneurs ซึ่งไม่ค่อยมีสิ่งเหล่านี้ จะลำบากสักหน่อย แต่เป็นภาคบังคับให้โรงงานต้องทำ ให้มีมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค อาหารต้องสะอาดและปลอดเชื้อโรค จึงพูดได้ว่า "GHP เถ้าแก่ต้องทำ ลูกค้ามั่นใจ"

ชิวิตโรงงาน :
สำหรับน้องๆ ที่ทำโรงงานผลิตอาหาร มักสำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร( Food Science) ถ้าเป็นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ หรือ บางสถาบันเรียกว่าอุตสาหกรรมเกษตร เช่น ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือไบโอเทคโนโลยี่ (Biotechnology) ที่เทคโนฯลาดกระบัง วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร หรือจุลชีววิทยาอุตสาหกรรมและอื่นๆ 
ชีวิตโรงงานที่พบนั้น น้องใหม่ที่จะก้าวเข้าไปทำงานจะพบว่าต่างจากทฤษฎีโดยสิ้นเชิง ก้าวแรกที่พบมักจะได้ยินคำพูดที่ว่า

"มาตรฐานการทำงานมีกำเนิดเกิดในอเมริกา มาเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในญี่ปุ่น  สุดท้ายต้องมาตายอย่างอเนจอนาถที่เรา" บางครั้งก็ตายอย่างศพไร้ญาติ เพราะอะไรหรือ? ก็เพราะว่าเรามักขาดการติดตามงานและไม่ปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง ชอบลัดขั้นตอน ไม่ทำตามคู่มือและขั้นตอนของงาน ในระบบการจัดการด้านคุณภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย จะมีQMR/EMR/OHSMR เป็นตัวแทนผู้บริหารหรือตัวแทนฝ่ายบริหาร (ให้อ่านเวบบล๊อค http://quality1996-quality1996.blogspot.com/ )เพื่อปูพิ้นฐาน เพราะระบบการบริหาร หรือระบบการจัดการ หลายๆมาตรฐานที่ให้การรับรอง มีหลักการ ขั้นตอนและวิธีการส่วนใหญ่คล้ายกัน โดยด้านการผลิตอาหารจะต้องทำมาตรฐาน GMP เป็นขั้นต้น ส่วน HACCP (Hazard Analysis and Critical Control point) หรือ ISO22000 เป็นระบบคุณภาพเช่นกัน มีข้อกำหนดและสิ่งที่ต้องทำต่ออีกหลายขั้นตอน ซึ่งตัวแทนผู้บริหารหรือตัวแทนฝ่ายบริหาร เรียกว่า MR (Management Representative) โดยใส่ตัว Q (Quality) จึงนิยมเรียกขานในโรงงานว่า QMR

ผู้เขียนย้อนเวลาไปเมื่อปีพ.ศ.2542 (ค.ศ. 1999) ยุคนั้น ISO 9001 กำลังมาแรง ลูกค้าส่วนใหญ่ก็รู้จักแต่ ISO9001 เหตุที่พูดแบบนี้ เพราะหลายโรงงานอาหารจะถูกลูกค้าขอให้ทำ คือบังคับนั่นแหละ ต้องมีใบรับรอง ISO9001(ยุคนั้นมี ISO9002 คือในขอบข่ายการขอรับรอง ยังไม่ทำเรื่องการออกแบบและพัฒนา: Design and Development) เมื่อทำมาตรฐาน GHP จึงนำไปเมอร์ส(Merge) กับ ISO9001 (ขอเรียกเป็น ISO9001 ทั้งหมด) แทนที่โรงงานทำ HACCP น่าจะยอมรับแล้ว เพราะในHACCP มีครอบคลุมขั้นตอนของ GHP ด้วยเกือบจะทั้งหมด ปัจจุบันไม่มีปัญหาเพราะว่าลูกค้าเข้าใจใน HACCP หรือ ISO22000 มีความกระจ่างชัดในเรื่อง Food Safety

ผู้เขียนคิดว่าทุกสาขาอาชีพ มีระบบให้การรับรองในปัจจุบันมีมากมายหลายๆมาตรฐาน หลายๆระบบการจัดการ เช่น การศึกษาก็มีระบบประกันการศึกษา โรงพยาบาลก็มี HA (Hospital Accreditation) ส่วนสายการบิน มักขอรับรองเรื่องการบริการ(Servicing) ก็อยากจะเห็นสายการบินรับรองระบบว่า ขึ้นบินแล้วเครื่องไม่ตก เพิ่มเติมต่อจากการได้รับรองด้านโภชนาการ เราขึ้นเครื่องบินบางครั้งก็มีความรู้สึกกลัวโน่น กลัวนี่ ถึงจะพบว่าบริการดีเยี่ยม อาหารถูกสุขลักษณะและอร่อยมาก หากว่าขึ้นบิน 10 เที่ยว หรือ 100 เที่ยว เครื่องบินตก 1 ลำ ที่เขียนแบบนี้เพราะว่าผู้เขียนมีเพื่อนรุ่นเดียวกัน ปัจจุบันทำงานสายการบิน คนหนึ่งเป็นช่างซ่อมเครื่องบิน คนหนึ่งเป็นนักบิน ส่วนน้องอีกคนที่เคยทำงานร่วมกัน ตอนนั้นผู้เขียนเป็นผู้จัดการโรงงานผลิตอาหารและ QMR น้องคนนี้เป็น QA Manager ต่อมาน้องได้ย้ายไปเป็น QA Manager ให้กับสายการบินแห่งหนึ่ง บินไป-กลับระหว่างกรุงเทพฯและเกาะสมุย มีหน้าที่ดูแลด้านโภชนาการ ผู้เขียนเคยคิดจะถามสามคนว่าคิดอย่างไรบ้าง ปรากฎว่า ล่าสุดที่พบน้องคนนี้ กลับไปทำงานที่โรงงานซีพี (CP) ตามเดิม ผู้เขียนเลยไม่ได้สอบถาม

GHP Standard
ต้องทำครอบคลุมทั้งโรงงานและจัดทำโปรแกรมพื้นฐานที่เรียกว่า SOP หรือ Standard Operating Procedure
ในขอบข่าย ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ สายการผลิตและกิจกรรมที่ผลต่อระบบคุณภาพหรือคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร


ขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้
1  ทำการจัดตั้งทีมงาน กำหนดนโยบายคุณภาพ(Quality Polity) และแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร (QMR)และทีมงานโดยผู้บริหารระดับสูง(Top Management)

2  จัดทำรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ (Describe Product)gเช่น 
2.1 ชื่ิอผลิตภัณฑ์(Product Name) เช่น PEPSI กูลิโก ฮอลล์ โก๋แก่
2.2 คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ (Important Product Characteristics) เช่น ค่าpH การรักษา(Preservative)
2.3 ลักษณะการใช้ผลิตภัณฑ์(How is it to be use) เช่น ใช้กิน ใช้ดูด หรือใช้ป้าย (ผู้เขียนรวมถึงเรื่อง ยารักษาโรค และเครื่องสำอางค์ด้วย)
2.4  การบรรจุ ภาชนะบรรจุ (Packaging) เช่น ใส่ซอง ใส่ขวด เป็นขวดแก้ว หรือขวดพลาสติก
2.5  อายุการเก็บรักษา(Shelf Life) 
2.6  ลักษณะการจำหน่าย (Where will it be sold)  
2.7  รายละเอียดที่กำกับบนฉลาก (Labelling Instruction) 
2.8  การดูแลรักษษระหว่างการขนส่ง (Special Distribution Control) เพราะสินค้าบางชนิดจะเสื่อมสภาพ บางชนิดเก็บในห้องเย็นของรถบรรทุก ทีพบเห็นง่ายๆของสาวขายยาคูลท์ ใช้น้ำแข็งแช่ หรือหนุ่มดัชมิลล์
2.9 วัตถุของการใช้ (Intend Use) เช่น กลุ่มผู้บริโภค ผู้เขียนสังเกตุเอง ดูเครื่องเดิมชูกำลังทั้ง กระทิงแดง คาราบาว เอ็ม100 เอ็ม 150 ตามปั๊มน้ำมัน หรือสถานีเติมน้ำมัน บรรดาคนขับรถบรรทุก เห็นยืนซดเอาๆ บางครั้งก็เห็นพนักงานขับรถเบนซ์ดื่มกระทิงแดง กาแฟกระป๋อง แต่เสี่ยที่นั่งรถเบนซ์ดื่มน้ำส้ม หรือน้ำตราสิงห์  น่าจะเข้าข่ายกลุ่มผู้บริโภค หรือมีเงื่นไขอื่น ที่พูดแซวกันว่า เถ้าแก่ใช้โนเกีย(Nokia) ลูกน้องที่ขับรถของเสี่ย ใช้ไอโฟน (i- Phone) สรุปแล้วไม่เกี่ยวกันนะครับ

3  การชี้หาวัตถุประสงค์ในการใช้ผลิตภัณฑ์ (Identify Intend Use) ให้ระบุกลุ่มเป้าหมายและผลกระทบของผู้บริโภค

4  การจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต โดยการทำ Flow Chart จากวัตถุดิบ การแปรรูป ลำดับการทำงานจริงและข้อมูลต่างๆ

5  การตรวจสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิต (On-Site Verification of Flow Chart) คือ นำFlow Chart ไปตรวจสอบหน้างาน เพื่อความถูกต้องอีกครั้ง

ผู้เขียน จะเริ่มตั้งแต่กำลังเริ่มทำระบบ ให้ตรวจสอบว่าโรงงานมีเอกสารและระเบียบปฏิบัติ (Procedure)หรือโปรแกรมพื้นฐาน(Standard Operating Procedure:SOP)ใดบ้าง เป็นเสมือนกับการทำ Initial Survey ด้านเอกสารก่อน จากนั้นแต่ละเรื่องจะแตกเป็น Check List ย่อย(จะเขียนต่อใน Blogที่4) เพื่อใช้ทำ Internal Audit รวมทั้งการไปสำรวจและตรวจสอบหน้างาน(On-Site Survey และ Audit) 
โดยสิ่งที่ต้องจัดเตรียมขึ้นมาทั้งในมาตรฐานGMP และส่วนที่เป็นระบบคุณภาพด้านอาหาร มีดังนี้

· Quality Policy คือมีกำหนดนโยบายคุณภาพ(Quality Polity)

· GHP/HACCP Team ให้ทำการจัดตั้งทีมงานโดยผู้บริหารระดับสูง(Top Management)

· QMR (One Person from Management Level) 
ผู้บริหารระดับสูง(Top Management) แต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร (Management Representative) ด้านอาหารปลอดภัย

· Organization Chart ทำแผนผังองค์กร

· Product Description  จัดทำรายละเอียดของผลิตภัณฑ์

· Intended Use and Consumer Type

· Flow Chart or Flow Diagram

· Verify Flow Chart or Flow Diagram

· Plant Structure and Lay Out (or Factory Lay Out)

· การควบคุมเรื่องอาคารสถานที่โรงงาน เช่น ตัวอาคาร พื้น ผนัง เพดาน ประตู หน้าต่าง ม่านพลาสติก ท่อระบายน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อ/ห้องเก็บของ

· Personal Hygiene Procedure (ระเบียบปฏิบัติเรื่องการควบคุมสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคลและเป็น SOP)

· Pest Control Procedure (เรื่องการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและเป็น SOP)

· Waste Control Procedure (เรื่องการควบคุมขยะและของเสีย เป็น SOP)

· Glass Control Procedure (เรื่องการควบคุมแก้วและกระจก หากสะกดผิดเป็น Grass จะกลายเป็นไปควบคุมเรื่องหญ้า แต่เรื่องหญ้า ก็เป็นที่อยู่ของสัตว์พาหะ บางโรงงานมีเขียนควบคุมไว้ในเรื่องเดียวกับ Pest Control และ เป็น SOP)

· Cleaning Procedure (เรื่องการทำความสะอาดและเป็น SOP)

· Water Control Procedure (เรื่องการควบคุมน้ำ หากโรงงานมีใช้ไอน้ำ ใช้น้ำแข็งก็ต้องควบคุมด้วยเพราะสิ่งเหล่านี้ ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและเชื้อโรค มีผลต่อคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร เป็น SOP)
· Raw Material Receiving Procedure ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ
· Chemical Handing and Control Procedure ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ
 เพราะบางโรงงานมียื่นขอรับรอง ISO 9001, ISO14001 และ OHSAS18001 หมายความว่า ทำเรื่องเดียวกัน สามารถใช้ได้ทุกมาตรฐานและทุกระบบการจัดการ ที่เราเรียกว่า เมอร์ส (Merge)

· Identification and Traceability Procedure ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ
· Code of Product Procedure เป็นการออกระหัสหรือโค๊ด (Code) ของผลิตภัณฑ์
 · Operation Control Procedure หรือ Control of Operation 

ของฝ่ายผลิต ต้องดำเนินการให้ถูกมาตรฐาน GMP เช่น
*  บ่อล้างเท้า
*  อ่างล้างมือ
*  เครื่องเป่ามือให้แห้ง
*  ดูแลเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ
*  ผ้ากันเปื้อน/ถุงมือ/หมวกคุมผมที่มีปีกป้องกันเศษผมร่วงหล่นปะปนในการผลิตอาหาร หรือระหว่างการเตรียมเบื้องต้นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องปรุง อื่นๆ
*  ทำความสะอาดภาชนะเครื่องใช้ทุกชนิด รวมทั้งขนาดเล็กที่มีการสัมผัสกับอาหาร
*  มีการดูแลผลิตภัณฑ์ใน High Care Area เช่นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป รอส่งผ่านไปอีกพื้นที่ ในพื้นที่นั้นอุณหภูมิต้อง 15 องศาเซ็นเซียส ไม่ใช้ขนไปรอพักในพื้นที่อุณหภูมิห้อง หรืออุณหภูมิอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว แต่ไม่ใช่เปิดประตูทิ้งไว้ เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออก จนสภาวะเปลี่ยนไป
* มีการดูแลระหว่างผลิต ทั้งการจัดเก็บวัตถุดิบ เครื่องปรุงและอาหาร ไม่ให้เสื่อมสภาพ
*  ตรวจสถานที่การผลิตและกั้นแบ่งบริเวณให้แยกขาดจากกัน เช่น พื้นที่รับเนื้อสด ผักสด ต้องแยกและห่างจากพื้นที่จัดเก็บสินค้าอาหารสำเร็จรูป เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
*  ให้ทำความสะอาดพื้นที่ผลิตทั้งหมด
*  มีขั้นตอนการผลิตชัดเจน มี Flow Chart มีคู่มือการปฏิบัติงาน(Work Instruction:WI)ที่สำคัญ
*  ตรวจสอบ ระมัดระวังเรื่องความล่าช้า (Delay Process)
* มีการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปไม่ให้เสื่อมสลาย หรือบูด
* มีการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไม่ให้เสื่อมสลาย หรือบูด
* ให้ดูเรื่องการบรรจุ (Packaging)
* ตรวจสอบเครื่องมือวัดที่ใช้งานอยู่ในสภาพพร้อม มีการสอบเทียบตามระยะเวลาจริง
* มีจัดแบ่งพื้นที่ชัดเจน และมีภาชนะสำหรับของเสียและสารที่บริโภคไม่ได้
* มีการกำหนดพื้นที่ Hold/Rejected ของสินค้าสำเร็จรูปที่มีปัญหาทั้งด้านคุณภาพ การชี้บ่งและการบรรจุ
* ตรวจสอบ ดูแลสภาพห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ว่าอุณหภูมิเป็นไปตามที่กำหนด
* ดูแลการควบคุมคุณภาพอากาศ การถ่ายเทอากาศและการระบายอากาศ
* จัดทำระเบียบปฏิบัติเรื่องการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร (Maintenance Procedure) ใน GHP/HACCP มักใช้สารบางอย่างที่เป็น Food Grade หรือมีความเป็นพิษน้อย ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกมาตรฐาน และทุกระบบการจัดการ

* จัดทำระเบียบปฏิบัติเรื่องการขนส่ง(Transportation Procedure) หรือ การ Delivery มีทั้งระบุชนิดพาหนะ ประเภทรถยนต์ ผู้ขนถ่ายสินค้า มีการทำความสะอาดรถยนต์ และอุปกรณ์ขนส่งต่างๆให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกมาตรฐาน และทุกระบบการจัดการ
* จัดทำระเบียบปฏิบัติเรื่องการฝึกอบรม (Training Procedure) ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ เวลารวมทุกระบบการจัดการเข้าด้วยกันหรือ Merge ทำให้มีระเบียบปฏิบัติเดียวกัน ไม่ใช่ทำสามระบบการจัดการ ก็ต้องมีสามระเบียบปฏิบัติ(Procedure) ทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน)

เริ่มการทำระบบ HACCP/ISO22000 ให้เริ่มตั่งแต่

. ทำการวิเคราะห์อันตราย (Hazard Analysis)
· ทำแผนการวิเคราะห์จุดอันตรายและควบคุมจุดวิกฤต(HACCP Plans)
· Implement HACCP Plans
· Verify HACCP Plans
· Validation (Re-Verify) HACCP Plans
· Inspection and Test Procedure รวมทั้งมีการตรวจจับโลหะด้วยเครื่อง Metal Detector อื่นๆ
 · Document Control Procedure (เรื่องการควบคุมเอกสาร ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ จะช่วยให้การควบคุมเอกสารเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด)
· Record Control Procedure(เรื่องการควบคุมบันทึก ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ จะช่วยให้การควบคุมบันทึกเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด)
 · Calibration Procedure ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ
· Non-Conformity Procedure or Hold and Release Procedure ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ
· Product Recall Procedure(ระเบียบปฏิบัติเรื่องการเรียกคืนสินค้า) ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ เพราะบางโรงงานมียื่นขอรับรอง ISO 9001
· Customer Complaint and Claim Procedure ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ
· Corrective and Preventive Action Procedure(เรื่องการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน) บางโรงงานรวบหัวข้อหรือเรื่อง Customer Complaint and Claim Procedure มารวมเข้าด้วยกัน จริงอยู่จะรวมกัน หรือแยกกัน ผู้ตรวจสอบคงไม่บังคับ เวลาตรวจขอให้มี ชี้แจงได้ถูกต้อง สามารถค้นหาและเข้าถึงเอกสารได้

· Internal Audit Procedure (ระเบียบปฏิบัติเรื่องการตรวจประเมินภายใน) ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ
· Management Review Meeting Procedure(ระเบียบปฏิบัติเรื่องการประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพ)

ให้ใช้เหมือนกัน ร่วมกันทุกระบบการจัดการ 


ดอกกุหลาบ ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์ : Pupink, Changmai Province, Northern of Thailand
มีน้อง IE ถามมาเกี่ยวกับการทำและเขียนคู่มือจีเอ็มพี(GMP Manual) สำหรับโรงงานขนาดเล็ก ผู้เขียนขอสรุป ดังนี้  
 สินค้า คืออะไร ทำจากวัตถุดิบอะไร จากแหล่งไหน เราต้องรู้ ต้องมีการตรวจสอบ Inspection ให้เขียนเป็นคู่มือการตรวจสอบขึ้นมาตามที่ปฎิบัติจริง
 2 การเขียนคู่มือจีเอ็มพี(GMP Manual) ไปดูตัวอย่าง ให้เขียนแบบคู่มือคุณภาพของ ISO9001 
ลดบางหัวข้อออก และเพิ่มเรื่องอาคารสถานที่ 
เพิ่มหัวข้อ Describe Productข้อ2.1 ถึง 2.9 ที่ผู้ขียน เขียนในWeb Blog ที่ 2 ของ quality solving
ให้ใส่ Flow Chart และทำการ Verify Flow Chart 
ใส่หัวข้อ โปรแกรมพื้นฐาน(SOP: Procedure)ที่โรงงานต้องมีลงไปให้ครบ เช่น เรื่องสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคล เรื่องการทำความสะอาด เรื่องการควบคุมน้ำ  เรื่องการควบคุมขยะ เรื่องการควบคุมแก้ว เรื่องการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค อื่นๆเท่าที่ต้องมีตามกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทอาหาร
ใส่เรื่องการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ 
จากนั้นก็เขียนล้อตามหัวข้อตามที่ผู้เขียนอธิบายใน Blog แต่ไม่ต้องใส่ทุก Procedure เพราะว่าอีกหลาย Procedure  ต้องทำต่อยอดจาก GMP เพื่อขอรับรองระบบคุณภาพของ HACCP และ ISO22000
 อีกสิ่งที่ต้องทำ สร้างคือเขียนคู่มือการตรวจรับเข้า Incoming Inspection ที่รับวัตถุดิบเข้ามาทำอย่างไร
เขียนคู่มือของขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการผลิต ทำอย่างไร 
การบรรจุทำอย่างไร
การจัดเก็บ รักษา ทำอย่างไร
เริ่มสร้างและทำระบบเอกสารขึ้นมาด้วย (Control of Document)
รวมทั้งสร้างระบบบันทึก (Control of Record) 
เมื่อสร้างระบบเสร็จ ปรับปรุงอาคาร สถานที่โรงงานได้มาตรฐานแล้ว ไปยื่นเรื่องให้ อย. มาตรวจ 

บทความของ McQMRหรือ Soonthorn Ngamprompong เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS Nation Consultant Co.,Ltd. ห้ามคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

Blog ที่ 1 เรื่อง ระบบบริหารคุณภาพกับชีวิตจริงในโรงงานมี QMS Check List
               และบทความรู้ของ ISO9001:2008 เพื่อใช้ปูพื้นฐานของทุกระบบการจัดการ
Blog ที่ 2 เรื่อง GHP กับชีวิตจริงในโรงงานผลิตอาหาร: GHP Standard
Blog ที่ 3 เรื่อง GHP กับชีวิตจริงในโรงงานผลิตอาหาร: HACCP/ISO22000 Knowledge
Blog ที่ 4 เรื่อง GHP กับชีวิตจริงในโรงงานผลิตอาหาร: GMP Check List
Blog ที่ 5 เรื่อง GHP กับชีวิตจริงในโรงงานผลิตอาหาร: Quality Solving in Food Factory by FSMS
ปัจจุบันเขียนต่อเนื่องไปถึงบล๊อคที่ 13 แล้ว







ผู้เขียน จะเขียนบทความต่อไปทีละบล๊อค และสัมพันธ์กันหลายเวบบล๊อค ทั้งด้านอาหาร คุณภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย BRC, TQM อื่นๆ

เขียนต่อในบล๊อคที่ 3

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น