วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

HALAL :Blog 11 ฮาลาล

Blog11: HALAL
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 0886560247, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
    New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018

ฮาลาล (HALAL) : Blog 11


บรรยากาศภายในร้านค้าของสนามบินสุวรรณภูมิ

หน้าสนามบินภูเก็ต

ผู้เขียนตั้งใจจะเขียนบทความ ฮาลาล (Halal) หรือกล่าวว่าเป็นมาตรฐานฮาลาลซึ่งตามหลักศาสนาอิสลาม คนที่เป็นมุสลิมจะเข้าใจดีที่สุด และทำได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม  มุ่งเน้นตั้งแต่วัตถุดิบที่รับเข้า (Incoming) ตลอดจนกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนที่มีการควบคุมให้เป็นไปตามหลักศาสนา 

ผู้เขียนจดจำได้ว่าตอนเด็กๆถูกห้ามให้กินเลือด หมายถึงอาหารประเภทต้มเลือดหมู เกาเหลา ที่รับประทานร่วมกับเครื่องในสัตว์มากๆ จะมีโอกาศเป็นโรคเก๊าซ์ ที่เกิดจากกรดเพียวรีน สะสมตามข้อและกระดูก นานเข้าทำให้กระดูกเสียรูปทรง โรคนี้ไม่ทำให้ตาย แต่ทรมานน่าดู เพื่อนๆของผู้เขียนเป็นมาก เพราะทุกคนชอบดื่มเบียร์และมีกับแกล้มประเภทเครื่องในสัตว์ แต่มีเพื่อนสองคนไม่รับประทานเครื่องในสัตว์ ยังเป็นโรคนี้ สาเหตุจากพี่ท่านดื่มเบียร์แทนน้ำ ซึ่งในเบียร์ก็มีสารเพียวรินนั่นเอง เรียกว่าดื่มเบียร์พร้อมกับแกล้มประเภทเครื่องในสัตว์รับไปสองเด้ง เป็นเก๊าซ์แน่นอน เรื่องนี้คงไม่ต้องถึงครูอังคณา แต่ต้องไปพบแพทย์

ทำไมจึงห้ามรับประทานต้มเลือดหมู คุณแม่ผู้เขียนนับถือพระเจ้า ไปเปิดอ่านพระคัมภีย์ศาสนาคริสต์พบว่าระบุอย่างนั้นจริงๆทำให้ผู้เขียนหายข้อสงสัยในสมัยเด็กๆ พอผู้เขียนเติบโตขึ้นได้มีโอกาศเรียนด้านชีววิทยาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะมาเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์ จึงรู้ว่าเลือดเป็นแหล่งที่รวมสิ่งเป็นพิษ การที่เรารับประทานอาหารอะไรก็ตามที่มีพิษสะสม ทำให้โอกาสเป็นมะเร็งสูง องค์การอนามัยโลกประเมินว่าปี 2573 คืออีกสิบแปดปี ประชากรในโลกที่ร่ำรวยกว่า จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าประชากรที่มีรายได้ต่ำของประเทศโลกที่สาม เพิ่มขึ้นเกือบ 70% ฟังแล้วใจหาย แค่ค่ายา ฉีดคลีโม ค่ารักษาก็ปาเข้าไปเกินหนึ่งล้านบาทแล้ว เรียกได้ว่าโรคมะเร็งและโรคไตที่ต้องฟอกเลือด(ไต) เป็นโรคดูดเงิน เป็นในระยะท้ายๆรักษาหายยาก หรือรอวันตายพร้อมกับหมดเงิน

ผู้เขียนเคยมีพี่ระหัสเป็นคนใต้ ชื่อพี่อุสมาน สารี และมีเพื่อนคนหนึ่งชื่อ ขอเรียกว่าสมาน เป็นคนมุสลิม ช่วงปี 2530 และ 2531 ผู้เขียน เพื่อนท่านนี้ และเพื่อนที่ทำงานบริษัทบุญรอด หรือเบียร์สิงห์ ชอบเที่ยวตะลุยป่าและปีนเขา วันหยุดงานหากมีควบสามวันขึ้นไปเมื่อไร รวมกันสิบเอ็ดคน ไม่ใช่ไปแข่งฟุตบอล แต่ว่าซื้อตั๋วรถทัวร์ ชื่อ อินทราทัวร์ ที่ประตูน้ำข้างห้างพาต้าเก่า สิบที่นั่งฟรีหนึ่งที่นั่ง ไปแต่ละที่เกิน 700 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ช่วงนั้นไปปีนดอยหลวงเชียงดาว ขึ้นเหนือไปทางอำเภอฝาง เชียงใหม่ ปรากฎว่าบริษัทที่ส่งออกไก่ที่กรุงเทพฯของคุณสมาน มือเชือดที่เป็นชาวมุสลิมอีกคนไม่มาทำงาน พวกเราก็อยากเที่ยวต่อ ทุกคนกะว่าป่วยการเมืองทั้งหมด แต่เมื่อเพื่อนต้องกลับ ทุกคนกลับหมด เข้ากรุงเทพฯกะว่าเช้ามืด ทุกคนจะเลยไปทำงานต่อ หลังจากนอนในรถทัวร์มาทั้งคืน ปรากฎว่ารถติดนัก เข้าหมอชิตเก่าเล่นเอาเกือบแปดโมง ไปทำงานสายมีปัญหามากกว่าป่วย แต่ใจจริงก็ไม่มีใครอยากทิ้งงาน แต่เราเล่นไปแต่ละที่ไกลๆจากกรุงเทพฯทั้งนั้น เพื่อที่บุญรอด ได้เปรียบเพราะรอดจริงๆ เล่นตีซี๊กับยามเฝ้าหลังโรงงานติดแม่น้ำเจ้าพระยา จ้างเรือแจวมาส่งด้านหลัง และก็ปีนรั้วเข้าไป 

แต่ผู้เขียนยังนึกถึงเหตุการณ์นี้ ทำไมต้องคนมุสลิมมาเชือดไก่ ให้ใครทำก็น่าจะได้ แสดงว่าตอนนั้นเราไม่มีความรู้ด้านนี้เลย ปัจจุบันนี้บ้านเรา มีคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินงานกิจการฮาลาล พ.ศ. 2552 และมีกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งจะมีผู้ตรวจสอบฮาลาลไปตรวจสอบก่อนที่สินค้านั้นจะได้รับเครื่องหมายฮาลาล ที่มักเห็นตามข้างกล่องบรรจุภัณฑ์ เช่น ไวตามิ้ลค์เป็นต้น

การเชือดไก่ การทำให้สัตว์ต่างๆที่นำมาเป็นอาหารให้ตายควรถูกต้อง และตายทันทีโดยการเชือดครั้งเดียวอยู่เลย หรือเอาอยู่ จึงจะสอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามคือไม่ทรมาณสัตว์ เท่าที่เห็นกระบวนการหรือวิธีใช้ไฟฟ้าช๊อตสัตว์ให้สลบ หรือโดยนำสัตว์มาแขวน สังเกตุจากสภาพแล้วดูน่าจะเป็นการทรมานสัตว์ได้เช่นกัน

ประเทศทางเอเชียตะวันออกกลาง มีจำนวนประชากรมาก หรือใกล้บ้านเราก็ต้องประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรน่าจะมากกว่าห้าร้อยล้านคน จัดว่าเป็นประเทศมุสลิมรายใหญ่ได้เช่นกัน ดังนั้นอาหารฮาลาล และมาตรฐานความปลอดภัยในอาหาร ตามโรงงานจึงนำโปรแกรมพื้นฐานหรือ PRPs (Prerequisite Programmes) มาใช้ รวมทั้งมีการดูแล รักษาอาคารสถานที่ เครื่องจักร และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตอาหารฮาลาล เพื่อป้องกันอันตรายทั้งจากด้านกายภาพ สารเคมี และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและเกิดโรคต่อผู้บริโภค ตามมาตรฐานฮาลาล ให้ป้องกันอันตรายที่มาจากฮารอม(แปลว่า ห้าม คือสิ่งที่ศาสนาห้าม) นายิส และซุบฮัต

ผู้เขียนขอแนะนำสำหรับผู้สนใจ ให้อ่านต่อที่ มาตรฐานฮาลาลแห่งชาติ
ที่ www.acfs.go.th/halal/index.php มีรายละเอียดอีกมากมายที่น่าสนใจ ผู้เขียนหยิบยกมาบางส่วน เพราะชอบในเรื่องข้อห้าม

ข้อห้ามด้านอาหาร ตามหลักศาสนาอิสลาม (ข้างล่าง) แสดงว่าการรับประทานแบบเปิบพิศดารคงจะมีบ้านเรา จีน และเวียดนาม ที่เปิบทุกอย่างไม่ว่า กิ้งก่า  ตุ๊กแก แมงป่อง ตะขาบ งู รวมทั้งอาหารป่าสารพัดผัดเผ็ด

ย้อนยุคไปสักสี่สิบปี ผู้เขียนอยู่ต่างจังหวัด ค่ำคืนได้เห็นและฟังเสียงตุ๊กแก ตามเพดานบ้านไม้ ซึ่งมีมากมายกว่ายี่สิบตัว มีให้เห็นจนเคยชินทุกบ้านทุกหลังคาเรือน มาปัจจุบันกลับบ้านต่างจังหวัดทางภาคเหนือเงียบสนิท คาดว่าคงไปอยู่ในโหลยาดองหมดแล้ว ยุคนั้นไม้มีเกลื่อนกลาด ผู้เขียนยังใช้ไม้สักทำฟืนหุงข้าว เพราะไม้สักมีมากเหลือเกิน เดี๋ยวนี้จะหาไม้สักอย่างว่านั้น ยากมาก และราคาแพงลิบลิ่ว กลับมาศึกษากันต่อเรื่องอาหารฮาลาล ว่าห้ามรับประทานอะไรบ้าง


สัตว์ พืชและอาหารที่ห้ามนำมาบริโภค (ฮารอม)

          สัตว์ที่ห้ามนำมาบริโภค

               1) สุกร สุนัข หมูป่า ลิง แมว

               2) สัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารและมีกรงเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี

               3) สัตว์มีพิษหรือสัตว์นำโชค เช่น หนู ตะขาบ แมงป่อง

               4) สัตว์มีพิษและเป็นอันตราย เช่น งู

               5) สัตว์น่ารังเกียจ เช่น หนอน แมลงวัน

               6) สัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ฆ่า เช่น มด ผึ้ง นกหัวขวาน

               7) สัตว์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับลา เช่น ล่อ

               8) สัตว์ที่ตายเอง

               9) สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย ถูกตีหรือขว้างจนตาย ตกจากที่สูงลงมาตาย ถูกขวิดตาย ถูกสัตว์อื่น 
                   กัดกินจนตาย

               10) สัตว์ที่ถูกเชือดเพื่อบูชายัญ

               11) สัตว์ที่ถูกเชือดโดยกล่าวนามอื่นนอกจากอัลลอฮฺ

          พืชที่ห้ามนำมาบริโภค

               พืชมีพิษและมีอันตราย

          อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์หรือมีสิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ดูตัวอย่างข้อห้ามด้านอาหาร ตามหลักศาสนา และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ยิ่งห้ามดื่มแอลกอฮอล์ด้วย หากเป็นปีใหม่และสงกรานต์ คงลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้มากมาย ประเทศในตะวันออกกลางไม่ค่อยได้ข่าวเรื่องอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมืองไทยมีสถิติสูงมากพอๆกับการเป็นลูกค้าอันดับสามของโลกในการใช้รถปิคอัพ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
  
ในประเทศไทยการขออนุญาตใช้เครื่องหมายฮาลาลและหนังสือรับรองการผลิตอาหารฮาลาล ผู้ผลิตจะต้องติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท)
กระบวนการรับรองและขอใช้เครื่องหมาย

ขั้นที่ 1 เตรียมการ
  • ผู้ประกอบการยื่นความจำนงขอรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล
  • ที่ปรึกษาโครงการตรวจประเมินและให้คำปรึกษาแนะ
  • จัดอบรมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสถานประกอบการ
  • ผู้ประกอบการจัดทำระบบเอกสารและกระบวนการผลิตตามมาตรฐานอาหารฮาลาล
  • ผู้ประกอบการเตรียมเอกสารตามที่สถาบันฯ กำหนด
  • ที่ปรึกษาจัดทำรายงานสรุปการปรึกษาโครงการ
ขั้นที่ 2 ยื่นคำขอและพิจารณาคำขอ
1)   ผู้ประกอบการยื่นคำขอรับการตรวจรับรองต่อสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท)
หรือสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด(สกอจ) แล้วแต่กรณี
เอกสารเพื่อขอรับรองฮาลาล
บุคคลธรรมดา(มีแรงม้ารวม 5-20 แรงม้า และ/หรือมีคนงาน 7-20 คน ยกเว้นโรงงานที่มีมลภาวะ)
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • คำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน
  • คำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17)
  • ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.18)
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (คม.1)
  • คำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร สบ. 3 หรือ สำเนาการใช้ฉลากอาหาร แบบ ฉ.1
  • แบบจดทะเบียนอาหาร (สบ.๕)
  • หนังสือแสดงรายละเอียดวิธีการผลิต , ขั้นตอน , วัตถุดิบ , ส่วนผสม
  • ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
  • แผนที่ตั้งโรงงาน
นิติบุคคล
  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท
  • หนังสือรับรองจากสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (อายุไม่เกิน 6 เดือน)
  • ใบอนุญาตตั้งโรงงานแบบ รง.2 หรือ รง.4 (ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงาน)
  • ใบอนุญาตผลิตอาหาร (อ.2)
  • คำขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.17)
  • ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.18)
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (คม.1)
  • คำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร สบ. 3 หรือ สำเนาการใช้ฉลากอาหาร แบบ ฉ.1
  • แบบจดทะเบียนอาหาร (สบ.๕)
  • หนังสือแสดงรายละเอียดวิธีการผลิต , ขั้นตอน , วัตถุดิบ , ส่วนผสม
  • ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
  • แผนที่ตั้งโรงงาน
2)   เจ้าหน้าที่ตรวจความถูกต้องของเอกสารที่ประกอบคำขอแล้วนำเสนอสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล หรือ
คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 
3) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
4) จ่ายค่าธรรมเนียม
5) นัดหมายการตรวจสอบสถานประกอบการ
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบสถานประกอบการ
1.    คณะผู้ตรวจสอบ ไปตรวจโรงงาน/สถานประกอบการ ตามที่นัดหมาย
2.      ประชุมชี้แจงร่วมกันระหว่าง คณะผู้ตรวจสอบของฝ่าย กิจการฮาลาล กับฝ่ายสถานประกอบการ ก่อนดำเนินการ ตรวจสอบ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยมีขั้นตอนดังนี้
o    แนะนำตัวเพื่อทำความรู้จักกัน
o    หัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบชี้แจง หลักการ ระเบียบฯ เหตุผล และความจำเป็นในการตรวจพิจารณา                                       ก่อนให้การรับรอง ฮาลาล
o    ฝ่ายสถานประกอบการบรรยายสรุป เกี่ยวกับกระบวนการผลิต วัตถุดิบ ส่วนผสม หรือสารปรุงแต่ง  การบรรจุ การเก็บรักษา การขนส่ง ฯลฯ ให้คณะผู้ตรวจสอบทราบ อนึ่ง คณะผู้ตรวจสอบ ประกอบ ด้วย หัวหน้าคณะผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาอิสลาม ผู้ทรงคุณวุฒฺด้านวิทยาศาสตร์ และผู้มีประสบการณ์ด้าน การผลิต ส่วนฝ่ายประกอบการ จะต้องประกอบด้วย ผู้จัดการโรงงาน ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นสำคัญ หากจะมีผู้จัดการฝ่ายอื่นร่วมประชุม ชี้แจงด้วยก็ได้
3.    ฝ่ายสถานประกอบการ นำคณะผู้ตรวจสอบพิจารณา กระบวนการ ผลิต วัตถุดิบ สถานที่ผลิต การบรรจุ การเก็บรักษาสถานที่จำหน่าย ฯลฯ ตามที่บรรยายสรุป
4.    คณะผู้ตรวจสอบให้คำแนะนำแก่ผู้ยื่นคำขอ เมื่อเห็นว่า ผู้ประกอบการ ดำเนินการไม่ถูกต้อง หรือมีข้อบกพร่อง เพื่อจะได้ ดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป
5.    คณะผู้ตรวจสอบรายงานผลให้คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลพิจารณา

ขั้นที่ 4 พิจารณาผลการตรวจสอบและให้หนังสือรับรอง
1.    คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลรายงานผลการพิจารณา ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพิจารณาอนุญาต
2.    เรียกเอกสารหรือผลวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เพิ่มเติมในกรณีที่จำเป็น
3.    คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลแจ้งผลพิจารณาของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ คณะกรรมการ อิสลามประจำจังหวัดให้ผู้ขอรับรองฮาลาลทราบ
4.    ในกรณีที่คณะกรรมการฯให้การรับรอง เมื่อผู้ขอรับรอง ฮาลาล ทำสัญญายอมรับ ปฏิบัติตามเงื่อนไข การรับรอง และการชำระค่าธรรมเนียมแล้ว คณะกรรมการกลาง อิสลามแห่งประเทศไทย หรือ คณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดจึงออกหนังสือรับรองฮาลาล ให้แก่ผู้ขอ โดยมีอายุการรับรองไม่เกินหนึ่งปี
5.    ผู้ขอซึ่งได้หนังสือรับรองฮาลาลแล้ว และมีความประสงค์ ขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล คณะกรรมการกลาง อิสลามแห่งประเทศไทยจะ ออกหนังสือสำคัญ ให้ใช้ เครื่องหมายรับรองฮาลาลแก่ผู้ขอ เมื่อผู้ขอชำระ ค่าธรรมเนียม แล้ว
ขั้นที่ 5 การติดตามและประเมินผล
1.    ดำเนินการติดตามและกำกับดูแลสถานประกอบการ ซึ่งได้รับรองฮาลาล และหรือให้ใช้เครื่อง หมายรับรองฮาลาล ให้ปฏิบัติตามสัญญาและระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยใช้กลไกการ ตรวจสอบดังนี้
o    ให้มี ผู้ตรวจการอาหารฮาลาล เพื่อตรวจสอบสินค้าอาหาร ฮาลาลในตลาด
o    ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงาน การปฏิบัติงานของ ทีปรึกษาสถานประกอบการ
2.    ฝ่ายกิจการฮาลาลตรวจสอบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต สถานประกอบการ และการให้บริการ ที่ได้รับ อนุญาตแล้ว โดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า เป็นระยะตามความเหมาะสม
3.    ฝ่ายกิจการฮาลาลรายงานผลการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทราบหรือพิจารณา


สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดการขอรับรองฮาลาล ติดต่อที่
สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย
เลขที่  45 หมู่ 3 ถนนคลองเก้า แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
โทร. 02 949-4114, 02 949-4079, 02 949-4215 แฟกซ์ (Fax) 02 989-5904
E-Mail : halal_thai2003@yahoo.com 

เขียนต่อคราวหน้า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น