บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28 ถนนพรหมาสตร์ ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Line ID: iatf16949
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา"
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act
วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว
โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1 วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี
โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ
PSM: Process Safety Management
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA
สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link http://safetysolving.blogspot.com/
คุณภาพเป็นเลิศ ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี
081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS link: http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000 link: http://safetysolving.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี
อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018
จีเอ็มพีขั้นต้น หรือ จีเอ็มพีพื้นฐาน
ภาพไข่เยี่ยวม้า ฟองล่างแกะเปลือกแล้ว อาหารที่รับประทานต้องปลอดภัย
และต้องไม่มีสารตะกั่ว
|
Blog ที่ 10 :
Primary GMP
จีเอ็มพีขั้นต้น หรือ จีเอ็มพีพื้นฐาน
สำนักอาหาร ในสังกัด อย. หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แจ้งว่าจะมีผลบังคับใช้กับสถานประกอบการรายเก่าหรือผู้ที่ผลิตและจัดจำหน่ายอยู่แล้ว ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 (อีกประมาณสามปี) แต่สำหรับรายใหม่หรือสถานประกอบการใหม่ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 (ปีนี้)
ฉะนั้น การผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ให้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Primary GMP) และมีผลบังคับใช้ตามเวลาที่กล่าวมาข้างต้น
ผู้เขียนขออธิบายให้ทราบว่า หากเป็น มาตรฐาน GMP ที่บังคับให้โรงงานผลิตอาหาร เครื่องสำอางค์ และยา มี 2 ประเภท คือ
1 จี เอ็ม พี ทั่วไป หรือ General GMP เป็นมาตรฐานที่กำหนดทั่วไป ใช้ในโรงงานผลิตอาหารทั่วไป
2 จี เอ็ม พี เฉพาะ หรือ Specific GMP เพราะมีข้อกำหนดเฉพาะที่ต้องปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงด้านการปนเปื้อนโดยเฉพาะของแต่ละผลิตภัณฑ์
รายละเอียดย่อมเข้มงวดและแตกต่างกันไป ยกตัวอย่าง การสอบเทียบเครื่องชั่ง หากอุตสหกรรมอาหารทั่วไป ระยะเวลาที่สอบเทียบเครื่องมือวัดขึ้นกับลักษณะงานและความถี่ตามความเหมาะสม อาจจะทุกสามเดือน หรือทุกหกเดือน หรือบางจุดงานอาจปีละหนึ่งครั้ง แต่ในอุตสาหกรรมยา จะต่างกันต้องสอบเทียบทุกเดือน เพราะหากค่าคาดเคลื่อนมีผลต่อ Dose ของยา ย่อมส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาในการรักษา ฉะนั้นการทำจีเอ็มพีขั้นต้น หรือ จีเอ็มพีพื้นฐาน สามารถทำได้ ขั้นตอนและข้อกำหนดยังไม่มากเท่ากับมาตรฐาน GMP ทั้งสองประเภทที่กล่าวมา
ผู้เขียนขออธิบายให้ทราบว่า หากเป็น มาตรฐาน GMP ที่บังคับให้โรงงานผลิตอาหาร เครื่องสำอางค์ และยา มี 2 ประเภท คือ
1 จี เอ็ม พี ทั่วไป หรือ General GMP เป็นมาตรฐานที่กำหนดทั่วไป ใช้ในโรงงานผลิตอาหารทั่วไป
2 จี เอ็ม พี เฉพาะ หรือ Specific GMP เพราะมีข้อกำหนดเฉพาะที่ต้องปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงด้านการปนเปื้อนโดยเฉพาะของแต่ละผลิตภัณฑ์
รายละเอียดย่อมเข้มงวดและแตกต่างกันไป ยกตัวอย่าง การสอบเทียบเครื่องชั่ง หากอุตสหกรรมอาหารทั่วไป ระยะเวลาที่สอบเทียบเครื่องมือวัดขึ้นกับลักษณะงานและความถี่ตามความเหมาะสม อาจจะทุกสามเดือน หรือทุกหกเดือน หรือบางจุดงานอาจปีละหนึ่งครั้ง แต่ในอุตสาหกรรมยา จะต่างกันต้องสอบเทียบทุกเดือน เพราะหากค่าคาดเคลื่อนมีผลต่อ Dose ของยา ย่อมส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาในการรักษา ฉะนั้นการทำจีเอ็มพีขั้นต้น หรือ จีเอ็มพีพื้นฐาน สามารถทำได้ ขั้นตอนและข้อกำหนดยังไม่มากเท่ากับมาตรฐาน GMP ทั้งสองประเภทที่กล่าวมา
สำหรับ OTOP รายขนาดเล็ก ทาง KS Nation Consultant ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษาฟรี ในโซนกำแพงเพชร และชลบุรี เข้าไปแนะนำให้ฟรี เพื่อช่วยเหลือ OTOP รายเล็กให้สามารถเข้าสู่ระบบได้
ผู้ที่จะนำที่พักอาศัย มาทำสถานที่ผลิตอาหาร ควรเน้นเรื่องการเข้าออก ระหว่างที่พัก กับสถานที่ผลิตอาหาร อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนได้ง่าย ยื่นขอ อย. ด้วย เวลายื่นขอมาตรฐาน GMP ทางหน่วยงานให้การรับรอง จึงจะรับสมัครที่จะมาตรวจประเมินให้ Certificate
ส่วน Primary GMP ก็มาว่ากันต่อไปแบบง่ายๆแต่ต้องมีสุขลักษณะเช่นกัน พนักงานที่สัมผัสอาหารจับตรวจ Stool Test บ้างนะครับ
"ปลอดภัยทุกคน รณรงค์ช่วยกัน อาหารสะอาดปลอดภัย"
ผู้ที่จะนำที่พักอาศัย มาทำสถานที่ผลิตอาหาร ควรเน้นเรื่องการเข้าออก ระหว่างที่พัก กับสถานที่ผลิตอาหาร อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนได้ง่าย ยื่นขอ อย. ด้วย เวลายื่นขอมาตรฐาน GMP ทางหน่วยงานให้การรับรอง จึงจะรับสมัครที่จะมาตรวจประเมินให้ Certificate
ส่วน Primary GMP ก็มาว่ากันต่อไปแบบง่ายๆแต่ต้องมีสุขลักษณะเช่นกัน พนักงานที่สัมผัสอาหารจับตรวจ Stool Test บ้างนะครับ
"ปลอดภัยทุกคน รณรงค์ช่วยกัน อาหารสะอาดปลอดภัย"
ผู้เขียนขอแจกแจงง่ายๆให้ผู้ผลิตอาหารกลุ่ม OTOP หรือผู้ที่ทำการผลิตสินค้าประเภทอาหาร ของกิน ของฝาก เช่นเมื่อเวลาเราไปต่างจังหวัดมักหาของฝากดังๆของทุกจังหวัด มาให้เพื่อน ญาติๆ ต่อไปต้อง
ยื่นเรื่องที่ อย. หรือ สาธารณสุขจังหวัด หมายความว่า ต้องทำ Primary GMP มี 6 หัวข้อ ดังนี้
1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต ต้องมีการดูแลรักษาสถานประกอยการ ทั้งอาคารที่ใช้ผลิต มีการป้องกันไม่ให้สัตว์พาหะนำโรคเข้ามาก่อให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ
2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ต้องถอดออกได้ง่าย และล้างทำความสะอาดง่าย
3 การควบคุมกระบวนการผลิต ให้มีการควบคุมดูแลตั้งแต่วัตถุดิบแรกเข้า ส่วนผสมและ Additive ที่ใช้อย่างถูกต้อง ถูกกฎหมาย ป้องกันการปนเปื้อนทั้งด้านเคมี กายภาพและจุลินทรีย์ไม่ให้เกิดการปนเปื่อน รวมทั้งให้มีการควบคุมดูแลการขนส่งให้สินค้าส่งไปปลายทางอย่างถูกต้อง ดูแลรักษาดีที่สุดให้ถึงที่หมายปลายทางและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
4 การสุขาภิบาล ให้มีการดูแลที่ดีตามหลักการสุขาภิบาล น้ำเสีน น้ำทิ้งมีการระบายออกอย่างถูกวิธีการ รวมทั้งการกำจัดขยะหรือของเสียออกไป ไม่ก่อให้เกิดการหมักหมม บริเวณที่ทิ้งขยะจัดเป็นสัดส่วน ป้องกันสัตว์ต่างๆเข้ามาคุ้ย แคะ หกหล่น ถังขยะควรเป็นภาชนะปิดให้มิดชิด
5 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด เกี่ยวกับเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้งานต่างๆ มีการดูแล รักษาเป็นอย่างดี น้ำที่ใช้ล้างเครื่องจักร อุปกรณ์ต้องเป็นน้ำสะอาด มีการทำความสะอาดที่เหมาะสม ตามความถี่ที่กำหนด
6 บุคลากรและผู้ปฏิบัติงาน ต้องปฎิบัติให้ถูกสุขลักษณะและอนามัย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายต้องสะอาด ไม่มีการใส่เครื่องประดับทุกชนิด ไม่ใช้น้ำหอมและเครื่องสำอางค์ขณะปฎิบัติงานด้านการผลิตอาหารใส่เอี่ยม ผ้าปิดปาก และหมวกครอบผมให้มิดชิด และมีการฝึกอบรมพนักงานให้ปฎิบัติงานอย่างถูกต้อง ถูกสุขลักษณะและอนามัย
เพื่อช่วยให้สามารถจัดทำ Primary GMP ได้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ประกอบการได้รับใบประกาศเกียรติคุณ จาก อย. แล้ว 65 ราย เช่น ขนมหม้อแกง เฉาก๊วยซากังราว ขนมตุ๊บตั๊บ กล้วยฉาบ อื่นๆ ดูแล้วไม่ยากนัก ท่านน่าจะสามารถทำเองได้ด้วย แต่บางราย (OTOP) เล่าให้ผู้เขียนฟังว่ากว่าจะทำสำเร็จใช้เวลาถึงสามปี แต่การยื่นขอรับรอง Primary GMP กับ อย. เท่าที่ทราบไม่มีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆจากผู้ประกอบการ โดยรัฐสนับสนุนเต็มที่ รายละเอียดผู้เขียนจะหาเวลามาเขียนอธิบายต่อ
ตัวอย่างฉลากที่สถานประกอบการได้รับรอง Primary GMP แล้ว เช่น
ตัวอย่างฉลาก ต้องระบุให้ครบถ้วน
|
ตัวอย่างฉลาก
|
ตัวอย่างฉลาก
|
สำหรับแม่ค้าขายข้าวราดแกง แม่ค้าขายข้าวเหนี่ยวสังขยาตามตลาด หรือร้านค้าทั่วไป ยังไม่เข้าข่ายนี้
ดูรูปด้านล่าง
เนื่องจากเป็นอาหารที่ปรุงสุกแล้วต้องรีบรับประทานมีวงจรอายุสั้นๆ ขายวันเดียว แต่ควรรักษาความสะอาดเช่นกัน ทำให้ถูกสุขลักษณะ มิฉะนั้นสาธารณสุขจังหวัดคงต้องเรียกไปตักเตือน ซึ่งมีสิทธิทำได้
ดูรูปด้านล่าง
เนื่องจากเป็นอาหารที่ปรุงสุกแล้วต้องรีบรับประทานมีวงจรอายุสั้นๆ ขายวันเดียว แต่ควรรักษาความสะอาดเช่นกัน ทำให้ถูกสุขลักษณะ มิฉะนั้นสาธารณสุขจังหวัดคงต้องเรียกไปตักเตือน ซึ่งมีสิทธิทำได้
แต่หากว่าแม่ค้าท่านใดใช้ผ้าปิดจมูก สวมหมวกเก็บเส้นผมเรียบร้อย เสื้อผ้าสะอาด สวมใส่ถุงมือ หรือใช้ทัพภีตักกับข้าว ขนมและอาหาร ผู้เขียนว่าสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าเป็นอย่างมาก
สักยี่สิบปีที่แล้ว มีข่าวร้านค้าแห่งหนึ่งในอเมริกา มีคนไปซื้อกันมาก ต้องเข้าแถว ซื้อขนมปังฮอทดอก แต่ซื้อแล้วจะรับประทานหรือไม่ ก็ไม่ทราบ เพราะทุกคนที่ไปซื้อยากรู้ว่าร้านนี้ได้ฉายาจอมสกปกรกรุงรัง คนจึงอยากไปพิสูจน์ ปัจจุบันยังอยู่หรือไม่ ไม่ได้ข่าวเลย ถ้าอยู่ก็ไม่แน่นะ ฟลุ๊กๆอาจได้ออกรายการกระบี่มือหนึ่งของช่อง 7 สี
เมืองไทยก็เคยมีร้านขายข้าวมันไก่แห่งหนึ่ง คนซื้อมาก เข้าคิวยาวเหยียด แต่คนขาย ผู้เขียนต้องใช้คำว่าโครตดุ เสียงดังโหวกเหวกใส่ลูกค้า คนก็ยังรอ ใครแซงคิวโดนไล่กระเจิง แถมพูดไล่หลัง ไม่ง้อให้ซื้อด้วย แต่คนก็ยังอยากริมรองรสความอร่อยผสมเสี่ยงด่าทอ
ขอให้ OTOP และผู้สนใจติดตามข่าวของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีโครงการจัดอบรมสัมมนาฟรีให้กับผู้ประกอบการ หากสงสัยสอบถามมา ทางเรายินดีให้คำปรึกษาฟรี และแนะนำวิธีการให้ ซึ่งมีสองโรงงานขนาดเล็กที่ได้สอนและแนะนำทีละขั้นตอนทาง E-Mail และได้ทำ GMP ไปเรียบร้อยแล้ว โดยแนะนำแบบต่อเนื่องและผู้เขียนไม่คิดค่าบริการใดๆ
เทศกาลงานกินเจ เยาวราช China Town, Bangkok, Thailand |
วันนี้ผู้เขียนจะเล่าเรื่องสบายๆ แต่เวลาไปเป็นวิทยากรฝึกอบรมภายในให้กับโรงงานทีทำ GMP และ HACCP มักกล่าวว่า ถามได้ทุกเรื่องในความรู้ของระบบคุณภาพ HACCP แต่อย่าถามเรื่อง กีฬามวย ฟุตบอล ศาสนา และการเมือง มักจะได้สิ่งตรงข้าม ดูซิคำว่าปรองดอง เด็กๆยังงงว่า เขาทำกันแบบนี้ใช่ไหม เห็นหรือยังว่ากล่าวแค่นี้ก็เหนื่อยใจกันแล้ว คุยกันในวงเหล้าสุดท้ายตีกันอุรุงตุงนัง เพราะมักมีสองพวก สองฝั่ง สองฝ่ายเสมอ และคิดว่าของข้าถูกต้องเท่านั้น เชียร์ทีมของข้าสุดลิ่ม ผู้เขียนอยากจะจบและไม่กล่าวต่อ เขียนบทความ GMP ดีกว่า ตั้งใจจะเขียนเรื่องศุกร์ที่ 13
ไหนๆก็กล่าวแล้ว จึงยังไม่จบขอกล่าวซักนิดเพราะมักมีน้องๆถามว่า การตัดสินของศาลยุติธรรมหรือไม่ คิดว่าต้องยุติธรรม เพราะทุกท่านให้สัตย์ปฏิณาณกับในหลวงแล้ว วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคมนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะพิพากษาอย่างไร ดูทีวีแล้ว ผลลัพท์มีสองทาง ทำอย่างไรให้ทุกคนยอมรับบริสุทธิ์ใจ อันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของผู้เขียน แต่นึกถึงภาพยนต์เรื่องหนึ่ง ผู้เขียนดูที่หาดใหญ่เมื่อปี 2521 เรื่องเจ้าพ่ออัลคาโปน พระเอกในภาพยนต์ต้องต่อสู้กับอิทธิพลของเจ้าพ่อหมายเลขหนึ่งของอเมริกายุดนั้น ลูกเมียถูกลอบทำร้าย ตัวพระเอกก็ไม่ย่อท้อ ต้องการรักษาความถูกต้องของกฎหมาย เจ้าพ่อถูกส่งขึ้นศาลทีไร สุดท้ายหลุดทุกครั้ง ไม่เคยถูกพิพากษาว่าผิดเลย ทั้งที่คดีฆ่าคนมีมากมาย เพราะอะไรหรือ ก็เพราะอยู่ที่ตัวผู้พิพากษา เรื่องต่อสู้กันมาดุเดือด ครั้งสุดท้ายเจ้าพ่อถูกขึ้นศาลอีก หัวหน้าศาลกำหลังจะตัดสินคดี พระเอกเดินไปที่บัลลังค์ที่จะใช้อ่านคำพิพากษา พูดกับท่านเบาๆว่า ขอเวลานอกและกระซิบที่ข้างหูชัดๆว่า
คดีนี้ถ้าท่านตัดสิน ผลลัพท์ทุกคนก็รู้ล่วงหน้า ประชาชนก็ไม่ยอมรับ ที่สำคัญกระดาษหนึ่งแผ่นเล็กๆในมือพระเอก เขียนไว้ว่า ท่านครับ ท่านมีชื่อในแบคลิสท์ด้วยว่าท่านรับสินบนจากเจ้าพ่อ ชื่อเสียงเกียติภูมิท่านจะหายวับไปในบัดดล เท่านั้นละครับเรื่องของหนังมาสนุกตรงนี้ หัวหน้าคณะผู้พิพากษาหยุดนิงและคงตรึกตรอง ท่านประกาศในห้องพิจารณาคดีว่า เห็นสมควรให้การตัดสินครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนองค์ตุลาการ โดยให้ผู้พิพากษาทุกท่านในห้องนี้ไปตัดสินคดีห้องข้างๆทันที และให้นำคณะลูกขุน (เรียกผู้พิพากษา) ห้องข้างๆที่กำลังจะตัดสินคดีเด็กและเยาวชน มาทำหน้าที่ในครั้งนี้ ทันทีที่คณะลูกขุนถูกสลับหน้าที่อย่างกระทันหัน ผลการตัดสินออกมาอย่างยุติธรรม ทุกฝ่ายยอมรับ และเจ้าพ่อก็ไปรับใช้กรรมในคุก สิ้นสุดยุคเจ้าพ่ออันดับหนึ่งด้วยข้อหาเหลือเชื่อ หลีกเลี่ยงภาษีการขายเหล้า เอาเถอะแม้จะเอาผิดคดีฆ่าคนตายไม่ได้ แต่เอาผิดเรื่องค้าขายเหล้าเถื่อน ผลลัพท์ออกมา สังคมมองว่าเป็นยุติธรรม พระเอกกล่าวประโยคสุดท้าย ขอเมาให้สุดๆ ไปกินเหล้าเถื่อนดีกว่า (ความจริงเหล้าเถื่อนในยุคนั้นถือว่าอเมริกาปราบปรามจริงจัง วันที่เจ้าพ่อถูกตัดสินนั้น เหล้าทั้งหมดที่มี นับว่าเถื่อน หรือหนีภาษี พอวันรุ่งขึ้นมีกฎหมายประกาศให้ค้าขายเหล้านอกระบบได้ จากเหล้าเถื่อนก็กลายเป็นเหล้าดี หากตัดสินเจ้าพ่อช้าอีกหนึ่งวันกฎหมายก็ทำอะไรไม่ได้) ภาพยนต์เรื่อนี้ก็นานถึง 34 ปีแล้ว ผู้เขียนพอจับใจความได้แบบนี้ หากคลาดเคลื่อนช่วยท้วงติงนะครับ
สำหรับการทำจี เอ็ม พี ขั้นพื้นฐาน พอจะมองเห็นภาพแตกต่างบ้าง สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ พอจะมีขีดความสามาถทำได่ง่าย สำหรับรายเล็กๆที่ใช้บ้านพักเป็นสถานประกอบการด้วย ก็น่าจะทยอยปรับปรุง เริมจากคิดและทยอยออกแบบที่จะวางแผนผังของอุปกรณ์ต่างๆให้ดูดี ทำความสะอาดง่าย ปรับปรุงสถานที่ตั้งแต่ หลังคา ฝ้า เพดาน หน้าต่าง ประตู และห้องสุขา เริ่มติดมุ่งลวดป้องกันนก และแมลง มีอ่างล้างมือแบบใช้เท้าเหยียบแทนมือหมุนก๊อก ใช้เครื่องเป่ามือให้แห้ง หรือมีกระดาษเช็ดมือ ทยอยทำให้สถานที่ดูดีขึ้น สร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภค ลูกค้ามองเห็นสัมผัสได้ รับได้ อนาคตต้องเข้าระบบ เวลาถูกตรวจประเมินก็จะสอบผ่านได้วุฒิบัติจากกระทรวงสาธารณสุข
ขณะเดียวกันก็เริ่มฝึกและทำให้พนักงานรู้ถึงเรื่องสุขลักษณะและอนามัย เริ่มจากปรับปรุงเครื่องแต่งกาย (Uniform) ให้สวมหมวกที่มีตาข่ายสามารถรวบผมปิดมิดชิด ใส่ถุงมือสะอาด ใส่้เอี่ยม มีผ้าปิดปาก สวมร้องเท้าบู๊ทที่สะอาด ผู้เขียนได้มีโอกาสไปฝึกอบรมให้โรงงานผลิตอาหารแถวมหาชัย มีแรงงานชาวพม่าเข้ามาร่วมอบรม ก็ใช้ล่ามช่วยแปล เริ่มแรกพนักงานแรงงานต่างด้าวคือไม่รู้ ไม่มีความรู้ พอทางโรงงานเห็นความสำคัญ ค่อยๆเน้น ผู้เขียนเชื่อว่าระยะยาวต้องปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่อง ผลลัพท์ดีกับองค์กร ผลิตภัณฑ์ปลอดภัย สร้างความมั้นใจให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภค
นอกจากแรงงานชาวหงสาวดีแล้ว ยังมีชาวลาว กะเหรียง มอญ และชาวเขมร ผู้เขียนก็เคยอบรมให้ มีน้องลาว ดูแล้วจะพูดภาษาไทยได้เก่งกว่า ปีนี้พบว่ามีการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวจำนวน หนึ่งล้านสี่แสนกว่าคน พบมากที่สุดแถวมหาชัย หรือจังหวัดสมุทรสาคร ผู้เขียนคิดว่าต้องอบรม ชี้แจงให้แรงงานเข้าใจถ่องแท้ เพราะท่านเหล่านั้นอยู่หน้างานและสัมผ้สกับอาหารโดยตรง สามารถทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ เดี๋ยวนี้ OTOP มีการใช้แรงงานต่างด้าวด้วยเช่นกัน อย่าลืมว่า ต้องเอาใจใส่ส่วนนี้ เริ่มจากสร้างนิสัย และพฤติกรรมด้านสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคล สิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติหรือไม่ควรทำ กำหนดเป็นข้อห้าม ดังนี้
สำหรับการทำจี เอ็ม พี ขั้นพื้นฐาน พอจะมองเห็นภาพแตกต่างบ้าง สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ พอจะมีขีดความสามาถทำได่ง่าย สำหรับรายเล็กๆที่ใช้บ้านพักเป็นสถานประกอบการด้วย ก็น่าจะทยอยปรับปรุง เริมจากคิดและทยอยออกแบบที่จะวางแผนผังของอุปกรณ์ต่างๆให้ดูดี ทำความสะอาดง่าย ปรับปรุงสถานที่ตั้งแต่ หลังคา ฝ้า เพดาน หน้าต่าง ประตู และห้องสุขา เริ่มติดมุ่งลวดป้องกันนก และแมลง มีอ่างล้างมือแบบใช้เท้าเหยียบแทนมือหมุนก๊อก ใช้เครื่องเป่ามือให้แห้ง หรือมีกระดาษเช็ดมือ ทยอยทำให้สถานที่ดูดีขึ้น สร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภค ลูกค้ามองเห็นสัมผัสได้ รับได้ อนาคตต้องเข้าระบบ เวลาถูกตรวจประเมินก็จะสอบผ่านได้วุฒิบัติจากกระทรวงสาธารณสุข
ขณะเดียวกันก็เริ่มฝึกและทำให้พนักงานรู้ถึงเรื่องสุขลักษณะและอนามัย เริ่มจากปรับปรุงเครื่องแต่งกาย (Uniform) ให้สวมหมวกที่มีตาข่ายสามารถรวบผมปิดมิดชิด ใส่ถุงมือสะอาด ใส่้เอี่ยม มีผ้าปิดปาก สวมร้องเท้าบู๊ทที่สะอาด ผู้เขียนได้มีโอกาสไปฝึกอบรมให้โรงงานผลิตอาหารแถวมหาชัย มีแรงงานชาวพม่าเข้ามาร่วมอบรม ก็ใช้ล่ามช่วยแปล เริ่มแรกพนักงานแรงงานต่างด้าวคือไม่รู้ ไม่มีความรู้ พอทางโรงงานเห็นความสำคัญ ค่อยๆเน้น ผู้เขียนเชื่อว่าระยะยาวต้องปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่อง ผลลัพท์ดีกับองค์กร ผลิตภัณฑ์ปลอดภัย สร้างความมั้นใจให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภค
นอกจากแรงงานชาวหงสาวดีแล้ว ยังมีชาวลาว กะเหรียง มอญ และชาวเขมร ผู้เขียนก็เคยอบรมให้ มีน้องลาว ดูแล้วจะพูดภาษาไทยได้เก่งกว่า ปีนี้พบว่ามีการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวจำนวน หนึ่งล้านสี่แสนกว่าคน พบมากที่สุดแถวมหาชัย หรือจังหวัดสมุทรสาคร ผู้เขียนคิดว่าต้องอบรม ชี้แจงให้แรงงานเข้าใจถ่องแท้ เพราะท่านเหล่านั้นอยู่หน้างานและสัมผ้สกับอาหารโดยตรง สามารถทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ เดี๋ยวนี้ OTOP มีการใช้แรงงานต่างด้าวด้วยเช่นกัน อย่าลืมว่า ต้องเอาใจใส่ส่วนนี้ เริ่มจากสร้างนิสัย และพฤติกรรมด้านสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคล สิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติหรือไม่ควรทำ กำหนดเป็นข้อห้าม ดังนี้
1 ห้ามใช้น้ำหอมและเครื่องสำอางที่มีกลิ่นแรง
2 ห้ามสวมเครื่องประดับ
3 ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้ามาในสายการผลิต ในห้องผลิตสินค้าอาหาร
4 ห้ามไว้เล็บและทาเล็บ
5 ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง ห้ามอมลูกกวาดลูกอม
6 ห้ามถ่มน้ำลาย
และไอหรือจามลงบนผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่คุ้ย แคะ แกะ เกา
หากมีต้องสร้าง จิตสำนึกให้รีบล้างมือและทำความสะอาดให้หมดจด แบนด์
สินค้า OTOP จะได้ไม่เสียหายในสิ่งที่มองข้าม หรือละเลย คิดว่าคงไม่
เป็นไร
หากมีต้องสร้าง จิตสำนึกให้รีบล้างมือและทำความสะอาดให้หมดจด แบนด์
สินค้า OTOP จะได้ไม่เสียหายในสิ่งที่มองข้าม หรือละเลย คิดว่าคงไม่
เป็นไร
ผู้เขียนได้ไปที่ภูเก็ตอีกครั้ง ถ่ายรูปรถยนต์ตัวถังไม้ที่พบในฉากภาพยนต์เก่า เรื่องสะพานรักสารสิน |
ผู้เขียน นำภาพมาฝากจากการไปภูเก็ต เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์นี้ก็ใกล้วันลอยกระทง ซึ่งปีนี้ตรงกับวัน
ที่ 28 พฤศจิกายน 2012 พูดเรื่องลอยกระทง ต้องนึกถึงสุโขทัย ผู้เขียนก็มีโปรแกรมที่จะไปบรรยาย
ISO และ GMP/HACCP ที่กำแพงเพชร และสุโขทัย ชอบวิถีชีวิตของคนต่างจังหวัด อยู่เมืองกรุงรู้สึก
ห้อมล้อมด้วยมลพิษ และอาหารที่ไม่ปลอดภัยเมื่อรับประทานนอกบ้าน จะใส่สารอะไรลงไปเราไม่ทราบ
หากจะอ่านบทความด้าน GMP/HACCP ให้ Click ไปที่บล๊อค: วิธีการทำ HACCP Plans
Primary GMP ไม่ได้กำหนดให้ทำ HACCP PLans และต้องจัดทำตามข้อกำหนดเพียง 6 เรื่อง (น้อยกว่า GMP Codex)
GMP ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายไทย
ให้จัดทำ 6 หัวข้อหรือ 6 เรื่อง ดังนี้
1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
2. เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
3. การควบคุมกระบวนการผลิต
4. การสุขาภิบาล
5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
6. บุคลากรและผู้ปฎิบัติงาน
GMP สำหรับโรงงานผลิตยา อาจเข้มงวดยิ่งๆขึ้น ยกตัวอย่างเครื่องชั่ง ต้องสอบเทียบทุกเดือน จะมาทำแบบโรงงานผลิตอาหารทุกๆสามเดือน หรือทุกๆหกเดือนไม่ได้ เพราะน้ำหนักยา มีผลต่อฤทธ์ยา ต้องครบโดซ ส่วนอาหารสัดส่วนจะต่างไปบ้าง ก็แค่เสียรสชาติ หรือรสต่างไปอันเนื่องมาจากเครื่องชั่งคลาดเคลื่อน ย่อมทำให้สัดส่วนผสมต่างไปโดยไม่ส่งผลต่อชีวิต แต่บางท่านอาจแย้งว่าหากใส่สารกันบูด ผิดพลาดไปจากเครื่องชั่งคลาดเคลื่อน ผู้เขียน มองว่าต้องไม่ใช้จงใจปริมาณมากมาย ยังไงก็ไม่ถึงแก่ชีวิต หลายเรื่องต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายด้วย
สำหรับโรงงานผลิตอาหารจะทำ GMP Codex Standard มี 10 เรื่องหรือ 10 ข้อกำหนด ดังนี้
1.
วัตถุประสงค์หลักเกณฑ์ทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร
2. ขอบข่าย การใช้ และนิยามศัพท์
3. การผลิตขั้นต้น
4. สถานที่ประกอบการ -
การออกแบบ และสิ่งอำนวยความสะดวก
5. การควบคุมการปฏิบัติงาน
6. สถานที่ประกอบการ :
การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล
7. สถานที่ประกอบการ : สุขลักษณะส่วนบุคคล
8. การขนส่ง
9. ข้อมูลผลิตภัณฑ์ และ การสร้างความเข้าใจต่อผู้บริโภค
10.การฝึกอบรม
หมายเหตุ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าไปอ่านเกี่ยวกับ Codex ใน Internet ยังมี
ข้อมูลมากมายที่ให้ศึกษา และได้ฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษ
หมายเหตุ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าไปอ่านเกี่ยวกับ Codex ใน Internet ยังมี
ข้อมูลมากมายที่ให้ศึกษา และได้ฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษ
แม้ว่าจะเป็น OTOP สามารถนำสิ่งที่ดีๆและสร้างความ
มั่นใจให้กับผู้บริโภค การเตรียมตัวทำเน้นใน 6 ข้อกำหนดก่อน
จากนั้นค่อยพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ
มั่นใจให้กับผู้บริโภค การเตรียมตัวทำเน้นใน 6 ข้อกำหนดก่อน
จากนั้นค่อยพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ
เริ่มจาก สิ่งที่ต้องแสดงบนฉลาก
ดังนี้
ชื่ออาหาร วัน เดือน ปี
ที่ผลิต
ส่วนประกอบของอาหาร รุ่นการผลิต
ปริมาณสุทธิและน้ำหนัก แหล่งกำเนิด/ผลิต
วิธีการใช้สินค้า คำแนะนำการเก็บรักษา
ชื่อที่อยู่ผู้ผลิต
ผู้บรรจุ ผู้จัดจำหน่าย
รายละเอียดของฉลาก ก็ให้ตรวจสอบและสอบถามไปที่
กระทรวงสาธารณสุข หรือที่ สำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา เรียกสั้นๆว่า อย.
กระทรวงสาธารณสุข หรือที่ สำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา เรียกสั้นๆว่า อย.
ผู้เขียนจะหาเวลามาเขียนแนะนำทีละข้อกำหนดทั้ง 6 ข้อกำหนด ต้องเตรียมตัวทำอย่างไร ก่อนยื่นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็สำคัญ ทำให้มีแบบฟอร์ม หรือชุดทำงาน ผู้เขียนว่าดูดี บาง OTOP ละเลย เสื้อผ้าพนักงานเพียง 2-3 คน ก็ตามแต่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า เสื้อผ้าเก่าเกินไป ดูไม่สะอาดเท่าที่ควร หรือภาษาชาวบ้านว่า ปอนๆ โทรมๆ ควรนำวิธีการข้างล่างมาใช้เสริม คือ
ชุดทำงานหรือยูนิฟอร์มของพนักงาน ควรจะ
1 ทำด้วยวัสดุที่อากาศถ่ายเทได้ดี
2 เสื้อผ้าสีอ่อน
ไม่ควรมีกระเป๋าเสื้อ
3 ซักล้างและทำความสะอาดง่าย
4 ชุดสวมใส่รัดกุมและไม่ควรสวมชุดฟอร์มมาจากบ้าน หากทำได้ถือว่า
ดี เพราะการเดินทางย่อมมีโอกาสทำให้ชุดเสื้อผ้าเกิดการปนเปื้อนจาก
ที่สาธารณะได้
ข้อมูลจาก อย. บัญชีหมายเลข 1 เป็นบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2555 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย จะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องคำนึงทั้ง 6 ข้อกำหนด มีรายละเอียดอะไรบ้าง สามารถขอรับหนังสือนี้ได้จาก อย. (จะทยอยนำมาลงให้ศึกษา เพื่อผุ้ประกอบการ ไม่เฉพาะ OTOP แต่ผู้ที่เข้าข่าย ผู้ที่ผลิตสินค้าแปรรูปพร้อมจำหน่ายอื่นๆต้องนำไปปฏิบัติ ตามกรอบเวลาที่กฏหมายกำหนด)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 342 พ.ศ.2552 เรื่องวิธีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย2 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 343 พ.ศ.2555 เรื่องฉลาก (ฉบับที่ 3)
3 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฉบับที่ 342 พ.ศ.2555 เรื่องวิธีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
4 ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเลขสารบบอาหาร ฉบับที่ 4
5 ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเลขสารบบอาหาร ฉบับที่ 5
จากเนื้อหาข้อกำหนด มาศึกษาจากหัวข้อที่ต้องตรวจ น่าจะเข้าใจง่ายขึ้น ท่านผู้อ่าน ลองทำเป็น Check List หรือหัวข้อย่อยๆ ใช้ตรวจประเมินว่า สถานที่ประกอบการด้านผลิตอาหารแปรรูป ที่บรรจุในภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมจำหน่าย
สิ่งที่ต้องตรวจสอบในแต่ละหัวข้อ ตามข้อความด้านล่าง โดยทาง อย. จะมีการให้น้ำหนักคะแนนที่ตรวจประเมิน พร้อมทั้งระบุใน Check List ที่ตรวจแต่ละหัวข้อว่า ดี พอใช้ หรือต้อง ปรับปรุง
หมายเหตุ ไปดูประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง Primary GMP
ทางสำนักอาหาร มีแจ้งหัวข้อที่ต้องปฏิบัติ เกณฑ์การตรวจที่ให้คะแนนเป็น 2, 1, 0 โดยแต่ละเรื่องต้องมีอะไร ทำอย่างไรให้สอดคล้องกับประกาศฯ
ท่านต้องไปเตรียมความพร้อมต้ามหัวข้อต่างๆ คือ
หมายเหตุ ไปดูประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง Primary GMP
ทางสำนักอาหาร มีแจ้งหัวข้อที่ต้องปฏิบัติ เกณฑ์การตรวจที่ให้คะแนนเป็น 2, 1, 0 โดยแต่ละเรื่องต้องมีอะไร ทำอย่างไรให้สอดคล้องกับประกาศฯ
ท่านต้องไปเตรียมความพร้อมต้ามหัวข้อต่างๆ คือ
หัวข้อที่ 1: สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
1.1 สถานที่ตั้ง ตัวอาคารและที่ใกล้เคียง:
ทั้งตัวอาคารและบริเวณใกล้เคียง ต้องไม่อยู่ในที่ ก่อให้เกิดการปนเปื้อน เช่นใกล้คอกปศุสัตว์ของข้างบ้าน ของบ้านท่านเองที่ทำเป็นสถานที่ผลิตต้องไม่มีโรงเลี้ยงสัตว์ เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการปนเปื้อนลงไปในอาหารแปรรูปได้
สิ่งที่จะถูกตรวจ และท่านต้องดำเนินการ ขจัดออกไป เช่น
1 ไม่มีการสะสมสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
การจัดการกับของเหล่านี้ คือ ขายเป็นของเก่าไป หรือให้ซาเล้งเอาไปรับรองวันเดียวเคลีย์หมด เก็บสิ่งของไม่ใช้ไว้ ก็เป็นขยะใน
อนาคต เป็นที่หลบซ่อนของหนู หรือน้องหนู (เรื่องหลังต้องเคลีย์
กันเอง) และแมลงสาบ แมลงวัน หัวข้อนี้จัดการง่าย
2 ไม่มีการสะสมสิ่งปฏิกูล
ปรับปรุงให้ดูดี อย่าให้ส่งกลิ่นเหม็น ก็ทำคู่กับการสุขาภิบาล มีทำท่อระบายน้ำทิ้ง น้ำเสียลงบ่อพัก ห้องน้ำมีห้องสุขาสะอาด ถึงเวลา
ก็ให้ อบต. หรือเทศบาลนำรถมาดูดสิ่งปฏิกูลทิ้ง
3 ไม่มีฝุ่นควันมากผิดปกติ
ไปดูว่าแหล่งควันมาจากสิ่งใด ก็ไปลด แก้ไข หรือปรับเปลี่ยนเป็นประเภทอื่นที่ลดต้นต่อของควัน
ผู้เขียนนึกถึงข้าวหลาม ของพี่ใหญ่ ที่จังหวัดกำแพงเพชร ของดังจังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งกระยาสารท ผลิตภัณฑ์จากกล้วย เนื่องจากกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรรสชาติจะอร่อยดีที่สุด และยังมีเฉาก๊วย ซากังราว คำว่า ซากังราว ปัจจุบันคือ จังหวัดกำแพงเพชร
พักที่โรงแรมสบาย บรรยากาศร่มรื่น อาหารมื้อเช้าดูเรียบง่าย สบายๆที่โคราช |
พูดต่อเรื่องทำข้าวหลาม ตามต่างจังหวัด ต้องนำบ้องไม้ไผ่ ที่ใส่ข้าวเหนียวตามสูตร ไปเรียงเป็นแถว ใช้ถ่านเผา บางแห่งใช้ฟืน หากต้องทำ Primary GMP (ปัจจุบันตีความตามกฏหมาย ยังไม่ต้องทำ เพราะเป็นอาหารปรุงสุกและจำหน่ายทันที ไม่ได้แปรรูปบรรจุในบรรจุภัณฑ์) คงปรับมาทำท่อก๊าซเผาข้าวหลาม เพื่อลดควันไฟ
การตัดสินควันปริมาณแค่ไหน ที่ว่าผิดปกติ เกณฑ์คือใช้ผู้ตรวจประเมิน พิจารณาเป็นหลัก คงไม่ต้องวัดแบบค่าหมอกควันว่าเท่าไร อย่างที่เรามักพบว่าปริมาณเท่านี้ ส่งผลต่อร่างกาย และทัศนวิสัยน์ไม่ดี เครื่องบินขึ้นลงไม่ได้ อย่างเสียงดังก็วัดเป็นค่า เดซิเบล เรื่องแสงสว่างก็วัดเป็นค่าลักซ์ หรือแรงเทียน เรื่องกลิ่นก็วัดว่าเป็นกี่เท่าของกลิ่น ฉะนั้นผู้ประกอบการ เริ่มเตรียมตัวทำ สิ่งบางสิ่ง และอีกหลายเรื่องก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ไม่ได้ต้องเล่นสอบเทียบ หรือเครื่องมือแพงๆ เพียงแต่ อย. ค่อยๆยกระดับขึ้นไป นึกให้ไกลๆสักนิด รองรับ AEC เข้าสู่อาเชี่ยนในอีกสามปี
4 ไม่มีวัตถุอันตราย
สารเคมีอันตรายต้องแยกออกไป สารเคมีทุกบรรจุภัณฑ์ต้องไม่แตก รั่ว มีระบุ หรือป้ายชี้บ่งชัดเจน
5 ไม่มีคอกปศุสัตว์หรือสถานเลี้ยงสัตว์
หมายความว่า มีคอกสัตว์ มีสัตว์เลี้ยง ไม่ได้ ต้องแยกออกไปชัดเจน ควรห่างไกลแค่ไหน ก็ต้องมั่นใจไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนมาจากสัตว์ มูลสัตว์ พูดง่ายๆ ไม่มีคอกสัตว์ ไม่มีสัตว์เลี้ยง จึงจะได้ประกาศนียบัตร จีเอ็ม พี ขั้นต้น
6 ไม่มีน้ำขังและสกปรก
7 มีท่อหรือทางระบายน้ำนอกอาคารเพื่อระบายน้ำทิ้ง
1.2 อาคารผลิตหรือบริเวณผลิต:
1.2.1 สะอาด ถูกสุขลักษณะ เป็นระเบียบและไม่มีสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
1.2.2 มีการแยกบริเวณผลิตอาหารออกเป็นสัดส่วนจากที่พักอาศัยและผลิตภัณฑ์อื่นๆ อธิบายเพิ่มเติม คือกั้นห้องให้ชัดเจน ห้องเก็บวัตถุดิบ ห้องเก็บสินค้าอาหาร ห้องพักอาศัยก็ควรแยกออกไป ไม่อยู่ในอาคารผลิตได้ยิ่งดี
1.2.3 มีแสงสว่างเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน จะสว่างแค่ไหน คงไม่มีเครื่องวัดแสงไปใช้วัดจริง (ที่จริงมีเครื่องมือวัดค่าได้ แต่กลุ่ม OTOP หรือกลุ่มผลิตอื่นๆรายเล็ก อาจไม่สะดวก) ให้พิจารณาว่า สว่างดีพอ ไม่ปวดสายตา มองเห็นอักษรบนบรรจุภัณฑ์ หรือมองเห็นสีเนื้ออาหารได้ชัด ก็ถือว่ารับได้
1.2.4 มีการระบายอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน
1.2.5 มีท่อหรือทางระบายน้ำทิ้ง
1.2.6 สามารถป้องกันสัตว์และแมลงเข้าสู่อาคารหรือบริเวณผลิต หรือสัมผัสอาหาร พูดง่ายๆคือห้ามมีแมลงลงไปในอาหาร ตามต่างจังหวัดนอกจากแมลงสาบ แมลงวัน หนูแล้ว จะพบว่าบางช่วงของฤดูจะมีแมลงชนิดอื่นๆและนกเข้ามาบุกรุกมากมาย ช่วงค่ำๆบอกได้ว่าเปิดไฟฟ้าไม่ได้ กองทัพแมลงบุกทันที ทางแก้ไขก็กั้นและติดมุ้งลวด หรือทำงานเฉพาะกะกลางวัน
2.1 ง่ายแก่การทำความสะอาด
2.2 ทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ทนต่อการกัดกร่อน สภาพสะอาด
2.3 พื้นผิวหรือโต๊ะปฏิบัติงานที่สัมผัสกับอาหาร ทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ทนต่อการกัดกร่อน และสูงจากพื้นหรือมีมาตรการอื่นตามความเหมาะสม
2.4 ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ทำความสะอาดง่าย
หมายเหตุ ท่านสามารถศึกษาจากคู่มือ สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่เรารู้จักมักคุ้น เรียกสั้นๆว่า อย.
3 การควบคุมกระบวนการผลิต3.1 วัตถุดิบ ส่วนผสมต่างๆและภาชนะบรรจุ
3.1.1 มีการคัดเลือก
3.1.2 มีการล้างทำความสะอาดง่ายเหมาะสมในบางประเภทที่จำเป็น
3.1.3 มีการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม
เจ้าหน้าที่จาก อย. หรือต่างจังหวัดก็เป็นเจ้าหน้าที่จากสาธารณสุข ที่มาตรวจประเมินหรือตรวจสอบ ผู้เขียนว่าน่าจะเรียกตรวจประเมินแบบ ISO เพราะต้องพิจารณาว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ ตามแนวทางของ อย. ในข้อนี้ คือ
วัตถุดิบ ส่วนผสมต่างๆในอาหาร ต้องมีการดูแลรักษาที่ดี ไม่มีการปนเปื้อนทั้งด้านกายภาพ ไม่ปนเปื้อนสารเคมี ไม่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ต่างๆ
โดยผู้ผลิตอาหารหรือของฝากที่ใช้รับประทานจากกลุ่ม OTOP ควรแยกเป็นสัดส่วนชัดเจน ไม่ปะปนกัน มีป้ายหรือสติีกเกอร์ชี้บ่งและบอกว่าคือวัตถุดิบ หรือส่วนผสมประเภทใด รับเข้ามาวันที่เท่าไร ผู้ผลิตต้องเก็บรักษาให้เสื่อมสลายน้อยที่สุด แต่ต้องไม่หมดอายุการจัดเก็บด้วย (Shelf life) รวมทั้งสภาพบรรจุภัณฑ์ดี ปิดสนิท ไม่แตก ไม่ปริ ไม่รั่วซึม ที่สำคัญ ควรให้มีการนำไปใช้แบบหมุนเวียน ที่สั่งเข้ามาก่อน ก็นำไปผลิตก่อน ตามโรงงานมักเรียกว่า FIFO (First In First Out)
3.1.4 มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามที่กฎหมายกำหนด
3.2 ในระหว่างการผลิตอาหาร มีการดำเนินการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ ในลักษณะที่ไม่เกิดการปนเปื้อน
3.3 มีการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสม
3.4 น้ำสัมผัสกับอาหารในกระบวนการผลิต
3.4.1 มีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
3.4.2 มีการขนย้าย การเก็บรักษา การนำไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
3.5 น้ำแข็งที่สัมผัสกับอาหารในกระบวนการผลิต
3.5.1 มีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
3.5.2 มีการขนย้าย การเก็บรักษา การนำไปใช้ในสภาพทีถูกสุขลักษณะ
3.6 ผลิตภัณฑ์
3.6.1 มีการคัดแยกหรือทำลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม แบ่งพื้นที่ให้ชัดเจน ติดป้าย ชี้บ่งได้ยิ่งชัดเจน
3.6.2 มีการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม และขนส่งในลักษณะทีป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมสลายของอาหารหรือสินค้า และต้องระวังเรื่องการปนเปื้อนจากสารเคมีในอาหาร เนื่องจากหลักการของ Primary GMP ยังคงเน้น การลดและขจัดจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคทางอาหารไม่ปลอดภัย ป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร รวมทั้งการปนเปื้อนข้าม หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Cross Contamination คงไม่ได้เน้นด้านภาษาอังกฤษ แต่รู้ไว้ก็ดี เพราะจะเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยนแล้ว ส่วนภาษาพม่า ลาว เขมร เวียดนาม พวกท่านก็มีแรงงานเหล่านี้อยู่แล้ว ระยะยาวก็จะเข้าใจ อย่างคุณแม่ผู้เขียนสามารถพูดภาษาลาวได้ เพราะว่าเมื่อห้าสิบปีที่แล้วเคยไปทำมาหากินกับคุณพ่อ ที่แขวงสะหวันนาเขต ก็ฝั่งตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหาร ทำไปทำมาฝึกพูดวันละเล็กละน้อย สามารถพูดได้ระดับล่ามเลยเชี่ยว
ดูแลให้ถูกหลักสุขาภิบาล มีท่อระบายน้ำเสียออกจากตัวบ้านไปสู่ท่อระบายด้านนอก เพราะมักใช้บ้านพักอาศัยเป็นสถานที่ประกอบการด้านอาหาร ควบคุมเรื่องสัตว์พาหะด้วยจะดีมากแม้ไม่มีการระบุให้ต้องทำอย่างโรงงานผลิตอาหารที่ต้องทำมาตรฐาน GMP
สิ่งที่ต้องรีบดำเนินการคือ
4.1 น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำที่สะอาดทั้งในการผลิต การล้างภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งใช้ทั่วไป
4.2 มีวิธีการกำจัดขยะ มีถังขยะพร้อมฝาปิดมิดชิดที่เพียงพอ ไม่ให้นก หนู และสัตว์ต่างๆมาคุ้ยเขี่ย และตั้งในที่เหมาะสม ขนถ่ายออกไปในเวลาและความถี่ที่เหมาะสม ไม่ให้เกิดการหมักหมม ใน Primary GMP ไม่ได้ระบุเกี่ยวกับการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค หรือสัตว์รบกวน
แต่ห้องที่ผลิต ก็ให้มีการติดตั้งมุ้งลวด เพื่อการป้องกันแมลงเข้าไปปะปนในอาหาร
4.3 ให้มีการจัดการกับน้ำทิ้งและสิ่งสกปรก น้ำทิ้งสามารถระบายออกได้ ไม่อุดตัน และท่วมขัง
4.4 ห้องสุขาและอ่างล้างมือ
4.4.1 ห้องสุขาหรือห้องน้ำจัดทำแยกห่างออกเป็นสัดส่วนชัดเจน แยกจากการผลิต ไม่เปิดตรงเข้าสู่พื้นที่การผลิต
4.4.2 ห้องสุขาต้องสะอาดพร้อมใช้งาน
4.4.3 ห้องสุขามีจำนวนเพียงพอกับจำนวนพนักงาน หรือลูกจ้าง
4.4.4 มีอ่างล้างมือพร้อมสบู่ น้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างเพียงพอและมีอุปกรณ์ทำให้มือแห้ง หากไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าว ให้มีกระดาษทิชชูใช้แทน และถังทิ้งกระดาษให้เรียบร้อย
4.4.5 อุปกรณ์ต่างๆสะอาดและอ่างล้างมือมีสภาพพร้อมใช้งาน
4.4.6 จำนวนอ่างล้างมือมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนพนักงาน
4.5 เรื่องอ่างล้างมือ
ชาวบ้านอย่างเราๆ หรือผู้ผลิตที่ทำของขนม อาหารเป็นฝากของขายแบบหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มักดัดแปลงบ้านที่อยู่อาศัย ให้กลายเป็นสถานที่ผลิตอาหารด้วย พื้นที่ต่างๆรอบบ้าน รวมทั้งพื้นที่ที่ใช้ผลิตโดยตรง ควรปฎิบัติ ดังนี้
4.5.1 เตรียมน้ำยาล้างมือ หากเป็นสบู่ควรใช้สบู่เหลวไว้ที่อ่างล้างมือ
4.5.2 อ่างล้างมือต้องดูแลดี สะอาด หากจะทำแบบโรงงานผลิตอาหารที่ทำทาตรฐาน GMP ได้ยิ่งดี คือ ไม่ใช้มือเปิดก๊อกน้ำ ออกแบบโดยใช้เท้าเหยียบให้น้ำไหล สามารถล้างมือได้สะอาดหมดจดโดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสกับก๊อกน้ำ แต่ใน Primary GMP หรือ จีเอ็ม พี ขั้นพื้นฐานไม่ได้กำหนดตายตัว เผื่ออนาคตผู้ตรวจประเมิน อาจเพิ่มมุมมองให้มีการยกระดับกลุ่มท่านเทียบเท่าโรงงานทั่วไป
4.5.3 จำนวนอ่างล้างมือ ควรมีจำนวนเพียงพอต่อการใช้งานให้ดีจำนวนคนงานเป็นตัวกำหนด
4.5.4 อ่างล้างมือที่ใช้ทำความสะอาด ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม สะดวกต่อการใช้งาน
5 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
5.1 มีการทำความสะอาดอาคาร สถานที่ผลิตอาหารอย่างต่อเนื่อง
5.2 มีการทำความสะอาดเครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
5.3 มีการจัดเก็บสารเคมีทุกประเภทอย่างดี มีป้ายระบุและชี้บ่งชัดเจน ปลอดภัยด้านการผลิตอาหาร
6 บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
ยังไม่ระบุเรื่องการอบรม การสวมถุงมือ หากทำได้แบบมาตรฐาน GMP ย่อมดีแน่นอน ยกระดับคุณภาพพนักงาน ทำให้เข้าใจวิธีการทำงาน ให้ติดป้ายเตือนในบริเวณผลิตอาหาร เช่น ไม่แสดงพฤติกรรมน่ารังเกียจ ห้ามใช้มือคุ้ย แคะ แกะเกา นำมาซึ่งการปนเปื้อนด้านอาหารไม่ปลอดภัย เพราะพนักงานเหล่านี้มีโอกาสสัมผัสกับอาหารทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
6.1 พนักงานที่ผลิตอาหาร ต้องไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคติดต่อที่สามารถปนเปื้อนเข้าสู่อาหาร ควรสังเกตุสุขภาพพนักงาน หากพบว่าป่วย ท้องเสีย ไอ เจ็บคอ ควรให้หยุดงาน หรือพักงานไว้จนกว่าจะหายป่วย
6.2 พนักงานที่ผลิตหรือสัมผัสอาหารโดยตรง ต้องปฏิบัติ เช่น
6.2.1 แต่งกายสะอาด ใส่เอี๊ยม หรือผ้ากันเปื้อน ใช้ผ้าปิดปากและจมูกด้วยยิ่งดี
6.2.2 ใส่ร้องเท้าที่สะอาด จัดเป็นระเบียบในพื้นที่ผลิต ควรมีการเปลี่ยนร้องเท้าที่ใช้ภายใน แยกออกชัดเจนกับร้องเท้าคู่ที่ใส่ออกไปข้างนอกบ้าน
6.2.3 ไม่สวมใส่เครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไรมือ นาฬิกาข้อมือ รวมทั้งไม่ห้อยพวงกุญแจที่คอและเอว เพราะมีโอกาสตกหล่น และปะปนไปกับอาหาร ลูกค้าเปิดซองอาหารของคุณ พบแหวน จะคิดอย่างไร หากเป็นทองคำ เป็นเหล็กไหลคงให้อภัย หากเป็นแหวนสแตนเลส หรือแหวนทองเหลืองนั้นไซ้ คงโกรธท่านไปอีกนาน หากพบพวงกุญแจคงไม่ต้องพูดถึง คงปิดประตูตอกหมุดหยุดซื้อผลิตภัณฑ์อาหารคุณตลอดไป (For Ever/ Eternal)
6.2.4 ไม่ใช้เครื่องน้ำหอม เพราะกลิ่นจะซึมซับเข้าไปในอาหาร พนักงานต้องไม่ทาเล็บ ทาปาก รวมทั้งมือและเล็บมือต้องสะอาด ตัดให้สั้นได้ยิ่งดีที่สุด
6.2.5 ให้พนักงานสวมหมวก และรวบผมให้เส้นผมอยู่ภายในตาข่ายของหมวก หากลูกค้า ซื้ออาหารคุณไป ขณะรับประทานพบเส้นผม ลูกค้าจะรู้สึกอย่างไร และเส้นผม สามารถเป็นส่วนที่ก่อให้มีเชื้อโรค เชื้อราในอาหารได้
รายละเอียด ผู้เขียนจะหาเวลา มาทยอยเขียนบทความต่อไป
การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง
ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น